Page 684 - kpi17073
P. 684
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 683
ตำแหน่งข้าราชการระดับสูงที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ เขาจะแต่งตั้งโดย
ฝ่ายการเมือง และอันสุดท้ายของในส่วนนี้ก็คือ ฝ่ายประจำก็จะมีขั้นตอนกระบวนการในการ
ทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ฝ่ายการเมืองซึ่งมีหน้าที่ลงนามก็ไม่ควรที่จะบ่ายเบี่ยง หมายความ
ว่าถ้าเผื่อไม่ได้ผลประโยชน์ตามที่ตนเองต้องการ ก็สามารถบ่ายเบี่ยงได้ เพราะฉะนั้นต้องทำระบบ
กระบวนการทำงานให้มีความชัดเจน และอาจารย์ได้เสนอในกรณีศึกษาของญี่ปุ่นว่านายกรัฐมนตรี
และเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นข้าราชการการเมือง เริ่มมีการปรับให้มีอำนาจในการแต่งตั้ง
ข้าราชการระดับสูงด้วยตัวเองได้ และข้อเสนออีกประการก็คือว่า ต้องไม่ปฏิเสธอำนาจของฝ่าย
การเมือง การใช้อำนาจต้องเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย และไม่เอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อันที่สาม
ก็คือ การแต่งตั้งบุคคลต้องโปร่งใสมีการใช้ดุลยพินิจให้น้อยที่สุด และข้อที่สี่คือ ต้องคิดถึงกลไก
ของการคุ้มครองสิทธิของข้าราชการประจำ ทั้งสี่ข้อเป็นฐานคิดที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็น
รูปธรรมในการทำงานต่อไป นอกจากนั้นอาจารย์ก็ได้เสนอว่า อำนาจในการแต่งตั้งข้าราชการ
ประจำระดับสูง ต้องให้ฝ่ายการเมืองมีอำนาจชัดเจนว่าทำได้เพียงใด มีกรอบและขอบเขตในการ
แต่งตั้งอย่างชัดเจนทั้งหมด เช่น ให้มีบัญชีรายชื่อว่าใครมีคุณสมบัติครบที่จะเป็น Candidate
ในส่วนนี้ที่จะได้รับการแต่งตั้ง และก็มีเกณฑ์อย่างไรก็ให้พิจารณาไปตามเกณฑ์นั้น
ในการโยกย้ายก็กำหนดไว้ว่า เมื่อแต่งตั้งไปแล้วไม่สามารถโยกย้ายได้ก่อนครบ 2 ปี ซึ่งจะมี
เงื่อนไขว่า ฝ่ายการเมืองสามารถที่จะย้ายได้ก่อนครบ 2 ปี แต่ต้องประกาศเหตุผลที่ชัดเจนต่อ
สาธารณะว่าที่ต้องย้ายเพราะมีความจำเป็นอย่างไร และในข้อสุดท้ายตรงนี้ คือมีการคุ้มครอง
ข้าราชการในกรณีการโยกย้ายต่างๆ ซึ่งอาจารย์ก็ได้เสนอว่า อาจจะมีการตั้งสมาคมข้าราชการ
พลเรือนต่างๆ สหพันธ์ต่างๆ เพื่อให้มีอำนาจในการต่อรอง
ส่วนอาจารย์เชาวนะ เป็นฝ่ายใช้กฎหมายและความยุติธรรม ก็มองเช่นเดียวกัน คือมองว่า
ความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายไม่ลงตัว หลายประเทศกำลังแสวงหารูปแบบความสัมพันธ์
ที่พึงประสงค์ว่าจะอยู่ร่วมกันแบบไหน และต้องยอมรับว่าการอยู่ร่วมกันของทั้งสองอำนาจ ในเชิง
ภาระหน้าที่ น่าจะดูตรงนี้เป็นหลัก ว่าจะทำอย่างไรให้เกื้อกูลต่อกัน และสามารถที่จะไม่ทำให้เกิด
ความเสียหายต่อการบริหารราชการแผ่นดินได้ และธรรมชาติของทั้งสองฝ่ายนั้นข้าราชการ
การเมืองก็เหมือนคนนำทาง ฝ่ายข้าราชการประจำเหมือนคนขับรถ ทั้งสองจะทำแทนกันไม่ได้เลย
แต่ความจริงที่เกิดขึ้นก็คือ บางทีฝ่ายหนึ่งก็ไปทำหน้าที่ฝ่ายหนึ่ง คือคนนำทางแทนที่จะนำทาง
ชี้ทางไป ก็กลับไปนั่งขับรถเสียเอง คนขับรถก็มาชี้ทางเสียเอง อย่างนี้เป็นต้น และมิติของอำนาจ
จะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือบริหารแบบการเมืองนำ บริหารแบบราชการนำ และบริหารแบบ
กึ่งการเมืองกึ่งข้าราชการ นี่ก็เป็นข้อเสนอของอาจารย์เชาวนะ สรุปสาระสำคัญการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย