Page 701 - kpi17073
P. 701
700 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
เป็นของท่าน วุฒิสภาท่านก็ตั้งมากับมือ แล้วก็มาเป็นฝ่ายบริหาร คนที่เขียนรัฐธรรมนูญปี 40
ก็บอกว่า ไม่ได้ เมื่อเป็นอย่างนี้ อำนาจมันกระจุกตัวแล้วองค์กรตรวจสอบไม่มีความเข้มแข็ง
เพราะฉะนั้น ต้องมีการเพิ่มมาตรการป้องกันการทุจริต มาตรการปราบปรามการทุจริต ที่สำคัญ
ก็คือ ต้องสร้างศาล ต้องสร้างองค์กรตรวจสอบขึ้นมา เป็นดุลอำนาจใหม่มาคานอำนาจนิติบัญญัติ
และอำนาจบริหาร เราจึงเห็นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง เราจึงเห็น กกต. ป.ป.ช. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ปัญหาประการที่ 3 คนเขียนรัฐธรรมนูญปี 40
บอกว่า เรามีปัญหาเรื่องความสมดุลระหว่างอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร เรามีรัฐบาลผสม
ตลอดเวลา รัฐบาลไทยตั้งแต่ปี 2475 ถึง 2540 65 ปี มี 52 คณะ คณะหนึ่งเฉลี่ยอายุ 1 ปี
2 เดือน ฉะนั้นรัฐบาลไร้เสถียรภาพ คนที่เขียนรัฐธรรมนูญปี 40 ต้องสร้างรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ
นายกรัฐมนตรีที่มาเป็นผู้นำ เพราะฉะนั้นรัฐธรรมนูญปี 40 จึงออกแบบเพื่อสร้างนายกรัฐมนตรี
และฝ่ายบริหารที่เข้มแข็ง แล้วเพิ่ม ส.ส.party list เข้าไป 100 คน ห้าม ส.ส.เป็นรัฐมนตรี
เพื่อให้ ส.ส. มีความเสี่ยง เพราะพอออกมาเป็นรัฐมนตรีแล้ว ถ้าไม่ฟังเสียงท่านนายกฯ และ
ท่านคณะรัฐมนตรีต้องกลับไปเลี้ยงลูกที่บ้านถ้าถูกปลด ไม่ใช่กลับไปนั่งในสภา ทำให้การอภิปราย
ไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรียากขึ้นเหมือนกับเยอรมันที่เรียกว่า “Constructive motion of no
confidence” ต้องใช้คะแนนเสียง ส.ส. 2 ใน 5 แล้วได้ผลจริง เราได้นายกรัฐมนตรีที่มาจาก
พรรคเดียว ในปี 2544 เกือบมีเสียงเด็ดขาด ปี 2548 พรรคไทยรักไทยพรรคเดียว ได้ ส.ส.
377 คนจาก 500 คน เมื่อใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 มา 9 ปี พบว่า รัฐบาลโดยเฉพาะ
นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีมีความเข้มแข็งมาก อยู่ครบ 4 ปี เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
การเมืองไทย ครบ 4 ปี ในปี 48 สภาครบอายุไปเลือกตั้ง รัฐบาลได้เสียง 377 เสียงจาก
500 เสียง แต่รัฐบาลก็ยังไปเอาพรรคอื่นเข้ามาเป็นรัฐบาลผสม เพื่อจะให้ยื่นญัตติไม่ไว้วางใจ
รัฐบาลไม่ได้เด็ดขาด จนกระทั่งรัฐบาลถูกกล่าวหาในวันนั้นว่าเป็นเผด็จการรัฐสภา เกิดปัญหาที่
ท่านอดีตนายกรัฐมนตรีชวนพูด คือ การแทรกแซงสื่อ การแทรกแซงองค์กรอิสระโดยอำนาจ
การเมือง ในขณะที่การเมืองภาคพลเมืองเองก็ไม่สู้จะเข้มแข็ง อันนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่าง
รัฐบาลกับคนเสื้อเหลืองซึ่งจบลงด้วยการยึดอำนาจในวันที่ 19 กันยายน 2549 แล้วก็การจัดทำ
รัฐธรรมนูญปี 2550 จริงๆ แล้วรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้สานต่อเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ 2540
ในสองเจตนารมณ์ คือ ทำให้การเมืองภาคพลเมืองใช้สิทธิได้ง่ายขึ้น เช่น ลดจำนวนผู้เสนอ
กฎหมายจาก 50,000 คน เหลือ 10,000 คน การเสนอถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
จาก 50,000 เหลือ 20,000 ทำให้สิทธิเสรีภาพบังคับได้โดยตรง โดยไม่ต้องรอกฎหมายลูกและ
ปรับอำนาจการได้มาขององค์กรอิสระและองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ แต่ที่รัฐธรรมนูญ 2550
ปรับใหม่และเป็นดุลแห่งอำนาจที่ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันทั่วไปจนมาถึงทุกวันนี้
เป็นดุลอำนาจที่เสียดุลหรือไม่ 2 ด้าน คือ หนึ่ง การวางข้อจำกัดอำนาจฝ่ายบริหารมาก เช่น
การบัญญัติมาตรา 190 จนกระทั่งกระทรวงการต่างประเทศและรัฐบาลไม่รู้อะไรที่จะต้องเสนอ
สภาบ้าง เลยเสนอมาหมดทุกเรื่องเลย แล้วก็ทำให้การเจรจาระดับระหว่างประเทศของประเทศ
ปาฐกถาปิด ไทยไม่ได้รับการเชื่อถือจากต่างประเทศ การควบคุมการออกพระราชกำหนดทุกเรื่อง
แม้กระทั่งความจำเป็นรีบด่วน การห้ามรัฐบาลรักษาการทำเรื่องบางเรื่องอย่างที่ได้เห็นมาแล้วว่า
รัฐบาลที่แล้วที่ไม่สามารถจ่ายเงินจำนำข้าวชาวนาได้ เป็นต้น นี่ก็แปลว่า คนเขียนรัฐธรรมนูญปี
50 มองว่าฝ่ายบริหารมีอำนาจมากเกินไป เพราะฉะนั้นต้องลิดอำนาจให้น้อยลง ให้ทำงานลำบาก