Page 131 - kpi17968
P. 131

120




                     ผมคิดว่าจุดนี้ต้องทำกันให้ชัดเจนเพราะว่าในความคิดของนักกฎหมายไทย

               จำนวนหนึ่งเข้าใจว่าหลักนิติธรรมเป็นหลักของกฎหมาย เป็นธรรมะของกฎหมาย
               เป็นกฎของกฎหมาย เป็น Rule of all Laws แต่ว่าจริงๆ แล้วถ้าเราวิเคราะห์แล้ว
               ศึกษาตามแนวทางที่ท่านศาสตราจารย์วิทิต มันตาภรณ์ ท่านองค์ปาฐกถาที่ได้

               นำเสนอให้เราเห็นในช่วงเช้า เราจะพบว่าหลักนิติธรรมไม่ได้ใช้เฉพาะการยก
               สถานะหรือคุณภาพ หรือเป็นระบบขั้นต่ำของระบบกฎหมาย หรือระบบงาน
               ยุติธรรมเท่านั้น ท่านชี้ให้เห็นอย่างกว้างๆ ไปถึงระดับการบริหารจัดการโลก

               ระดับอารยธรรม หรือวัฒนธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งแต่ละประเทศแต่ละหน่วย
               ในสังคมโลกต้องให้ความเคารพ และร่วมมือร่วมใจที่จะไม่ฝ่าฝืนไปให้ต่ำกว่า
               มาตรฐานขั้นต่ำของโลก


                     หลักนิติธรรมในความหมายอย่างกว้างนั้นในระดับระหว่างประเทศ ท่านได้
               คิดล่วงหน้ามาก่อนแล้วโดยใช้คำว่า “good governance” ซึ่งภาษาไทยเราใช้คำ

               ว่า “หลักธรรมาภิบาล” หรือ “การปกครองโดยธรรม” การปกครองโดยธรรม
               หรือหลักธรรมาภิบาลไม่จำกัดรูปแบบของระบบการเมือง ระบบอำนาจ หรือแม้แต่
               ระบอบการปกครองต้องเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งในหลักธรรมาภิบาล

               ก็จะต้องมีหลักนิติธรรมเป็นแกนสำคัญแกนหนึ่งใน 7-8 แกนในหลักธรรมาภิบาล
               ของสหประชาชาติ ประเทศไทยเรามีอารยธรรมของไทยมาตั้งแต่ดั้งเดิมว่าในการ
               ปกครองสยามประเทศนั้น จะต้องเป็นการปกครองโดยธรรมมิใช่ปกครองด้วย

               กฎหมายหรือปกครองด้วยอำนาจหรืออำเภอใจ เพราะฉะนั้นบุคคลใดที่จะเข้ามา
               ครองอำนาจในการปกครองประเทศไทย เนื้อแท้ของบุคคลนั้นต้องอย่าให้ต่ำต้อย
               ด้อยไปกว่าหลักธรรมาธิปไตย ซึ่งเป็นอะไรที่ผมคิดว่ามันเป็นอุดมการณ์หรือเป็น

               คุณภาพของสังคม

                     ทั้งนี้ ประเด็นแรก ผมอยากจะให้ความหมายของหลักนิติธรรมในทางที่

               กว้างขึ้น แล้วจึงค่อยลงมาในทางลึกหรือทางแนวตั้ง แล้วเราจะใช้มันมากน้อยแค่
               ไหนผมเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 ปีพุทธศักราช 2550 ได้จัดวางหลักนิติธรรม
               เอาไว้ ณ จุดที่สูงมาก โดยบัญญัติใน มาตรา 3 วรรคสอง ซึ่งมาตรา 3 วรรค

               หนึ่ง กล่าวถึงหลักการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย แล้ววางหลักนิติธรรม
               ไว้ในวรรคสองว่า “การใช้อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี รัฐสภา ศาลต่างๆ รวม
               ตลอดไปถึงองค์กรตามรัฐธรรมนูญทุกองค์กร และหน่วยงานของรัฐทั้งหมด ไม่ว่า




                   การอภิปรายแสดงทัศนะ
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136