Page 142 - kpi17968
P. 142
131
พอใจต่อประชาธิปไตย ปัญหารัฐบาลของเสียงข้างมากปรากฏอยู่ทั่วไป ในตุรกี
รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง ในทวีปอเมริกาใต้ซึ่งมีรัฐบาลคนผิวดำก็จริงแต่สนใจ
กลุ่มผลประโยชน์ไม่สนับสนุนกลุ่มประชาชน ของประเทศไทยตอนนั้นก็มีการออก
กฎหมายนิรโทษกรรมใช้นโยบายประชานิยมที่อาจารย์บรรเจิดกล่าวไว้ คำถาม
ก็คือเราจะตรวจสอบ ถ่วงดุล เสียงข้างมากตามระบบรัฐสภาได้อย่างไร ซึ่งใน
ประเทศไทยใช้องค์กรอิสระ ใช้ฝ่ายตุลาการ และทั้งสองวิธีไม่สำเร็จจึงใช้เสริมกัน
แล้วก็ใช้มวลชนท้องถนน ในสหรัฐอเมริกา นายเจมส์ เมดิสัน ซึ่งเป็นหนึ่งในคนที่
ยกร่างรัฐธรรมนูญได้พูดประโยคที่สำคัญว่า หัวใจของรัฐบาลคืออำนาจ อำนาจ
ในมือของมนุษย์ย่อมเสี่ยงต่อการใช้ในทางที่ผิด โดยรวมก็คือแนวความคิด
ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ดี แต่การออกแบบต้องระมัดระวัง ต้องปรับแต่งอยู่เสมอ
การตรวจสอบถ่วงดุลอย่างเข้มแข็งสำคัญไม่น้อยกว่าการเลือกตั้ง ต้องมีการกำกับ
การใช้อำนาจรัฐ และรับประกันสิทธิเสรีภาพประชาชน ลดการคอรัปชั่น
ในต่างประเทศมีการทดลองกันหลายเรื่อง เช่น ลดขนาดบทบาทของรัฐ ให้อิสระ
บางเรื่องเป็นอิสระจากฝ่ายการเมือง เช่น ธนาคารกลางซึ่งอย่างน้อยมี 160 แห่ง
ทั่วโลก มีการสร้างวินัยการคลังโดยการกำหนดให้ต้องทำงบประมาณสมดุล
ในสวีเดน ในชิลี ใช้ ICT ทำให้เกิดประชาธิปไตยทางตรงคือ bypass ในระบบ
รัฐสภา
ส่วนในกรณีของประเทศไทยนั้น ความขัดแย้งหลักที่เราถกเถียงกันคือความ
ขัดแย้งของคนอย่างน้อย 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มคนที่เรียกว่าเป็นคนเสื้อแดงและ
กลุ่มคนเสื้อเหลือง แม้ว่าปัจจุบันนี้จะไม่ได้แสดงออกทางการเมืองกันมากแต่ผม
เชื่อว่ารากเหง้าของความคิดหรือตัวความขัดแย้งยังคงมีอยู่ ประเด็นที่ประเทศไทย
จะต้องตระหนักก็คือถึงอย่างไรทั้งสองฝ่ายต้องอยู่ด้วยกันในประเทศไทย
ไม่สามารถกำจัดอีกฝ่ายหนึ่งออกไปได้แต่ข้อดีก็คือรากของความขัดแย้งของคน
ไทยไม่ใช่สีผิว ไม่ใช่ศาสนา ซึ่งมันเปลี่ยนได้ยาก หากแต่เป็นเรื่องของความคิด
ทางการเมือง เราจะหาทางออกได้ เราก็ต้องเรียนรู้ให้เข้าใจว่าความคับข้องใจของ
คนแต่ละฝ่ายคืออะไร ฝ่ายเสื้อแดงคือการไม่ได้รับความยุติธรรมถูกปฏิบัติ
สองมาตรฐาน ในฝ่ายเสื้อเหลืองมวลมหาประชาชนก็คือการใช้อำนาจโดยไม่ชอบ
ของเสียงข้างมาก ซึ่งก็เป็นประเด็นคล้ายกับที่อาจารย์บรรเจิดยกไว้ว่าเป็นความ
ขัดแย้งใหญ่ระหว่างประชาธิปไตยเสียงข้างมากกับสิ่งที่เรียกว่านิติรัฐก็ได้
การอภิปรายแสดงทัศนะ