Page 139 - kpi17968
P. 139
128
เผด็จการสูงสุด ทำให้เยอรมันจะต้องมาปฏิรูปการเมือง ปฏิรูประบบรัฐสภา โดย
ประโยคแรกที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญเยอรมันสรุปได้ คือ “เราไม่อาจปล่อยให้ประเทศ
ถูกปกครองโดยระบบเสียงข้างมากโดยลำพัง” เพราะระบบรัฐสภาสมัยใหม่นั้น
มันเป็นระบบที่ไม่สามารถดุลอำนาจได้ เนื่องจากฝ่ายข้างมากของสภาก็คือรัฐบาล
เพราะฉะนั้นตรงนี้เองเยอรมันจึงต้องปฏิรูปรัฐสภาใหม่ ประเด็นที่น่าพิจารณาก็คือ
ว่าจะให้องค์กรใดถ่วงดุลกับอำนาจฝ่ายข้างมากของรัฐสภา ด้วยเหตุนี้ เยอรมัน
จึงสร้างศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมา โดยศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมันมีหน้าที่หลัก
3 ประการ ได้แก่
1. พิทักษ์กติกาประชาธิปไตยนิติรัฐ
2. คุ้มครองฝ่ายข้างน้อย
3. คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ในประเด็นพิทักษ์กติกาประชาธิปไตยนิติรัฐ เมื่อปี ค.ศ. 1920 เป็น
ประเด็นถกเถียงมากว่าศาลรัฐธรรมนูญจะเข้าไปคุมฝ่ายการเมืองได้อย่างไร
แต่พอมากรณีของเยอรมันไม่มีคำถามว่าการดำรงอยู่ของศาลรัฐธรรมนูญจะขัดกับ
หลักประชาธิปไตยหรือไม่ เพราะประชาธิปไตยรัฐสภานำไปสู่การกินตัวเอง
กล่าวคือการใช้เสียงข้างมากขยายอำนาจตนเองและพวกพ้อง จึงมีความชอบธรรม
อย่างยิ่งที่จะต้องมีองค์กรหนึ่งเข้ามาถ่วงดุลเพื่อพิทักษ์กติกา เพราะฉะนั้นกรณี
ของเยอรมันจึงกลายเป็นการปฏิรูประบบการเมืองในระบบรัฐสภาให้สมเหตุสมผล
ที่จะมีองค์กรเข้ามาถ่วงดุลได้
2. การสร้างดุลยภาพของหลักนิติธรรมและหลักประชาธิปไตย
การจัดดุลยภาพทั้งสองหลักมันกลายมาเป็นประเด็นเรื่องรูปแบบของ
รัฐบาลโดยเฉพาะกรณีของระบบรัฐสภา จะสร้างดุลยภาพได้อย่างไรในขณะที่
ระบบรัฐสภานั้นโดยลักษณะสากลเป็นระบบที่เป็นอำนาจเดี่ยว เพราะเสียงข้างมาก
ของฝ่ายสภาก็คือฝ่ายรัฐบาลที่ใช้อำนาจบริหารนั้นเอง เพราะฉะนั้นการจะใช้กลไก
ฝ่ายข้างน้อยในการถ่วงดุลตรวจสอบจึงเป็นปัญหาของระบบรัฐสภาโดยทั่วไป
ด้วยเหตุนี้ การให้การเมืองฝ่ายข้างน้อยถ่วงดุลจึงไม่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่มา
ของระบบเยอรมันที่ต้องสร้างองค์กรหนึ่งขึ้นมาถ่วงดุลซึ่งไม่เหมือนกับของ
สหรัฐอเมริกา ของสหรัฐอเมริกาใช้หลักที่ว่าศาลจะจำกัดตนเองในเรื่องทาง
การอภิปรายแสดงทัศนะ