Page 692 - kpi17073
P. 692

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   691


                      เป็นสิ่งที่งานวิชาการควรจะเข้ามาสนับสนุนในเรื่องของการออกแบบติดตามในเรื่องของการ
                      กระจายอำนาจ ประเด็นต่อมา คือ มีเรื่องของการกระจายอำนาจในสังคมไทยที่มักเป็นประเด็น

                      แบบขั้วตรงกันข้าม เมื่อสมัยหนึ่ง ก่อนที่เราจะมีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 เราก็บอกว่า
                      จะต้องกระจายอำนาจ พอเรามีการกระจายอำนาจ เรามีปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น วันนี้สังคม
                      บอกว่า ต้องกลับไปรวมศูนย์อำนาจ ฉะนั้นข้อถกเถียงในประเทศไทย อาจจะต้องอย่าพยายาม

                      มองในขั้วตรงกันข้ามกัน เราก็ต้องยอมรับว่า ประเทศไทยเองมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
                      เศรษฐกิจ การเมืองมาอย่างยาวนาน เราอยู่ในความคิดของระบบรัฐสมัยใหม่ ฉะนั้นการคิด

                      เกี่ยวกับเรื่องของการปฏิรูปการกระจายอำนาจและการออกแบบการปกครองท้องถิ่น ก็ต้องคำนึง
                      ถึงความเป็นรัฐสมัยใหม่ด้วย ในมิตินี้ ข้อเสนอคือเราไม่จำเป็นต้องมองให้แบ่งเป็นสองขั้ว
                      การออกแบบในนานาชาติ หรือประเทศต่างๆ เรื่องของการรวมศูนย์อำนาจกับเรื่องของการ

                      กระจายอำนาจสามารถอยู่ร่วมกันได้ นอกจากนั้น หัวใจสำคัญอยู่ที่เรื่องของการจัดสัมพันธภาพ
                      ระหว่างองค์กรรวมศูนย์กับการกระจายอำนาจต่างหาก แล้วต้องมีความชัดเจนว่า เราจะรวม

                      ศูนย์อำนาจกันเรื่องอะไร และเรื่องอะไรประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีการกระจายอำนาจ

                            ส่วนนักวิชาการท่านสุดท้าย จะมองในเรื่องของผลเชิงประจักษ์ว่า หากประเทศไทยให้ความ

                      สำคัญกับการเสริมสร้างประชาธิปไตยอย่างแท้จริงแล้ว คงไม่ใช่เรื่องของการเสริมสร้างสถาบัน
                      แต่เป็นเรื่องของการเสริมสร้างวิถีชีวิตประชาธิปไตย มีนักวิชาการกล่าวว่า ถ้าการเมืองระดับชาติ

                      บอกกันว่า การเป็นประชาธิปไตย คือไปคูหาเลือกตั้ง 3 วินาที แต่การเมืองท้องถิ่นนั้นเป็น
                      ประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง แล้วข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ผ่านมาในช่วงระยะเวลาสิบกว่าปีที่เรา
                      ออกแบบการกระจายอำนาจ มีกลไกการเลือกตั้ง มีการถอดถอนนักการเมืองท้องถิ่น มีการเปิด

                      โอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม สิ่งนี้พิสูจน์ว่าประชาชนสามารถที่จะเลือกผู้แทนของตนเองได้
                      เพราะรู้ว่าผู้แทนเหล่านั้น จะเลือกไปเพื่อทำอะไรในระดับท้องถิ่น ดังนั้นคนไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง

                      ในระดับท้องถิ่นประมาณเกือบ 80% ซึ่งมากกว่าการเมืองในระดับชาติ ประชาชนสามารถจะไป
                      ขอถอดถอนนักการเมืองท้องถิ่น ซึ่งมีผลถอดถอนได้จริงแล้วโดยอำนาจของประชาชน ดังนั้น
                      เราก็มักจะพูดกันว่าสิ่งที่นักการเมืองกลัวมากที่สุด คือ กลัวเสียงของประชาชน นอกจากนั้น

                      ประชาชนก็จะถูกให้การเรียนรู้ เสริมสร้างความเป็นพลเมืองด้วยกลไกของการกระจายอำนาจและ
                      การปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อเสนอก็จะออกมาในมิติของพื้นที่ที่มีโอกาสได้ปกครองตนเอง

                      ได้จัดการปัญหาของตัวเองอย่างชัดเจน แล้วก็มองการกระจายอำนาจไม่ใช่ยาเม็ดเดียวที่จะ
                      แก้ปัญหาทุกอย่าง เป็นเรื่องที่ต้องปรับวิธีคิด เป็นเรื่องที่ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้


                            ดังนั้น คงจะเป็นข้อสรุปว่า ประการแรก การออกแบบระบบบริหารในประเทศไทยที่ผ่านมา
                      นั้น นักวิชาการได้ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยรวมศูนย์ก็เป็นปัญหา กระจายอำนาจก็ยังไม่ดี ดังนั้น

                      เวลาเราจะพูดถึงการกระจายอำนาจ ต้องกลับมาดูว่า เรามีระบบรวมศูนย์ในเรื่องอะไร ที่ผ่านมา
                      รวมศูนย์ผิดที่ผิดทาง รวมศูนย์ในเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องรวมศูนย์ แต่ในขณะในเรื่องที่ต้องรวม
                      ไม่รวมศูนย์ ยกตัวอย่างเช่น ยุทธศาสตร์ของประเทศไทย เราไม่เคยรวมศูนย์ได้ชัดเจนเลย

                      ประการที่สองคือ เรายังเห็นความจำเป็นที่จะต้องขับเคลื่อนเรื่องกระจายอำนาจต่อไป เพราะว่า             สรุปสาระสำคัญการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย
                      ผลงานเชิงประจักษ์ที่ผ่านมาในช่วงสองทศวรรษมีความชัดเจนว่า การกระจายอำนาจเข้าไป
   687   688   689   690   691   692   693   694   695   696   697