Page 702 - kpi17073
P. 702
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 701
ขึ้น ในด้านที่สอง ผู้ร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ขาดความเชื่อมั่นในองค์กรทางการเมืองก็ดึงศาลเข้ามา
แล้วเพิ่มบทบาทศาลขึ้นเป็นอันมาก โดยเฉพาะในการสรรหาองค์กรอิสระและที่สำคัญที่สุด
คือการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหา ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า judicial activism หรือ
ตุลาธิปไตย โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญที่ใช้อำนาจควบคุมองค์กรทางการเมือง จนเป็นที่มาของ
วลีสุดท้ายของรัฐบาลที่แล้วที่ว่า ต้องประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาล นี่คือความเสียสมดุลที่ท่าน
ได้เห็น
คำถามสุดท้ายที่จะต้องถามวันนี้ก็คือ อะไรก็คือทางแก้ เมื่อเรารู้สาเหตุของปัญหาหรือ
ตัวปัญหาแล้วเราจะแก้อย่างไร โจทย์ใหญ่ของปัญหาข้อนี้ก็คือ จะสร้างดุลยภาพใหม่ได้อย่างไร
นี่คือโจทย์ข้อใหม่ แต่ก่อนที่ตอบโจทย์ก็จะต้องถามก่อนว่า ใครมีหน้าที่ต้องหาปัญหา หาสาเหตุ
และแก้ปัญหานั้น ถ้าดูตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวและดูตามสิ่งที่ คสช.ทำมาก็ต้องบอกว่าคนแรก
ที่รับผิดชอบ คือ คสช. ผู้ได้เข้ายึดอำนาจแล้วก็สัญญาว่าจะคืนความสุขให้ประชาชน แล้วก็เข้ามา
แก้ปัญหาเหล่านี้ แต่ คสช.ก็ผ่องถ่ายให้หน่วยงานต่างๆสร้างดุลอำนาจใหม่ไปให้หน่วยต่างๆ ด้วย
เช่น ให้การปฏิรูปด้านต่างๆมากกว่า 11 ด้าน ไปอยู่ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เรียกว่า สปช. ให้การ
จัดทำรัฐธรรมนูญมาอยู่ในชุดของคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนการจัดทำกฎหมายให้ไป
อยู่ที่คณะรัฐมนตรีและ สนช. เมื่อเป็นอย่างนี้ก็แปลว่า ก่อนจะไปสร้างดุลให้กับคนอื่นต้องสร้าง
ดุลระหว่างกันเองเสียก่อน ด่านแรกต้องสร้างดุลระหว่าง สปช. กับคณะกรรมาธิการยกร่างฯ
เสียก่อน เพราะว่าถ้าไม่ได้ดุลตรงนี้รัฐธรรมนูญไม่ผ่าน สปช. ในวันที่ 6 สิงหาคม 2558 แล้วไซร้
ทั้งสองส่วนนี้ก็ตายตกไปตามกันตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว ด่านที่ 2 ก็คือต้องสร้างดุลระหว่าง
คณะกรรมาธิการยกร่างฯ สปช. กับ คสช. สนช. และ ครม. เพื่อให้การปฏิรูปเดินไปได้ ทำให้
การจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นเพื่อการปฏิรูปไปได้ แต่การปฏิรูปเพื่อ
แก้ปัญหาที่เรียนข้างต้นแล้ว เรื่องความไม่สมดุลของสามสี่ด้านนั้น ตลอดจนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
เพื่อสร้างดุลอำนาจใหม่ให้สมดุลดั่งตราชั่งที่เห็นอยู่นี้มีข้อจำกัดมากมาย
ข้อจำกัดเรื่องแรก คือ เวลา รัฐธรรมนูญชั่วคราวเขียนไว้ว่า นับแต่วันประชุมครั้งแรกของ
สปช. นั้น สปช. ต้องให้ความเห็นต่อคณะกรรมการยกร่างฯให้เสร็จ ภายในวันที่
19 ธันวาคม 57 หกสิบวัน แล้วก็บอกว่า เมื่อกรรมาธิการยกร่างฯฟังเสร็จแล้ว ก็ต้องยกร่างฯ
ให้เสร็จภายใน 120 วัน วันสุดท้ายคือ 17 เมษายน 2558 แล้วก็บอกว่าให้กรรมาธิการฯ ฟังสภา
ปฏิรูปแห่งชาติให้เสร็จภายใน 10 วัน แปลว่า 26 เมษายน สภาปฏิรูปแห่งชาติให้ความเห็นเสร็จ
ก็ยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมอีกหนึ่งเดือน พร้อมทั้ง ครม. และ คสช. ให้เสร็จภายใน 25 พฤษภาคม
2558 แล้วกรรมาธิการยกร่างฯ ก็รวบรวมคำขอทั้งหมดจาก ครม. และ คสช. คำขอแก้ไข
เพิ่มเติมและไม่เกิน 10 คำขอมาดูให้เสร็จ แก้ให้เสร็จ ภายใน 23 กรกฎาคม ส่งกลับไปให้ สปช.
ซึ่ง สปช.ต้องลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ภายในวันที่ 6 สิงหาคม 2558 ถ้าไม่เห็นชอบก็ตาย
ตกไปตามกัน ยุบคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ยุบสภาปฏิรูปแห่งชาติ แล้วเริ่มตั้งกันใหม่ อยู่อีก
ปีหนึ่ง แต่ถ้าเห็นชอบก็นำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายในหนึ่งเดือน ก็คือต้องทูลเกล้าถวายในวันที่
4 กันยายน ถ้าต้องไปจัดทำประชามติด้วย ก็ต้องประมาณต้นพฤศจิกายน ก็ต้องลงประชามติ
แล้วว่าจะเลือกตั้งได้ก็ประมาณเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ของปี 59 นี่คือ สิ่งที่เขียนอยู่ใน ปาฐกถาปิด
รัฐธรรมนูญชั่วคราว ไม่ได้มีใครลิขิตขึ้นมา อยู่ในรัฐธรรมนูญ ก็ต้องเรียกว่าเป็น Road map ของ
รัฐธรรมนูญ ข้อจำกัดที่สอง ก็คือ สาระ รัฐธรรมนูญ มาตรา 35 กำหนดให้คณะกรรมาธิการยก
ร่างรัฐธรรมนูญและสภาปฏิรูปแห่งชาติต้องตอบปัญหาของการเมืองไทยที่ให้ฝรั่งได้ยินแล้วชักจะงง