Page 683 - kpi17073
P. 683
682 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
จะกลับมาใหม่ เมื่อใดรัฐธรรมนูญคลอด การเลือกตั้งก็จะกลับมาเหมือนเดิม เป็นต้น ปลัด
จะบอกว่า แล้วแต่ฝ่ายการเมือง คือรัฐมนตรีหรือที่ปรึกษารัฐมนตรีที่ยุคการเมืองมีอำนาจมาก
ปลัดก็จะไม่มีสิทธิ์ไม่มีเสียง ไม่เหมือนยุคนี้ที่ปลัดมีสิทธิ์มีเสียงเยอะ จึงแตกต่างกัน เพราะฉะนั้น
ก็จะฟังเฉพาะนักการเมือง หรือที่ปรึกษาของรัฐมนตรี ข้าราชการในจังหวัดเองก็จะฟังเสียงของ
ส.ส. ในรัฐบาลว่าจะให้ทำอะไรบ้าง นักการเมืองก็จะชี้นำในพื้นที่ด้วย รวมไปถึงอาจจะนำไปสู่การ
ทุจริต ประพฤติมิชอบ ทำให้ระบบต่างๆ มันแกว่งไปได้ เนื่องจากว่าเข้ามาล่วงล้ำและเข้ามาดูแล
อะไรต่างๆพวกนี้มากจนเกินไป
ในส่วนที่ท่านจาดุรได้ให้ข้อคิดนั้น ในโจทย์ตั้งต้นคือ เราจะทำอย่างไรให้เกิดดุลอำนาจ
ระหว่างฝ่ายการเมืองกับข้าราชการประจำที่จะป้องกันการก้าวก่ายแทรกแซงในการทำงานของฝ่าย
ข้าราชการประจำ ไม่ให้กลายเป็นการเมืองล้นไปได้ และในขณะเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่า
จะให้อำนาจของฝ่ายประจำมีมาก จนฝ่ายการเมืองไม่สามารถที่จะผลักดัน กำหนดนโยบายต่างๆ
ที่เขาต้องการให้ไปเกิดในสิ่งที่เขาคาดหวังเอาไว้ได้ แต่ว่าในโลกประชาธิปไตยนั้นก็ไม่สามารถ
ปฏิเสธได้ว่า อำนาจของฝ่ายการเมืองจะมีมาก และการแก้ปัญหาจึงไม่ควรมุ่งไปที่การเพิ่มหรือ
ลดอำนาจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่ก็ได้พูดถึงว่า ทำอย่างไรจะจัดสรรอำนาจและ
ความสัมพันธ์ให้เกิดสมดุลทั้งสองฝ่าย ทั้งข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำ ส่วนข้อเสนอ
แนะของท่านวิทยากรก็คือ ควรจะสร้างกลไกการบริหารงานบุคคล เพื่อไม่ให้การเมืองเข้ามา
ก้าวก่ายตรงนี้มากเกินไป และให้อำนาจฝ่ายการเมืองบนพื้นฐานของความโปร่งใส พูดง่ายๆ ว่า
มีกฎระเบียบอะไรที่ชัดเจน เวลาจะพิจารณาตำแหน่งแห่งที่ให้คนได้เลื่อนขั้นต่างๆ ก็ทำตามขั้น
ตอนชัดเจน ก็เป็นหลักของธรรมาภิบาล และมีการป้องกันและคุ้มครองสิทธิของฝ่ายข้าราชการ
ประจำ เพื่อให้ข้าราชการประจำไม่ถูกทำลายสิทธิต่างๆ ที่พึงมีของตนเอง แล้วเน้นให้อำนาจ
ทั้งสองสามารถอยู่ด้วยกันได้ในเชิงภาระหน้าที่ ไม่ใช่เชิงเกื้อกูลกัน รับผลประโยชน์ร่วมกัน และ
ก็มุ่งไปสู่สิ่งที่อาจจะเกิดเป็นความเสียหายของประเทศชาติ เช่น การทุจริตคอรัปชั่นต่อไปด้วย
ในส่วนของข้อเสนออีกประการก็คือ ระบบราชการจะอยู่ได้ต้องมีระบบคุณธรรม ทั้งสามท่านก็จะ
พูดในลักษณะที่คล้ายๆ กัน ต้องมีระบบความเป็นกลางทางการเมืองที่เป็น Merit System เป็น
กลไกให้แยกกันแต่ก็สัมพันธ์ไปด้วยกัน หมายถึงว่าทำงานไปด้วยกันได้ และมีระบบกลไกในการ
ใช้อำนาจ เพื่อป้องกันไม่ให้ทั้งสองฝ่ายแทรกแซงระหว่างกัน ไม่ใช่เฉพาะการเมืองแทรกแซง
ข้าราชการประจำ ข้าราชการประจำก็ไปแทรกแซงข้าราชการการเมืองด้วยเช่นเดียวกัน เพราะ
ฉะนั้นก็ต้องอุดช่องว่างไม่ให้เกิดการใช้อำนาจที่จะแทรกแซง และก็ดุลอำนาจระหว่างฝ่าย
ข้าราชการประจำกับฝ่ายการเมืองที่ควรจะเป็นสองฝ่ายที่ต้องทำงานร่วมกัน และให้เกิดผลลัพธ์
สรุปสาระสำคัญการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย
ในการทำงาน และมีความยั่งยืน แต่ต้องไม่ก้าวก่ายล้ำเส้นและช่วงชิงระหว่างกันในการชิงอำนาจ
ท่านอาจารย์ศุภสวัสดิ์ในฐานะของนักรัฐศาสตร์ก็มองว่า ฝ่ายการเมืองจะแทรกแซงฝ่าย
ข้าราชประจำให้ทำตามที่เขาต้องการ ถ้าเผื่อไม่ทำก็จะถูกกำจัดหรือจัดการโดยการโยกย้าย
ในโลกประชาธิปไตยก็ปฏิเสธยากที่จะไม่ให้การเมืองเข้ามามีอำนาจในส่วนนี้ แต่ก็ไม่อยากให้มอง
ทั้งสองฝ่ายเป็นพระและมารในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไปในบริบท และอยากจะให้หาจุดจบพอดีของ
ทั้งสองฝ่ายว่าจะอยู่ที่ใด เพื่อที่จะบริหารราชการแผ่นดินไปได้ ในกรณีของสหรัฐอเมริกา หากเป็น