Page 140 - kpi17968
P. 140

129




                   การเมือง แต่ของเยอรมันศาลจะจำกัดตนเองในเรื่องทางการเมืองเพียงใดขึ้นอยู่

                   กับอำนาจที่รัฐธรรมนูญให้ เพราะฉะนั้นหลักของเยอรมันกับอเมริกาจะไม่เหมือนกัน
                   ขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปเพียงใด สำหรับประเทศไทย
                   ที่ใช้ระบบรัฐสภานั้นคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการถ่วงดุลโดยฝ่ายข้างน้อยยังคงเป็นปัญหา

                   เพราะฉะนั้นดุลยภาพของการที่จะทำให้สองหลักนั้นดุลยภาพกันอย่างไร จึงเป็น
                   ประเด็นที่มีความสำคัญที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญต้องดุลยภาพนั้นเป็นประเด็นที่หนึ่ง
                   ประเด็นที่สองคือประเด็นเรื่อง Supremacy of Parliament กับ Supremacy of

                   Constitution ซึ่งเป็นประเด็นที่ขัดแย้งกันในช่วงก่อน 22 พฤษภาคม 2557 ฝ่าย
                   การเมืองบอกว่าตนมีอำนาจในการที่จะแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญได้ และก็อ้าง
                   หลัก Supremacy of Parliament เพราะฉะนั้นองค์กรอื่นไม่สามารถที่จะเข้าไป

                   ตรวจสอบอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นมันก็เกิดการเผชิญหน้า
                   ในเชิงโครงสร้างของหลักการ แต่ท้ายที่สุดศาลรัฐธรรมนูญไทยก็ถ่วงหลักนี้
                   โดยอ้างอิงหลักนิติธรรม โดยการอ้างอิงหลักนิติธรรมในเจตนารมณ์ในคำปรารภ

                   ของรัฐธรรมนูญเป็นเหตุผลหลักของการวินิจฉัยในเรื่องนี้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ
                   ดุลยภาพ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมาประเทศไทยไม่เคยถือหลัก Supremacy
                   of Parliament แต่ถือหลัก Supremacy of Constitution มาโดยตลอด


                           แต่อย่างไรก็ดี รัฐธรรมนูญไม่เคยบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามา
                   ตรวจสอบในเรื่องของการแก้ไข เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงร่าง

                   พระราชบัญญัติ ที่ให้เข้ามาควบคุมตรวจสอบกระบวนการตรากฎหมายก่อนการ
                   ประกาศใช้ได้ ดังนั้น ประเด็นนี้จึงเป็นประเด็นที่ต้องทำให้เกิดความชัดเจน
                   ในรัฐธรรมนูญ


                           นอกจากนี้ ยังมีปัญหาความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยกับปัญหา
                   ขององค์กรตรวจสอบ กล่าวคือ ฝ่ายนโยบายอ้างว่าการที่ตนทำนโยบายในเรื่องนั้น

                   เพราะผ่านกระบวนการหาเสียงมาแล้ว ผ่านความชอบธรรมในทางประชาธิปไตย
                   มาแล้ว จึงน่าพิจารณาว่าองค์กรตรวจสอบจะเข้าไปตรวจสอบได้เพียงใด กรณีของ
                   นโยบายประชานิยมกระบวนการจัดการควรจะมีข้อจำกัดหรือไม่เพียงใด เพราะ

                   นโยบายเหล่านี้จะนำมาสู่ความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยและนำไปสู่การ
                   บังคับใช้ ประเด็นเหล่านี้เป็นปัญหาของดุลยภาพ โดยเฉพาะในสังคมไทย การร่าง






                                                                     การอภิปรายแสดงทัศนะ
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145