Page 680 - kpi17073
P. 680

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   679


                            จากสภาพปัญหาที่กล่าวแล้วจึงนำไปสู่ข้อเสนอว่า จะทำอย่างไรให้ ส.ส. มีอิสระมากขึ้น
                      ในการตัดสินใจหรือการทำงานในสภา ข้อเสนอข้อที่ 1 คือ ให้คงเรื่อง ส.ส. มีอิสระจากมติพรรค

                      ไว้ใน 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่ การตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย และการลงมติไม่ไว้วางใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่
                      รัฐธรรมนูญ 2550 บัญญัติไว้ แต่สามเรื่องนี้ยังไม่พอ งานวิจัยจากการสำรวจประสบการณ์จาก
                      ต่างประเทศพบว่า ในต่างประเทศ ส.ส. มีอิสระมากกว่านั้น โดยเฉพาะในประเด็นที่ตอนนี้โลกมี

                      การเปลี่ยนแปลงไปมาก ประเด็นที่มีความอ่อนไหว กระทบต่อวัฒนธรรมความดีงามของสังคม
                      แม้ว่าจะเป็นคนกลุ่มไม่ใหญ่ ก็ควรให้ ส.ส. มีอิสระในการตัดสินใจด้วยตนเองโดยไม่ต้องคำนึงถึง

                      มติพรรค และพรรคไม่สามารถนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการลงโทษ ส.ส. ได้ ยกตัวอย่างเช่น

                                 ๏ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ความตาย ประเด็นที่อ่อนไหวมากในความรู้สึก

                                    ประชาชน
                                 ๏ ประเด็นเรื่องศีลธรรมและความเชื่อทางสังคมซึ่งจะแตกต่างกันไปในสังคมย่อยๆ

                                    ของสังคมใหญ่
                                 ๏ ประเด็นทางวิทยาศาสตร์ อย่างเช่น การให้กำเนิด การผสมพันธุ์
                                 ๏ ประเด็นที่เป็นการคุ้มครองเอกสิทธิ์และการทำหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


                            นอกจากนี้การเปิดประเด็นอภิปรายนโยบายสาธารณะที่กระทบกับพื้นที่ของ ส.ส. ส.ส.

                      ควรจะได้รับโอกาสจากพรรคในการที่จะเห็นต่าง ในกรณีที่รัฐบาลหรือเสียงส่วนใหญ่ในสภา
                      ต้องการผลักดันนโยบายที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่ของ ส.ส. คนนั้น น่าจะมี
                      สิทธิ์โต้แย้งได้


                            ที่สำคัญก็คือ ที่ผ่านมาเราพบว่า ทางกฎหมายเราคุ้มครองได้ แต่ในทางปฏิบัติเราพบว่า

                      พรรคก็ใช้วิธีการง่ายๆ ก็คือ ถ้า ส.ส.ไม่ทำตามมติพรรค กฎหมายห้ามลงโทษไล่ออกจากพรรค
                      พรรคก็ใช้วิธีครั้งหน้าไม่ส่งลงสมัคร ดังนั้นข้อเสนอของเราก็คือ หากต้องการคุ้มครองความเป็น
                      อิสระของ ส.ส. อาจจะต้องนำเรื่องการเลือกตั้งขั้นต้น หรือ primary election มาใช้ ถ้ากรณีที่

                      การเลือกตั้งขั้นต้นถูกกีดกันอีก อาจจะต้องถึงขั้นว่า ถ้าเรายังบังคับให้ ส.ส. ต้องสังกัด
                      พรรคการเมืองเท่านั้นจึงจะลงสมัครรับเลือกตั้งได้ อาจจะต้องยกเว้นสำหรับ ส.ส. ที่ลงมติสวนกับ

                      มติพรรค และถูกดำเนินการบางอย่างอย่างไม่เป็นธรรม ให้สามารถเป็นผู้สมัครอิสระได้เฉพาะราย
                      เพียงครั้งเดียวในการเลือกตั้งครั้งใดครั้งหนึ่ง


                            5) เครื่องมือใหม่ๆ ที่จะมาช่วยให้การทำงานของรัฐสภาสามารถตรวจสอบถ่วงดุลกับ
                      ฝ่ายอื่นๆ ได้มากขึ้น เรื่องนี้เป็นเรื่องซึ่งค่อนข้างใหม่ในแง่ของระบบรัฐสภา ปกติเราคุ้นเคยกับคำว่า

                      ประชามติ แต่ประชามติของเราที่ใช้มาปกติจะเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารในการไปปรึกษาหารือ
                      กับประชาชน ขอความชอบธรรมในการดำเนินการบางอย่างจากประชาชน แต่เครื่องมือที่เราจะนำ

                      เสนอนี้ อาจารย์ชมพูนุช ตั้งถาวร ได้ศึกษาวิจัยจากประสบการณ์ต่างประเทศ พบว่า ในบาง
                      ประเทศก็มีเครื่องมือที่เรียกว่าประชามติให้กับตัวรัฐสภาได้เหมือนกัน อาจารย์ชมพูนุชตั้งคำถาม
                      ได้น่าสนใจและท้าทาย เนื่องจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2556 ถึงต้นปี 2557                 สรุปสาระสำคัญการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย

                      ถ้าสมมติว่าสภาทำการผ่านร่างกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของคนมหาศาลในสังคม
                      เรามีทางทำอย่างอื่นไหม นอกจากการออกมาเดินขบวนคัดค้าน คำถามของอาจารย์ชมพูนุชก็คือว่า
   675   676   677   678   679   680   681   682   683   684   685