Page 699 - kpi17073
P. 699

698     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                       ถ้าเราลองไปดูเหตุของปัญหาเหตุแรก เราก็จะพบว่า ที่เห็นเด่นชัดขึ้นมาก็คือ ความขัดแย้ง
                  ระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรีกับผู้สนับสนุน ทั้งที่เป็นพรรคการเมืองและประชาชนซึ่งเป็น

                  คนเสื้อแดง กับผู้ต่อต้านอันนำโดยพรรคการเมืองเก่าแก่ แล้วก็มีคนเสื้อเหลือง คนเสื้อหลากสี
                  คนเสื้อสีธงชาติและมีนกหวีด ความขัดแย้งนี้ยังไม่ยุติ ความขัดแย้งนี้เพียงสงบลงชั่วคราว ถ้าใช้
                  ภาษากฎหมายเขาเรียกว่า สะดุดหยุดอยู่ เพราะมีรัฏฐาธิปัตย์มายืนตรงกลางแล้วก็เป่านกหวีด

                  ด้วยกฎอัยการศึก


                       สาเหตุที่สอง อันเป็นสาเหตุแห่งความขัดแย้งที่อาจจะมองไม่เห็นชัดเท่า ก็คือความไม่เป็น
                  ธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม และช่องว่างมหาศาลระหว่างคนมั่งมีมหาศาลกับคนชั้นกลาง
                  ระดับบน และคนไม่มี ตลอดจนคนชั้นกลางระดับล่าง ซึ่งเกิดจากยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ

                  และการจัดสรรความมั่งคั่ง และการจัดสรรทรัพยากรของประเทศที่เน้นการส่งเสริมธุรกิจ
                  อุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพื่อการส่งออก แล้วก็ละเลยคนจน เกษตรกร ผู้ประกอบการ รายย่อย

                  ทำให้ 5 ทศวรรษแห่งการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ผ่านมา ส่งผลให้คนมั่งมี
                  กลายเป็นคนมั่งมีมหาศาล คนชั้นกลางธรรมดากลายเป็นคนชั้นกลางระดับบน ในขณะที่คนไม่มี
                  ก็ยังไม่มีอยู่เหมือนเดิม ทำให้ผมนึกถึงพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีพระราช-

                  ดำรัสว่า ประชาธิปไตยทางการเมืองจะเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อประชาชนมีความเป็น
                  อิสระทางเศรษฐกิจและพึ่งตนเองได้ ท่านที่เคารพ ตัวเลขที่ผมเอามาแสดงนี้เป็นตาราง

                  การกระจายรายได้ ตั้งแต่เริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ท่านจะเห็นได้ว่า
                  กลุ่มประชาชน 20% ที่จนที่สุดเป็นเจ้าของรายได้ประชาชาติ 2.9 ในปี 2505-2506 ในขณะที่
                  ประชาชนที่รวยที่สุด 20% ด้านบนเป็นเจ้าของรายได้ประชาชาติ 59.5% พัฒนามา 5 ทศวรรษ

                  ในปี 2554 ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ ตัวเลขปรากฏอยู่หน้าท่าน คนที่จนที่สุดของประเทศ 20%
                  สุดท้ายเป็นเจ้าของรายได้ประชาชาติ 4.62% คนที่รวยที่สุดเป็นเจ้าของรายได้ประชาชาติ

                  54.31% ไม่มีความเปลี่ยนแปลงเป็นนัยสำคัญ คน 60% ของประเทศเป็นเจ้าของรายได้
                  ประชาชาติทั้งหมดเพียง 25% แต่หลายท่านอาจจะนึกในใจว่า ดูแค่นี้ไม่ได้หรอก ตาราง
                  การกระจายรายได้ต้องดูตารางการถือครองทรัพย์สินด้วย นี่คือตัวเลขการถือครองทรัพย์สิน

                  ที่ผมเอามาจาก TDRI ในปี ค.ศ. 2008 TDRI เขาสำรวจแล้ว พบว่า ที่เรียกว่ากรรมสิทธิ์เอกชน
                  ที่เอกชนถือกรรมสิทธิ์ได้นั้น 69% เป็นของคน 20% ด้านบนสุด 31% เป็นของคน 80% แล้ว

                  ถ้าแบ่งเป็นกลุ่ม ท่านจะเห็นได้ว่ากลุ่มจนสุด 20% สุดท้ายนั้น นอกจากรายได้มีแค่ 4% เศษๆ
                  ยังเป็นเจ้าของทรัพย์สินเอกชนแค่ 1% เท่านั้น แต่ถ้าดูให้ลึกจริงๆ แล้วกราฟนี้แสดงให้เห็นว่า
                  คนเพียง 10% เท่านั้นที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินทั่วประเทศประมาณ 69% ถ้าท่านไปดูเงินฝากและ

                  หุ้น TDRI พบว่า 11 ตระกูลเท่านั้นที่ผลัดกันเป็นเจ้าของหุ้นที่มีราคาสูงสุดในตลาดหลักทรัพย์ซื้อ
                  ขายได้กำไรกี่พันกี่หมื่นกี่แสนล้านไม่ต้องเสียภาษีแม้แต่สลึงเดียว วันนี้เขาเก็บภาษีมรดกแต่เขาไม่

                  พูดถึงภาษีในตลาดทุน ผมคิดว่าต้องพูดถึงภาษีในตลาดทุน ถ้าท่านดูเงินฝาก ท่านจะเห็นว่าเงิน
                  ฝากบัดนี้ คนที่ไม่มีถึงหนึ่งล้านบาทมีอยู่ 62 ล้านราย คิดเป็น 98% ของจำนวนประชาชน
                  ทั้งหมด แต่ที่มีมากกว่าหนึ่งล้านบาท และมากกว่า 500 ล้านบาทนั้น มีจำนวนเพียงกระจุกมือ
        ปาฐกถาปิด   หยิบเดียว ถ้าท่านรวมให้ดี ท่านจะเห็นได้ว่าเงินฝากกว่าครึ่งหนึ่งของระบบธนาคารพาณิชย์ใน


                  ประเทศไทยนั้น อยู่ในมือของคน 20% ด้านบนเท่านั้น นี่คือเหตุข้อที่ 2 เป็นที่มาของสิ่งที่เรียกว่า

                  ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ-สังคม และเป็นที่มาของพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   694   695   696   697   698   699   700   701   702   703   704