Page 681 - kpi17073
P. 681
680 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
เขาก็ต้องเปิดให้เสียงส่วนน้อยในสภานี่ละเป็นตัวช่วยในการเอาเรื่องที่มหาชนไม่เห็นด้วยกับร่าง
กฎหมายที่เสียงข้างมากในสภาผ่าน ไปขอการลงประชามติจากประชาชนได้ มีตัวอย่างบาง
ประเทศที่จะมานำเสนอเพื่อให้เห็นแนวทาง เช่น ในประเทศเดนมาร์ก เขาถือว่าการลงประชามติ
เป็นการคุ้มครองเสียงส่วนน้อย โดยกำหนดว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สามารถนำ
ร่างกฎหมายที่ฝ่ายเสียงข้างมากในสภาผ่านไปขอลงประชามติได้ แต่มีหมายเหตุนิดหนึ่งว่า
เดนมาร์กใช้ระบบสภาเดี่ยว ซึ่งก็อาจจะมีคนท้วงว่า ก็เพราะเขาใช้สภาเดี่ยวเขาจึงต้องใช้เครื่องมือนี้
แต่ของเรามีสภาที่สอง จึงอาจจะไม่จำเป็นก็ได้ ก็จะขอยกตัวอย่างประเทศที่มีสองสภา เราพบว่า
ในประเทศที่มีสองสภา หรือเป็นระบบสภาคู่ เขาจะใช้เครื่องมือนี้ในกรณีที่ค่อนข้างจำกัด เช่น
อิตาลี สเปน ออสเตรเลีย จะใช้เฉพาะในกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น ฝรั่งเศสใช้ในกรณีที่จำกัด
เช่นเดียวกัน แต่มีเงื่อนไขเพิ่มขึ้นมา คือ ส.ส. 1 ใน 5 เข้าชื่อกันไม่พอ ต้องให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอีก
1 ใน 10 ลงชื่อรับรองด้วย เพื่อยืนยันว่ามันเป็นประเด็นที่คนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยจริงๆ จึงจะมี
ความหมายพอที่จะนำไปลงประชามติ ดังนั้นจากประสบการณ์ต่างประเทศที่กล่าวแล้ว ก็มี
ข้อเสนอว่า แนวทางที่ต้องปรับปรุงสำหรับประเทศไทยคือ อาจจะต้องใช้หลักการนี้เข้าไปช่วยให้
เสียงข้างน้อยสามารถขอให้มีการลงประชามติได้ แต่อาจต้องให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งรับรองคล้ายๆ
ฝรั่งเศส แต่จำนวน 1 ใน 10 (4,000,000 ชื่อ) อาจจะมากเกินไปสำหรับเมืองไทยหรือไม่ ก็ต้อง
พิจารณากันดู ข้อเสนอข้อที่สองก็คือ อาจจะต้องจำกัดประเด็นที่ไม่สามารถนำไปขอประชามติได้
เช่น เรื่องของการเงินการคลัง การภาษี หลายประเทศก็กำหนดอย่างนั้นว่าห้ามนำไปขอประชามติ
ประการสุดท้ายก็คือ ถ้านำไปใช้กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเราเชื่อว่าเราน่าจะยังมีศาล
รัฐธรรมนูญต่อไปในรัฐธรรมนูญใหม่ ก็จำเป็นต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินก่อน ถ้าไม่เห็นด้วย
จึงค่อยนำไปลงประชามติ
ข้อเสนอเพิ่มเติมจากผู้เข้าร่วมสัมมนา มีดังนี้ หนึ่ง การคุ้มครองความเป็นอิสระของ ส.ส.
และการคุ้มครองเสียงข้างน้อยในสภา เป็นสิ่งที่ควรจะดำเนินการ แต่สิ่งสำคัญก็คือ จะต้องมีการ
สร้างให้กลายเป็นวาระแห่งชาติ และให้เกิดการยอมรับและการนำไปปฏิบัติ ยกตัวอย่างเช่น
ระบบเลือกตั้งขั้นต้น ถ้าพรรคการเมืองไม่นำไปปฏิบัติ แม้ว่าจะบังคับไปก็คงจะไม่ได้รับผลตอบ
สนองเท่าที่ควร สอง สิ่งที่คิดกันในกลุ่มย่อยที่ 2 นี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำไปวิเคราะห์ร่วมกับ
กลุ่มย่อยอื่นๆ ด้วย เพราะเราตอบโจทย์เพียงดุลอำนาจภายในตัวรัฐสภาอย่างเดียว ยังมีดุลอำนาจ
ระหว่างกลไกอำนาจต่างๆ ดุลอำนาจระหว่างฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ ดุลอำนาจ
ระหว่างศูนย์กลางอำนาจกับการกระจายอำนาจระดับท้องถิ่น และดุลอำนาจระหว่างประชาชนกับ
ผู้แทนประชาชน นั่นคือมีภาพที่ใหญ่กว่าที่เราคิด ดังนั้นต้องนำสิ่งที่เราคิดในกลุ่มย่อยนี้และกลุ่ม
สรุปสาระสำคัญการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย
ย่อยอื่นๆ ไปพิจารณาร่วมกัน สาม ต้องมีการสร้างการยอมรับของกระบวนการแก้ไข ผลักดัน
โดยเฉพาะการร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงข้อเสนอต่างๆ ถ้าทำให้ชัดเจนและทำให้เป็นผลได้จริง ก็จะ
มีส่วนช่วยในการฟื้นฟูเกียรติภูมิของผู้แทนปวงชนชาวไทยซึ่งตกเป็นจำเลยมาโดยตลอด เพราะ
หลายคนพูดว่าส่วนใหญ่ก็มักจะโทษไปที่ผู้แทนปวงชน สุดท้าย การปฏิรูปโดยการสร้างดุลอำนาจ
ควรกระทำควบคู่ไปกับการปฏิรูปคน พัฒนาคนควบคู่กันไปด้วย ซึ่งจะสอดคล้องกับกลุ่มย่อยที่ 5
ว่าด้วยดุลยภาพระหว่างสถาบันการเมืองกับการเมืองภาคพลเมือง จึงต้องพิจารณาว่าเราจะหลอม
รวมข้อเสนอของกลุ่มย่อยที่ 2 กับ 5 เข้าด้วยกันได้อย่างไร