Page 691 - kpi17073
P. 691

690     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  ส่วนกลางนอกจากจะมีอำนาจที่ส่วนกลางแล้ว ยังมีแขนขากระจัดกระจายเข้าไปอยู่ในพื้นที่ด้วย
                  ทำให้การบริหารประเทศมีลักษณะที่เป็นคอขวด นอกจากนั้นวิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้นที่ศูนย์กลาง

                  มันเปรียบเสมือนกระจกบานใหญ่ เมื่อร้าวที่กระจกบานเดียว มันเหมือนประเทศไทยร้าวไปหมด
                  ทำไมเราไม่ออกแบบประเทศให้มันมีกระจกเล็กๆ เปรียบเสมือนกับการกระจายอำนาจไปตาม
                  พื้นที่ นอกจากนั้นการบริหารประเทศก็ไร้ประสิทธิภาพ ด้วยระยะทางที่ยาวไกลและความ

                  ไม่ชัดเจนถึงสภาพปัญหา ทำให้พื้นที่อ่อนแอ ขาดศักยภาพในการพัฒนาด้วย ข้อเสนอก็คือ
                  การปฏิรูปการกระจายอำนาจในอนาคตต้องกลับมาคิดเรื่องกระบวนการ เรื่องกระบวนทัศน์

                  กันใหม่ ในการบริหารประเทศ แทนที่จะให้อำนาจการตัดสินใจและงบประมาณอยู่ที่ส่วนกลาง
                  ควรจะเป็นสิ่งที่เรียกว่า สามเหลี่ยมกลับหัว เอาอำนาจ เอาทรัพยากร เอาบุคลากรในการตัดสินใจ
                  มาอยู่ที่พื้นที่ ฉะนั้นข้อเสนอหนึ่งที่มีการพูดคุยกัน คือ เรื่องการออกแบบการกระจายอำนาจโดย

                  ให้สภาพของพื้นที่เป็นตัวตั้ง อาจจะออกมาในรูปแบบของการเป็นร่างพระราชบัญญัติบริหาร
                  ปกครองตนเอง จริงๆ ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ก็มีกรอบการกระจายอำนาจที่ชัดเจน ไม่ว่าจะ

                  เป็นเรื่องแผนการกระจายอำนาจ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญต่างๆ ในเรื่องของการคุ้มครองอำนาจ
                  อิสระของท้องถิ่น ในเรื่องของการกำกับดูแลที่จำเป็น ในเรื่องการจะต้องถ่ายโอนภารกิจ ในเรื่อง
                  ของการแก้ไขกฎหมาย ปัญหาอยู่ที่ว่า ไม่ได้ขับเคลื่อนไปในทิศทางนั้นอย่างแท้จริง นอกจากนั้น

                  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากมายมีปัญหา ซึ่งวิทยากรใช้คำว่า ปัญหาเก็บกดเยอะมาก ไม่ว่าจะ
                  เป็นเรื่องของหนังสือสั่งการ เรื่องเงินอุดหนุน สิ่งต่างๆเหล่านี้ นำไปสู่ข้อเสนอว่า ต้องการเห็น

                  กรอบการกระจายอำนาจที่อาจจะมีอยู่แล้วใช้ได้ ไม่ต้องทิ้งทั้งหมด แต่ทำอย่างไรที่จะขับเคลื่อน
                  กรอบการกระจายอำนาจ ทำให้ท้องถิ่นมีอิสระอย่างแท้จริง ลดการกำกับดูแลลงไป ให้องค์กร
                  ปกครองส่วนท้องถิ่นมีงบประมาณและความสามารถ รวมทั้งศักยภาพในการที่จะแก้ปัญหาของ

                  พี่น้องประชาชนในระดับพื้นที่ได้อย่างชัดเจน


                       ในมุมของนักวิชาการ มีความคิดในเชิงของการกระจายอำนาจ โดยมองว่า เป็นเรื่องที่มี
                  ความจำเป็น ทั้งในปัญหาของประเทศไทยที่เป็นอยู่ในวันนี้ รวมถึงบริบทในโลกสมัยใหม่ จำเป็น
                  อย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องดำเนินการในเรื่องของการกระจายอำนาจให้ประชาชนสามารถจะ

                  ดูแลปัญหาในระดับของพื้นที่ได้ ท่านอาจารย์ดิเรกก็แสดงผลงานเชิงประจักษ์ตั้งแต่ช่วงปี 2540
                  เป็นต้นมา ที่เรามีการกระจายอำนาจชัดเจนขึ้น มีผลเชิงประจักษ์อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง

                  ของการลดความเหลื่อมล้ำ การเข้าถึงการบริการสาธารณะ การทำให้ประชาชนมีความกินดีอยู่ดี
                  โครงสร้างพื้นฐานกระจายอย่างทั่วไป ฉะนั้นข้อเสนอ คือ ยังมีความจำเป็น และเป็นความสำคัญ
                  ที่จะต้องกระจายอำนาจต่อไป แต่หัวใจจะอยู่ที่เรื่องของการกระจายอำนาจในเรื่องของภาษี
        สรุปสาระสำคัญการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย
                  อาจารย์ดิเรกกล่าวว่า เรามีการกระจายอำนาจ แต่เราไม่ได้กระจายอำนาจในเรื่องของภาษี ไม่ได้ดู
                  ในเรื่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ผ่านมาเวลาเราจัดสรรงบประมาณ เงินอุดหนุนให้กับ

                  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ขาดหลักและบางครั้งไม่ได้ใช้พื้นฐานของความรู้ นำไปสู่การศึกษา
                  ติดตามว่า เงินอุดหนุนนั้นมันส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมในระดับพื้นที่มากน้อยเพียงใด
                  ยกตัวอย่างเช่น วันนี้เงินอุดหนุนนำไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจเฉลี่ยแค่ประมาณ 2,000 บาท

                  ต่อหัวประชากร ในขณะที่ระดับเทศบาลอาจจะอยู่ที่ 4,000 บาทต่อหัวประชากร ฉะนั้น หลักคิด
                  อาจจะดูดี แต่เวลาลงไปถึงระดับพื้นที่ อาจจะทำให้เกิดความแตกต่างในระดับพื้นที่ด้วย สิ่งเหล่านี้
   686   687   688   689   690   691   692   693   694   695   696