Page 135 - kpi17968
P. 135
124
ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
ประเด็นเรื่อง “หลักนิติธรรม รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย ต่างมุมมอง
ต่างความเข้าใจ จุดหมายเดียวกัน” ผมว่าเป็นประเด็นของสังคมไทย เพราะว่า
สังคมไทยนั้นได้เดินมาสู่จุดที่หลักนิติธรรมกับหลักประชาธิปไตยนั้นเผชิญหน้ากัน
และตรงนี้คือประเด็นสำคัญที่สังคมไทยซึ่งขณะนี้เรากำลังร่างรัฐธรรมนูญกันอยู่ซึ่ง
จะต้องหาดุลยภาพ และต้องเรียนว่าสังคมแต่ละสังคมนั้นเกิดการเผชิญหน้ากันทั้ง
สิ้นระหว่างหลักประชาธิปไตยกับหลักนิติรัฐ แต่ว่าถึงจุดหนึ่งจะสร้างดุลยภาพ
อย่างไร นี่คือประเด็นสำคัญของหัวข้อในวันนี้ จะพูดถึง 3 ประเด็น ประเด็นแรก
คือพัฒนาการของหลักนิติธรรมและหลักประชาธิปไตยเป็นอย่างไร ประเด็นที่สอง
ความสัมพันธ์ของหลักนิติธรรมและหลักประชาธิปไตยเป็นอย่างไร และประเด็น
สุดท้ายความขัดแย้งและการสร้างดุลยภาพ
ประเด็นแรก การพัฒนาการของหลักนิติธรรมและหลักประชาธิปไตย
แน่นอนว่านิติธรรมไม่จำเป็นต้องอยู่ในสังคมที่เป็นประชาธิปไตย แต่ว่าเวลาพูดถึง
หลักนิติธรรมและหลักประชาธิปไตย จะสะท้อนให้เห็นรากความคิดของ
รัฐธรรมนูญเสรีประชาธิปไตย โดยเฉพาะแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม
(Constitutionalism) ซึ่งวันนี้เราก็กำลังใช้แนวความคิดดังกล่าวร่างรัฐธรรมนูญ
เพื่อวางโครงสร้างของสถาบันการเมืองและวางดุลยภาพของสองหลักการนี้
ซึ่งหากพิจารณาหลักนิติธรรมกับหลักประชาธิปไตยในแง่ของการต่อสู้ทาง
การเมืองนั้น พบว่าหลักประชาธิปไตยจะอยู่ก่อนเพราะประชาธิปไตยจะไปสู้กับ
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เมื่อเคลื่อนไปถึงจุดหนึ่งหลักประชาธิปไตยอย่าง
เดียวไม่พอแล้ว ดังนั้น หลักนิติธรรมจะต้องเข้ามาสร้างดุลยภาพ ด้วยเหตุนี้
ทั้งสองหลักก็จะเกิดความขัดแย้งกันเองและท้ายที่สุดสังคมแต่ละสังคมจะหา
ดุลยภาพของความสัมพันธ์ของสองอันนี้ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกาหรือยุโรปซึ่งเป็น
พัฒนาการทางการเมืองทั่วโลก โดยปัจจุบันประเทศไทยก็มาถึงจุดที่ว่าจะดุลยภาพ
ระหว่างประชาธิปไตยกับนิติธรรมอย่างไร ผมคิดว่าเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นก่อนวันที่
22 พฤษภาคม 2557 โดยฝ่ายหนึ่งอ้างหลัก supremacy of constitution ในการ
แก้รัฐธรรมนูญ แต่ฝ่ายการเมืองอ้างความชอบธรรมในทางประชาธิปไตย
จึงเป็นการเผชิญหน้าระหว่างหลักประชาธิปไตยกับหลักนิติธรรม ในท้ายที่สุด
การอภิปรายแสดงทัศนะ