Page 134 - kpi17968
P. 134

123




                   การวิเคราะห์ศึกษาลึกเข้าไปถึงมาตรฐานในระหว่างประเทศและสิทธิมนุษยชน

                   ก็พบว่าในอนุสัญญาระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชนฉบับหนึ่ง คือ เรื่องสิทธิ
                   ของคนพิการได้บัญญัติมาตรฐานไว้ชัดเจนว่าเราจะต้องส่งเสริมให้คนพิการได้
                   สามารถใช้ความรู้ ความสามารถของตัวเองผลิตหรือทำผลประโยชน์ให้แก่สังคมให้

                   มากที่สุดเท่าที่เขาจะสามารถทำได้ ต้องไม่กีดกันคนพิการไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ ที่จะ
                   ทำให้เขาใช้ศักยภาพ หรือความสามารถที่ถูกจำกัดอยู่แล้วโดยธรรมชาติได้น้อยลง
                   ก็ด้วยเหตุนี้เสียงคัดค้านความเห็นดั้งเดิมก็เริ่มเกิดขึ้นจากฐานข้อมูลในเชิง

                   กฎหมายระหว่างประเทศ แล้วก็นำเสนอให้เห็นว่าประเทศไทยได้เข้าไปเป็นภาคี
                   มีหน้าที่พันธกรณีผูกพันตามอนุสัญญาสหประชาชาติฉบับนั้นแล้ว และเรากำลัง
                   จะตัดสินเป็นรูปธรรมในคดีแบบนี้มันทั้งขัดแย้งต่อพันธกรณีของเรา ขัดแย้งต่อ

                   มาตรฐานของโลก แล้วเราจะอ้างได้ไหมว่ากรณีมันไม่ขัดต่อหลักนิติธรรมของไทย
                   หลังจากศึกษา เสียงสนับสนุนฝ่ายตรงข้ามก็เพิ่มมากขึ้นอีกจุดหนึ่ง เนื่องจาก
                   รัฐธรรมนูญ 2550 ได้บัญญัติหลักห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเอา

                   ไว้เพิ่มขึ้นอีกจุดหนึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งคำวินิจฉัยเดิมใช้เป็น
                   ฐานในการวินิจฉัย คือเพิ่มห้ามการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลโดยไม่เป็นธรรม
                   เพราะเหตุแท้แห่งความพิการเพิ่มขึ้นด้วย เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยปี

                   พ.ศ. 2550 แตกต่างจากรัฐธรรมนูญในปี 2540 ในจุดนี้ เสียงของฝ่ายที่เห็นด้วย
                   กับความเห็นที่สองก็มากขึ้นแล้วก็สนับสนุนด้วยหลักสิทธิมนุษยชน หลายท่าน
                   ที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากสายของนักกฎหมายระหว่างประเทศ

                   ได้นำเสนอว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะฉะนั้นมันต้องรวมอยู่ใน
                   ความหมายของหลักนิติธรรม กฎหมายเขียนอย่างนั้นแม้ตัวกฎหมายจะไม่ได้ดู
                   ผิดปรกติแต่มันเปิดช่องให้คนที่ใช้กฎหมายบทนั้นเลือกปฏิบัติกดขี่ข่มเหงคนพิการ

                   ได้อย่างไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม เพราะฉะนั้นเสียงข้างมากลงคะแนน 6 ต่อ 3
                   ให้กฎหมายบทนั้นขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญตามหลักห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
                   เพราะเหตุแห่งความพิการประกอบหลักนิติธรรมตามมาตรา 3 วรรคสอง

                   คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผมคิดว่าสมควรที่จะได้รับการศึกษา วิจัย
                   และเผยแพร่ให้เห็นว่ามันมีมาตรฐาน มันมีตัวใหม่ที่เป็นรูปธรรมของการใช้หลัก
                                                                                       2
                   นิติธรรมที่เชื่อมโยงกับหลักสิทธิมนุษยชนและมาตรฐานของสากลประเทศเอาไว้

                       2   คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 15/2555





                                                                     การอภิปรายแสดงทัศนะ
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139