Page 697 - kpi17073
P. 697
696 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ท่านที่เคารพ เรามาถึงช่วงสุดท้ายของการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 เรื่อง
8 ทศวรรษการเมืองไทย พลวัตแห่งดุลอำนาจ ในการสรุปครั้งนี้ ผมจะไม่กล่าวสิ่งซึ่งกลุ่มย่อย
ทั้งหลายได้สรุปให้ท่านฟังไปแล้ว ตั้งแต่สิบสามนาฬิกาจนกระทั่งถึงเวลาสิบห้านาฬิกาเศษ และ
มีหนังสือพิมพ์บางเล่มเอาไปพาดหัวแล้วว่า สถาบันพระปกเกล้าเสนอให้มีคณะอภิรัฐมนตรีขึ้นมา
ควบคุมคณะรัฐมนตรี สภา และศาล ต้องขอแจ้ง ณ ที่นี้ว่า นี่เป็นข้อเสนอของ ดร.สุรพล
คนเดียว ขีดเส้นใต้คนเดียวเลย ไม่ใช่ของกลุ่มด้วยซ้ำไป
วันนี้ผมขออนุญาตปาฐกถาปิดด้วยประเด็น 3 ประเด็น ประเด็นที่ 1 ผมจะนำเสนอ
เรื่องพัฒนาการของดุลแห่งอำนาจในการการเมืองไทย แล้วประเด็นที่ 2 จะนำเสนอเรื่องการเสีย
สมดุลแห่งอำนาจ ปัญหาของมันและสาเหตุ และท้ายที่สุดจะนำเสนอเรื่อง ทางแก้ด้วยการสร้าง
ดุลแห่งอำนาจขึ้นมาใหม่ในสังคมไทย
ในประเด็นเรื่องพัฒนาการของดุลแห่งอำนาจนั้น 82 ปีประชาธิปไตยไทย ซึ่งน่าจะเริ่มตั้งแต่
24 มิถุนายน 2475 วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศนี้มีคณะรัฐมนตรีมากถึง 61 คณะ
มีนายกรัฐมนตรีถึง 29 คน มีการรัฐประหารที่สำเร็จ 13 ครั้ง มีการทำรัฐประหารที่ไม่สำเร็จ
(กบฏ) 11 ครั้ง เรามีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 19 ฉบับ กำลังจะมีฉบับที่ 20 ซึ่งจะมีจำนวนเท่ากับ
เอกวาดอร์ เอกวาดอร์ก็มี 20 ฉบับ ดังตารางที่อยู่ข้างบน แต่เรายังโชคดีที่ไม่ทำลายสถิติโลก
ซึ่งครองโดยสาธารณรัฐโดมินิกันซึ่งมี 38 ฉบับ เวเนซูเอลามี 26 ฉบับ เฮติมี 24 ฉบับ ในยุโรป
เอง ฝรั่งเศสซึ่งมีการปฏิวัติใหญ่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1789 มาถึงปี ค.ศ. 2014 มีรัฐธรรมนูญมากที่สุด
ในยุโรป 16 ฉบับ โปแลนด์มี 10 ฉบับ แล้วกรีซมี 13 ฉบับ ตลอดเวลาแห่ง 8 ทศวรรษเศษนี้
ดุลอำนาจเปลี่ยนแปลงตลอด ในปี พ.ศ. 2475 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองถึงปี 2477
อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัตินั้น ดุลแห่งอำนาจอยู่ที่การ
ปรับสัมพันธ์ระหว่างคณะเจ้ากับคณะราษฎรซึ่งเป็นผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง จบลงด้วยการที่
คณะเจ้า คือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ แล้วก็มีการอัญเชิญสมเด็จ
พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นเสวยราชย์เมื่อยังทรง
พระเยาว์ ครั้นมาปี 2481 ถึง 2495 ก็เกิดความขัดแย้งกันในดุลแห่งอำนาจระหว่างคณะราษฎร
สายทหาร ซึ่งนำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม แล้วต่อมาก็ได้รับการสนับสนุนโดยสายราชครูที่มี
จอมพล ผิน ชุณหะวัณ และ เผ่า ศรียานนท์ กับคณะราษฎรสายพลเรือน ที่มี ดร. ปรีดี พนม
ยงค์เป็นผู้นำ จบลงตรงกบฏวังหลวง อาจารย์ ดร. ปรีดี ก็ต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศจนกระทั่งไป
มรณกรรมที่ฝรั่งเศส ก็เริ่มดุลแห่งอำนาจใหม่ระหว่างข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือน
ในปี 2500 ถึง 2516 เมื่อ จอมพล สฤษดิ์ ยึดอำนาจจากจอมพล ป. นั้น ก็ได้อาศัยข้าราชการ
พลเรือนคนสำคัญ อย่าง ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ นายสุนทร หงส์ลดารมย์ นายพจน์ สารสิน เป็นต้น
เข้ามาวางระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศใหม่ เริ่มตั้งแต่การตั้งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติและมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีการตั้งกระทรวงพัฒนาแห่ง
ชาติขึ้นมา มีการตั้งหน่วยงานสำคัญหลายหน่วย เช่น สำนักงบประมาณ เป็นต้น เราก็ผ่านยุคนั้น
ปาฐกถาปิด มา เมื่ออำนาจที่เป็นดุลระหว่างข้าราชการทหารและพลเรือนก็เข้ามาสู่ ยุค 2516 ถึง 2540 เป็น
ยุคที่เรียกว่า มีดุลแห่งอำนาจเกิดขึ้นสามเส้า คือ ดุลแห่งอำนาจระหว่างข้าราชการทหารและ
พลเรือนฝ่ายหนึ่ง พรรคการเมืองและนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเมื่อไร