Page 133 - kpi17968
P. 133
122
มนุษยธรรมในสังคมโลกด้วยอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้เลย เพราะหลักสิทธิ
มนุษยชนและโดยเฉพาะหลักมนุษยธรรมนั้นเป็นมาตรฐานขั้นต่ำของสังคมอารยะ
ในโลกปัจจุบันไปแล้ว ถ้าประเทศไทยยืนหยัดและยืนกรานว่าหลักนิติธรรมของ
ไทยไม่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ไม่เกี่ยวกับหลักมนุษยธรรม เมื่อนั้นหลักนิติธรรม
ของไทยจะกลายเป็นกฎหมายป่าเถื่อนไปทันที ด้วยเหตุนี้ ก็ขอเดินตามแนวทาง
ของท่านอาจารย์วิทิต มันตาภรณ์ อีกจุดหนึ่งครับ
หลักนิติธรรมของไทยต้องครอบคลุมและคุ้มครองถึงหลักสิทธิมนุษยชน
ในความหมายของกฎหมายระหว่างประเทศด้วยให้มากที่สุดเท่าที่เราจะสามารถ
หรือที่เราจะพร้อมทำได้ ดังนั้น ถ้าตั้งหลักไว้อย่างนี้แล้วประโยชน์จะเกิดแก่
ประเทศชาติและประชาชนชาวสยามแน่นอน ขอยกตัวอย่างที่เราพยายามพัฒนา
อย่างนี้ในศาลรัฐธรรมนูญแต่ว่าไม่ได้เผยแพร่หรือแพร่หลายออกไปข้างนอก
ขอถือโอกาสเล่าเรื่องงานในศาลรัฐธรรมนูญซักตัวอย่างหรือสองตัวอย่าง
ตัวอย่างแรก เมื่อมีคดีมาสู่ศาลรัฐธรรมนูญคดีหนึ่งในมิติในประเด็นว่ากฎหมาย
ในการกำหนดคุณสมบัติของคนที่จะเข้ารับราชการหลายแห่งบัญญัติว่าบุคคลที่จะ
เข้ามาสู่ตำแหน่งนั้นได้จะต้องมีสภาพร่างกายและจิตใจเหมาะสมที่จะดำรง
ตำแหน่งนั้น มีประเด็นว่ากฎหมายบทนี้ขัดรัฐธรรมนูญหลักใด บทใด หรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้เมื่อปี 2545 – 2546 ว่า ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
1
และไม่ขัดต่อหลักการพื้นฐานใดๆ ในระบบกฎหมาย ระบบงานยุติธรรมของไทย
เลยใช้บังคับได้ เหตุที่ทำให้มีคดีนี้เกิดขึ้น เพราะคณะกรรมการคณะหนึ่งใช้
กฎหมายบทนี้ตัดสิทธิ์คนพิการที่มีสภาพร่างกายกะโพกกะเพลกเพราะเป็นโรค
โปลิโอ แขนลีบ ขาลีบ ไม่ให้เข้ารับการคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่งในทางราชการนั้น
แล้วเขาก็นำเสนอเรื่องผ่านท่านผู้ตรวจการแผ่นดินส่งมาที่ศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้ง
หนึ่งในปี พ.ศ.2556 ศาลรัฐธรรมนูญมีความเห็นเป็น 2 ด้าน ด้านที่หนึ่งเห็นว่า
ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้แล้วว่ากฎหมายบทนี้ไม่ได้ขัดแย้งอะไรต่อ
รัฐธรรมนูญเพราะมันมีความชอบธรรม สนับสนุนว่าเราจะรับคนเข้าดำรงตำแหน่งใด
เขาควรจะต้องมีสภาพร่างกายและสภาพจิตใจเหมาะสมกับตำแหน่ง นั้นไม่เห็นจะ
ขัดแย้งอะไรเลย และก็ไม่ได้เลือกปฏิบัติ (discriminate) กับใคร หลังจากที่ได้มี
1 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 16/2545
การอภิปรายแสดงทัศนะ