Page 137 - kpi17968
P. 137

126




                     5. ความสัมพันธ์ในกรณีที่ขัดแย้งกัน กล่าวคือ หากหลักนิติธรรมและ

               หลักประชาธิปไตยขัดแย้งกันจะถือตามหลักใด ต้องพิจารณาว่าเวลาขัดแย้งกันนั้น
               point ของประเด็นนั้นอยู่ตรงไหน ถ้า point ของประเด็นอยู่ที่การคุ้มครองสิทธิ
               ของประชาชนต้องถือว่าหลักนิติธรรมเหนือกว่าหลักประชาธิปไตย


                     ประเด็นที่สาม คือ การจัดการความขัดแย้งและการจัดให้มีดุลยภาพของ
               หลักนิติธรรมและหลักประชาธิปไตย


                     1.   การจัดการความขัดแย้งระหว่างหลักนิติธรรมและหลักประชาธิปไตย


                       ขอยกตัวอย่างกรณีที่นำมาสู่ระบบสากล 3 กรณี ได้แก่ กรณีของ
               ออสเตรีย กรณีของสหรัฐอเมริกา และกรณีของเยอรมัน


                       กรณีของออสเตรียเกิดความขัดแย้งเมื่อ ฮาน เคลเซ่น (Hans Kensen)
               ซึ่งเป็นนักทฤษฎีสำคัญของออสเตรียกล่าวว่า กระบวนการทางการเมืองควรจะถูก

               ควบคุมตรวจสอบได้โดยองค์กรตุลาการ ซึ่งเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันอย่าง
               ใหญ่หลวงมากในยุโรปในช่วงปีก่อน 1920 ฝ่ายหนึ่งบอกว่าองค์กรตุลาการจะมา
               ตรวจสอบกระบวนการทางการเมืองที่เป็นผลิตผลขององค์กรทางการเมือง

               ได้อย่างไร โดยเฉพาะคาร์ล ชมิทท์ (Carl Schmitt) กล่าวว่าศาลไม่มีอำนาจ
               มาตรวจสอบวัตถุแห่งคดีที่เป็นเรื่องทางการเมือง แต่ฮาน เคลเซ่น โต้แย้งบอกว่า
               องค์กรนิติบัญญัติไม่ใช่องค์กรที่ผูกขาดอำนาจอธิปไตยทั้งหมดของรัฐรัฐหนึ่ง

               องค์กรนิติบัญญัติเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตยเท่านั้น เพราะฉะนั้น
               องค์กรนี้จึงต้องถูกผูกพันกับรัฐธรรมนูญด้วย ด้วยเหตุนี้เององค์กรนิติบัญญัติ
               จึงถูกควบคุมตรวจสอบได้ภายใต้เกณฑ์ของรัฐธรรมนูญและฮาน เคลเซ่น จึงตั้ง

               ศาลรัฐธรรมนูญครั้งแรกของโลกในปี ค.ศ. 1920 ที่เรียกว่า “ออสเตรียโมเดล”
               ขึ้นมา เพราะฉะนั้นการเกิดขึ้นของศาลรัฐธรรมนูญครั้งแรกของออสเตรียเกิดจาก
               ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายตุลาการ อีกทั้งฝ่ายที่โจมตีศาล

               รัฐธรรมนูญในตอนนั้นโจมตีว่าการดำรงอยู่ของศาลรัฐธรรมนูญขัดแย้งกับ
               หลักประชาธิปไตย เพราะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คนจะมาทำลายเจตจำนง
               ขององค์กรที่มาจากนิติบัญญัติได้อย่างไร ตัวแทนประชาชน 400-500 คนได้ออก

               กฎหมายฉบับหนึ่งแต่องค์กรนี้มี 9 คนจะมาทำลายเจตจำนงขององค์กรที่มาจาก





                   การอภิปรายแสดงทัศนะ
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142