Page 686 - kpi17073
P. 686

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   685


                      การทุจริต มีวัฒนธรรมที่เรียกว่า อธรรมาภิบาล คือ ทำอะไรก็ต้องปกปิดเป็นหลัก เพราะฉะนั้น
                      สิ่งที่พบเห็นกันโดยทั่วไปก็คือ ไม่จริงใจ และลงโทษไม่จริง เหมือนจะลงโทษ แต่จริงๆ แล้วก็ไม่

                      ลงโทษ จับก็ไม่ได้ ไล่ก็ไม่ทัน กล้าเสี่ยงที่จะกระทำการทุจริต เพราะรู้ว่าตรวจสอบยาก หรือ
                      แม้กระทั่งทำคดีให้ล่าช้า เป็นเรื่องเป็นราวในศาลก็ช้าเหลือเกินกว่าจะเสร็จสิ้น รวมทั้งถ้าประชาชน
                      จะไปฟ้องร้องบางครั้งเขาบอกว่า ไม่ใช่ผู้เสียหายก็เริ่มคดีเองไม่ได้ นี่ก็เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง รวมทั้ง

                      ผู้ที่บอกว่าเป็นผู้เสียหาย คือหน่วยงานนั้นๆ ก็ไม่ยอมฟ้องคดี เพราะส่วนหนึ่ง ผู้บริหารใน
                      หน่วยงานนั้นก็เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีนั้นเสียเอง นอกจากนี้เราก็จะพบพฤติกรรมเรื่องของเป็น

                      นักคิดหาวิธีโกง เช่น พอจะมีการปรับเรื่องของภาษีขึ้นมาก็จะมีนักคิดขึ้นมาว่าเราจะไม่ต้อง
                      เสียภาษีได้อย่างไร เรื่องของมักง่าย เอื้อประโยชน์ก็เยอะ รวมทั้งแสวงหาอำนาจ หรือเรื่องของทำ
                      ระเบียบให้ไม่ชัดเจนก็เยอะ อันนี้เป็นพฤติกรรมโดยทั่วไปที่เราเจอ รวมทั้งมีแนวคิดอีกแบบหนึ่ง

                      ซึ่งท่านอาจารย์จุรีก็บอกว่า เรื่องของงบประมาณก็เป็นส่วนหนึ่งที่อาจารย์ได้เสนอว่า งบประมาณ
                      บ้านเรามักจะเป็นรูปแบบแท่งไอศกรีม ก็คือให้ไปเยอะ แต่ไปถึงประชาชนน้อย นี่ก็เป็นเรื่องที่เรา

                      พอจะเข้าใจกันอยู่ สะท้อนถึงเรื่องของการไม่มีศีลธรรม เพราะเรายังยอมรับเรื่องของการทุจริต
                      รวมทั้งเรื่องของการอุปถัมภ์ครอบงำ รวมทั้งมีพฤติกรรมอย่างหนึ่งก็คือ กตัญญูแบบไร้สติ ซึ่งเป็น
                      คำที่วิทยากรในกลุ่มของเราใช้กัน คือตอบแทนผู้มีอุปการะคุณ โดยไม่ได้ดูว่าผิดว่าถูก รวมทั้ง

                      มีการครอบงำทางสังคม และหาช่องทางให้ตัวเองได้ผลประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรมทั้งสิ้น


                            เมื่อเป็นเช่นนี้ มีคำถามว่า หน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบได้ทำหน้าที่ดีเพียงไร การศึกษา
                      ของสถาบันพระปกเกล้าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาในเรื่องของความเชื่อมั่นต่อองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่
                      ตรวจสอบก็พบว่า ไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย หน่วยงานเหล่านี้ก็ยังคงทำงานเช่นเดิม คือไม่สามารถที่จะเอา

                      คนผิดมาลงโทษได้เป็นเรื่องเป็นราว เอามาลงโทษได้บ้างแต่เป็นส่วนน้อย ก็เลยทำให้แนวโน้ม
                      ของกราฟนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งการพบทุจริตด้วยตนเองก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น มันดูเหมือนว่า

                      จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

                            เพราะฉะนั้นจะหาทางออกได้อย่างไร เราก็เลยคิดกันว่า ถ้าจะต้องตรวจสอบถ่วงดุล

                      ให้เกิดขึ้น เราจะต้องแก้ปัญหาการทุจริตโดยใช้การถ่วงดุลอำนาจขององค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
                      ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน องค์อิสระ หน่วยงานราชการ สื่อมวลชน หรือแม้กระทั่งประชาชน

                      ทั่วไปก็ต้องเกี่ยวข้อง

                            นักการเมืองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีเพราะเป็นตัวแบบที่สำคัญ ต้องทำให้เป็นที่ประจักษ์

                      อย่าทำตรงข้ามกับที่พูดหรือตรงข้ามกับที่หาเสียงไว้ และที่สำคัญเจตจำนงทางการเมืองที่จะทำเพื่อ
                      ประโยชน์ของชาติมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือปฏิบัติตาม

                      มาตรฐานทางจริยธรรม นอกจากนี้มีข้อเสนอว่า พรรคการเมืองจะต้องดูแลสมาชิกของพรรค
                      จะต้องรับรองพฤติกรรมของลูกพรรค มีกองทุน สนับสนุนการติดตามพรรคการเมืองและติดตาม
                      สมาชิกของพรรคการเมืองด้วย เพราะฉะนั้นเป็นความรับผิดชอบของพรรคที่จะต้องส่งคนดีมาเป็น

                      ผู้แทน                                                                                             สรุปสาระสำคัญการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย


                            ส่วนหน่วยงานราชการ หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้นำ จะต้องมีความรับผิดชอบ เป็นหลัก
                      ในการต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่ไปเอื้อประโยชน์ร่วมกับนักการเมืองทำการทุจริต รวมทั้งป้องกัน
   681   682   683   684   685   686   687   688   689   690   691