Page 132 - kpi17968
P. 132
121
อยู่ในระดับใดต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม” เป็นหลักการที่ชัดเจนว่า
หลักนิติธรรมในความหมายของกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้นไม่ใช่หลักทั่วไป ไม่ใช่
เพียงแค่ปรัชญาแต่เป็นหลักกฎหมายสูงสุดโดยได้รับการยืนยันจากรัฐธรรมนูญไว้
ณ จุดที่เด่นชัดมาก
ผมขอสรุปว่า “หลักนิติธรรม” ในความหมายของกฎหมายไทยเป็นหลักการ
พื้นฐานของระบอบการปกครอง ระบบการเมือง ระบบกฎหมาย ระบบงาน
ยุติธรรม และการใช้อำนาจใช้ดุลพินิจ ตลอดจนการปฏิบัติภารกิจตามอำนาจ
หน้าที่ทุกรูปแบบ ผู้ที่เข้ามาใช้อำนาจและรับภารกิจของสังคมจะฝ่าฝืนหรือขัดแย้ง
ต่อหลักนิติธรรมไม่ได้ นี่ก็คือแนวคิดของรัฐธรรมนูญของไทยที่ปรากฏในมาตรา 3
วรรคสอง แต่ว่าบทบัญญัติดังกล่าวยังเป็นเพียงกรอบความคิดของนักกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ ยังไม่ได้กว้างออกไปเหมือนอย่างที่ท่านองค์ปาฐกนำเสนอไว้
หลักนิติธรรมจะต้องสอดคล้องและเชื่อมโยงกับมาตรฐานขั้นต่ำในสังคมโลก ไม่ว่า
จะเกิดจากพันธกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศ หรือเกิดจากจารีตประเพณี
ระหว่างประเทศ ถ้าหลักนิติธรรมของประเทศไหนแคบไปกว่านี้ประเทศนั้นเสี่ยง
ต่อการที่จะไปขัดแย้งกับมาตรฐานขั้นต่ำของโลก แล้วก็จะกลายเป็นตัวร้าย
คนเกเร ในสังคมโลก เราจะไม่ยอมให้ประเทศไทยไปตกอยู่ในสภาวะเช่นนั้น
เด็ดขาด ไม่ใช่เพราะว่าเราอยากจะเป็นคนดีคนดัง แต่เพราะประเทศไทย
เป็นประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่งในโลก เราไม่ใช่มหาอำนาจที่จะปักธงยืนหยัด
ความคิดเห็นของเราโดยไม่คำนึงถึงมาตรฐาน หรือแนวทางปฏิบัติจารีตประเพณี
ในสังคมโลก ประโยชน์ที่จะเกิดแก่ประเทศไทยในมิติของความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ คือ เราต้องสอดคล้องกับมาตรฐานและกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ นั่นคือ
ความปลอดภัยของประเทศไทย เพราะฉะนั้นผมก็ชื่นใจมากเลย ที่เมื่อเช้าได้ฟัง
อาจารย์วิทิต มันตาภรณ์ นำเสนอให้เห็นมิติสำคัญมิตินี้ ซึ่งยังไม่ได้ปรากฏชัด
ในรัฐธรรมนูญฉบับใดของเรา
จุดที่สองท่านอาจารย์วิทิต มันตาภรณ์ ก็แตะไว้ให้เห็นเช่นกัน แต่ผมนั้น
ได้รับข้อมูลนี้มาจากงานวิจัยหรือข้อเสนอของ Lord Bingham ที่นำเสนอศัพท์ของ
หลักนิติธรรมเอาไว้ 8 ประการ หนึ่งในนั้นที่น่าสนใจมาก คือ หลักนิติธรรม
ไม่ว่าในระดับระหว่างประเทศ หรือในระดับแต่ละประเทศจะต้องเกื้อกูล
ครอบคลุมถึงหลักสิทธิมนุษยชน และความจริงมันต้องครอบคลุมถึงหลัก
การอภิปรายแสดงทัศนะ