Page 143 - kpi17968
P. 143
132
ทั้งนี้ ท่านอาจารย์วิทิตได้พูดถึงรูปแบบเต็มของหลักนิติรัฐ นิติธรรม ผมขอ
พูดถึงแนวคิดหนึ่งที่สัมพันธ์กันคือซึ่งไม่ใช่แนวความคิดผมเองเป็นแนวความคิด
ของ ศาสตราจารย์ Larry Diamond ซึ่งท่านเขียนหนังสือไว้ว่า ประชาธิปไตยอยู่
สองรูปแบบ คือ รูปแบบพื้นฐาน หรือที่เรียกว่าประชาธิปไตยแบบบาง (Thin
Democracy) ซึ่งตามรูปแบบนี้กำหนดว่าขอให้มีการเลือกตั้งเสรีเป็นธรรมนั้นคือ
แปลว่ามีประชาธิปไตย กับอีกรูปแบบหนึ่ง คือ รูปแบบเต็ม หรือที่เรียกว่า
ประชาธิปไตยแบบหนา (Thick Democracy) ซึ่งจะมีมิติที่กว้างขวางเยอะและ
รวมเอาสิ่งที่เราคุยกันก็คือนิติธรรมในวันนี้เข้าไปด้วย คือมีเรื่องของกลไกการ
ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ จะว่าไปแล้วส่วนนี้ก็เป็นส่วนที่สะท้อนความคับข้องใจ
ของคนเสื้อเหลืองนะครับ ว่าจะตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐกันได้อย่างไร เรื่องของ
การที่มีศาลที่มีอิสระและเป็นกลางซึ่งผมคิดว่าสะท้อนความคับข้องใจของทั้ง
สองฝ่าย เรื่องของสิทธิการเลือกตั้งซึ่งคนเสื้อแดงต้องการมาก ต้องการความ
เท่าเทียมทางด้านกฎหมาย ต้องการควบคุมทหารโดยพลเรือน เรื่องของการที่ทุก
ฝ่ายในสังคมต้องการไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพปัจเจกชน เสรีภาพคนกลุ่มน้อย
เสรีภาพสื่อและประชาสังคม ผมคิดว่าวิธีการทางออกของประเทศไทยออกจาก
ความขัดแย้งทางการเมืองและไปสู่จุดที่มันร่วมกันได้ คือ ต้องไปสู่ประชาธิปไตย
สมบูรณ์ หรือว่าประชาธิปไตยแบบหนา
ในประเทศไทย เรามีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนเส้นทางประชาธิปไตย
การอยู่บนเส้นทางประชาธิปไตยนั้นมีโจทย์ใหญ่ก็คือจะตรวจสอบรัฐบาลเสียง
ข้างมากได้อย่างไร ซึ่งเป็นการออกแบบความสมดุลของการมีนิติรัฐ ผมมีความ
เห็นว่าเราควรต้องเพิ่มบทบาทของบางเรื่อง ลดบทบาทบางเรื่อง และปรับบทบาท
บางเรื่อง ในส่วนที่ต้องเพิ่มบทบาทก็คือเรื่องของบทบาทของราชการในเรื่องของ
วินัยการเงินการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยควรเป็นอิสระเพื่อให้มีวินัยการเงิน
วินัยการคลังควรจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในองค์กรที่มีความเป็นอิสระมากขึ้น
ส่วนรัฐสภานั้น ก็ควรมีบทบาทมากขึ้น ปัญหาที่สำคัญของรัฐสภาไทย
ซึ่งทำให้เกิดกรณีอย่างจำนำข้าวขึ้นมานั้น ก่อนที่จะไปใช้วิธีอื่นในการควบคุม
การจำนำข้าวเราพยายามใช้กลไกที่มีอยู่ที่เป็นประชาธิปไตยที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
ก็คือ รัฐสภา ปัญหาของโครงการอย่างการจำนำข้าวก็คือการใช้เงินนอกงบประมาณ
การอภิปรายแสดงทัศนะ