Page 703 - kpi17073
P. 703

702     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  ตัวอย่างเช่น กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้ที่เคยต้องคำพิพากษาหรือ
                  คำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือกระทำการให้การเลือกตั้ง

                  ไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด หรือกลไกที่มีประสิทธิภาพ
                  ที่ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพรรคการเมือง สามารถปฏิบัติ
                  หน้าที่หรือดำเนินกิจกรรมได้โดยอิสระ ปราศจากการครอบงำหรือชี้นำโดยบุคคลหรือคณะบุคคล

                  ใดๆ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย นี่เป็นตัวอย่างสองข้อ ตามมาตรา 35 (4) (5) ว่าด้วย Political
                  nominee โทรศัพท์มาสั่ง video conference มาสั่ง เพราะฉะนั้นจะเขียนตามใจชอบไม่ได้ ก็ต้อง

                  เอาอันนี้ไปใส่ ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือว่ากรรมาธิการยกร่างฯก็ดี สปช.ก็ดี ไม่มีทางเลือก เว้นแต่
                  จะแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว ถึงจะไม่เขียนตามมาตรา 35 นี้ได้ ข้อจำกัดประการที่สาม คือ
                  บรรยากาศ ก็ต้องยอมรับว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปหลังการยึดอำนาจมันจะเป็น

                  บรรยากาศที่ดีเหมือนปี 2540 ไม่ได้ ในปีนั้นไม่มีการยึดอำนาจ บรรยากาศเป็นประชาธิปไตย
                  เต็มที่ ไม่มีความขัดแย้งของเสื้อสีต่างๆ แต่ว่าวันนี้เราอยู่ในบรรยากาศความขัดแย้งซึ่งหลบใน

                  เพราะกฎหมายความมั่นคงบ้าง กฎอัยการศึกบ้าง เราอยู่ในบรรยากาศของการใช้กฎหมาย
                  ความมั่นคง กฎอัยการศึก แล้วเราอยู่ในบรรยากาศแห่งความไม่เชื่อใจกัน สื่อทั้งหลายพาดหัว
                  เหล้าเก่าในขวดใหม่ ก็แปลว่า คนร่างรัฐธรรมนูญมันหน้าเก่า มันก็ต้องเขียนแบบเก่าๆ ตัดแปะ

                  พิมพ์เขียว ใบสั่ง เพราะฉะนั้นข้อจำกัดที่เป็นบรรยากาศอย่างนี้ก็มีอยู่

                       แต่จุดที่เป็นข้อดีก็มี ข้อแรกก็คือคนจำนวนมากยังมีความหวังกับการปฏิรูป ถ้าเราสามารถ
                  เปลี่ยนความหวังของคนทั้งประเทศให้เป็นพลังขับเคลื่อนการมองไปข้างหน้าหาอนาคตประเทศไทย

                  อาจจะทำให้เราคิดได้ไกลได้กว้างกว่าการที่มาติดหล่มว่า เอาไม่เอาใคร ขจัดหรือไม่ขจัดระบอบไหน
                  ข้อดีที่สอง ก็คือ ความหลากหลาย ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่มาจากทุกภาคส่วน ก็ต้อง
                  ยอมรับว่ามีความหลากหลายจริงๆ สมาชิกพรรคการเมือง อดีตนักการเมืองของพรรคที่ขัดแย้งกัน

                  ก็เข้ามา ถึงแม้ว่าจะไม่เข้ามาในนามพรรคก็จริง ทำให้เราอาจจะตั้งความหวังว่าจะเกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นได้

                       แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม การตอบโจทย์สามข้อนี้ อันมีปัญหาและสาเหตุที่อยากสรุป
                  ให้ฟังอีกครั้งหนึ่ง คือ หนึ่ง ความขัดแย้งและความเสียดุลอันเกิดจากความขัดแย้งที่เรื้อรังมา

                  เกือบสิบปี สอง ความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรความมั่งคั่งและทรัพยากรทางเศรษฐกิจและ
                  สังคม และ สาม ความไม่สมดุลในการจัดสรรอำนาจ

                       หากจะต้องทำรัฐธรรมนูญใหม่ ต้องปฏิรูปใหม่ โดยสภาปฏิรูปแห่งชาติในคราวนี้ เราก็จะไม่

                  สามารถปะผุได้ เพราะถ้าเราไปหยิบรัฐธรรมนูญปี 40 ปี 50 ซึ่งมีสภาพปัญหาและมีสาเหตุแห่ง
                  ปัญหาที่ต่างจากปี 57 แล้วมาปะผุ ก็แปลว่าเราไม่สามารถจัดการแก้ปัญหาได้ ก็แปลว่า

                  รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การปฏิรูปแนวใหม่ต้องตอบโจทย์เรื่องการสร้างความปรองดองให้ได้
                  การตอบโจทย์เรื่องของการสร้างความปรองดองของคู่ขัดแย้งจะแก้ปัญหาที่ขัดแย้งเฉพาะหน้าได้
                  แล้วก็ต้องสามารถสร้างความเป็นธรรมในการจัดสรรความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งจะ

                  เป็นการป้องกันความขัดแย้งไม่ให้เกิดขึ้นอีกในระยะยาว แต่แน่นอน รัฐธรรมนูญไม่มีสิทธิ
        ปาฐกถาปิด   รัฐธรรมนูญเป็นเพียงกฎหมายสูงสุดโดยตัวของมันเองจึงไม่อาจแก้ปัญหาเรื่องความปรองดองให้

                  เกิดความปรองดองเพื่อแก้ความขัดแย้งให้เกิดความเป็นธรรมในทางเศรษฐกิจและสังคมได้ในตัว
                  ของมันเอง แต่รัฐธรรมนูญอาจจะสร้างองค์กร กลไก และกระบวนการ ตลอดจนหลักการสำคัญ
   698   699   700   701   702   703   704   705   706   707   708