Page 138 - kpi17968
P. 138
127
ประชาชนได้อย่างไร นี่คือข้อถกเถียงในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1920 ซึ่งเป็นความขัด
แย้งระหว่างหลักประชาธิปไตยกับหลักนิติธรรม ท้ายที่สุดศาลรัฐธรรมนูญของ
ออสเตรียก็ตั้งขึ้นมาได้และก็ทำหน้าที่เรื่องเดียว คือสรุปตรวจสอบความชอบ
รัฐธรรมนูญของกฎหมาย
ส่วนกรณีรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1787 รัฐธรรมนูญของ
สหรัฐอเมริกาประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นลายลักษณ์อักษรอาจจะ
เรียกว่าฉบับแรกของโลกก็ได้ที่เป็นเอกสาร เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้วไม่ได้
คิดว่าจะมีองค์กรใดมาตรวจสอบฝ่ายการเมืองแต่ท้ายที่สุดในปี ค.ศ. 1803
เกิดคดีบาบาลี เมดิสัน ท้ายที่สุดศาลสูงสุดของอเมริกาเข้าไปตรวจสอบฝ่าย
การเมือง เพราะฉะนั้นกว่าจะพัฒนาการให้องค์กรศาลสูงสุดของอเมริกาจะเข้าไป
ตรวจสอบการทำงานขององค์การฝ่ายการเมืองได้ใช้เวลาเกือบ 20 ปี
อีกเหตุการณ์ที่สำคัญเกิดในช่วงของประธานาธิบดีรูสเวลท์ปี ค.ศ. 1933-1945
หลังสงครามโลก ครั้งที่ 1 ทางประธานาธิบดีรูสเวล นั้นมีโครงการที่เป็นนิวดรีน
หมายความว่าจะต้องเข้ามาฟื้นฟูเศรษฐกิจทั้งหลาย ซึ่งมีการตรากฎหมาย แต่
กฎหมายนั้นไม่ผ่านศาลสูงสุดเพราะขัดกับรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ทำให้การบริหาร
ของประธานาธิบดีรูสเวลท์เป็นไปได้อย่างยากลำบากมาก ประธานาธิบดีรูสเวลท์
จึงมีแนวคิดที่จะไปเพิ่มเติมศาลสูงสุดของอเมริกาจากเดิม 9 คนให้เป็น 15 คน
เพื่อที่จะเอาแนวความคิดใหม่เข้าไป แต่ท้ายที่สุดตอนหลังศาลก็เริ่มเปลี่ยนแนว
ความคิด เหตุการณ์ดังกล่าวก็เป็นการเผชิญหน้าระหว่างนิติธรรมกับฝ่ายการเมือง
ท้ายที่สุดของอเมริกานำมาสู่ข้อสรุปว่าศาลจะจำกัดตนเองไม่เข้าไปในตรวจสอบ
เรื่องของนโยบาย ถือว่าเป็นเรื่องทางการเมือง อันนำมาสู่พัฒนาการที่ทำให้เกิด
ดุลยภาพของสหรัฐอเมริกาว่าศาลสูงสุดจะเข้าไปตรวจสอบได้แค่ไหน เพียงใด
และอย่างไร
ส่วนกรณีของเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิดมา
จากการที่รัฐสภาของเยอรมันมอบอำนาจให้กับฮิตเลอร์ แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา
เดียวก็คือว่าให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการตรากฎหมายได้ เมื่อแก้รัฐธรรมนูญ
มาตราเดียวตรงนี้ก็หมายความว่าฮิตเลอร์ได้อำนาจขึ้นสู่เผด็จการอำนาจโดยอาศัย
บันไดประชาธิปไตย คือการมอบอำนาจของรัฐสภานำมาสู่การเกิดอำนาจ
การอภิปรายแสดงทัศนะ