Page 687 - kpi17073
P. 687

686     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  ไม่ให้คนในองค์กรทุจริต รักษาจริยธรรมและความถูกต้องอยู่เสมอ ส่วนระบบราชการในภาพรวม
                  คงต้องวางระบบกันใหม่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ขอบข่ายอำนาจของหน่วยงานต่างๆ

                  มาตรฐานการใช้จ่าย ระบบงบประมาณของประเทศ เรื่องของการใช้ดุลยพินิจ ซึ่งจะต้องเป็นไป
                  เพื่อประโยชน์ส่วนรวม รวมทั้งมีการกระจายอำนาจ ต้องส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น งบประมาณ
                  ต้องจ่ายให้ท้องถิ่นใช้มากขึ้น นอกจากนี้จะต้องนำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ

                  บริหารกิจการบ้านเมืองที่ พ.ศ. 2546 มาใช้ให้เป็นจริง


                       ส่วนองค์กรอิสระซึ่งเป็นองค์กรที่มีความสำคัญในเรื่องของการตรวจสอบผู้ที่ทำหน้าที่ทุจริต
                  ทั้งหลาย ต้องป้องกันไม่ให้มีการแทรกแซงได้ และต้องให้มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง


                       ส่วนเครือข่ายภาคประชาชนเป็นองค์กรที่สำคัญมากที่เรามองว่าต้องตื่นตัว อย่ายอมรับ
                  การทุจริต และสิ่งที่ประชาชนยอมรับไม่ได้แม้แต่น้อย ต้องสร้างเครือข่ายการต่อต้านการทุจริต

                  ให้เป็นจริง และติดตามการทำงานของนักการเมืองและข้าราชการให้ได้

                       ส่วนฝ่ายรัฐสภา เราบอกว่าพวกที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติ ช่วยดูแลกฎหมาย ปรับปรุงกฎหมาย

                  เหล่านี้ด้วย เพราะว่ามีกฎหมายหลายฉบับที่ควรจะพิจารณา ควรจะออกเพื่อที่จะให้การแก้ไข
                  ปัญหาการทุจริตเป็นจริงได้ เริ่มต้นตั้งแต่กฎหมายฉบับหนึ่ง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยผ่าน สนช. ไปหลายปี

                  ก่อน แต่ว่าไปไม่ถึงที่หมาย เพราะว่า เสียงไม่ถึงครึ่ง ในที่สุดก็เป็นโมฆะ ลองเอามาทบทวนดู
                  ลองเอามาปรับปรุงดู คือ ร่างพระราช-บัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์
                  ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ส่วนกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง คือ พระราชบัญญัติประกอบ

                  รัฐธรรมนูญให้ไม่มีอายุความในคดีคอรัปชั่นและการแสดงรายได้หรือภาษีเงินได้ ตรงนี้ก็สำคัญ
                  เพราะไม่เช่นนั้น คนที่ทุจริตก็รอเวลาพ้นผิด หนีไปก่อนได้ อย่างนี้เป็นต้น พระราชบัญญัติ

                  ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยจริยธรรมเพื่อให้มีแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจน เพราะตอนนี้เรายังไม่
                  ชัดเจน ส่วนกฎหมายที่ว่าด้วยสินบนคงต้องออกให้ชัดเจน รวมทั้งกฎหมายเลือกตั้งต้องไป
                  ปรับปรุงแก้ไข ไม่ให้เกิดการทุจริตได้ เพื่อให้การเลือกตั้งมีความสุจริตจริงๆ และสุดท้ายต้องแก้

                  กฎหมาย โดยเฉพาะในประเด็นที่ให้ประชาชนสามารถฟ้องร้องได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เสียหาย
                  เท่านั้น


                       นอกจากนี้คุณสมบัติร่วมก็ต้องเกิดขึ้นในสังคมไทยทุกภาคส่วน ต้องรักษาความถูกต้อง
                  ไม่โลภจนทุจริตเสียเอง เรื่องของความพอเพียงสำคัญมาก ถ้าเราไม่โลภเสียอย่างก็คงไม่เกิดการ

                  ทุจริต ไม่อดทนต่อการทุจริต ไม่มีวัฒนธรรมการรับของขวัญไม่ว่ากรณีใดๆ มีผู้เสนอให้ห้ามรับ
        สรุปสาระสำคัญการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย
                  ของขวัญไปเลย ไม่ตอบแทนบุญคุณส่วนตัวด้วยผลประโยชน์ของชาติ สร้างสังคมที่รังเกียจการ

                  ทุจริต ทำไม่ดีก็ต้องรับผิดชอบ ค่านิยมความซื่อตรงก็ต้องนำมาใช้ ข้อมูลข่าวสารก็ต้องเปิดเผยให้
                  ประชาชน เพื่อที่จะสามารถติดตามได้อย่างถูกต้อง ต้องมีข้อมูล การตรวจสอบถ่วงดุลต้องให้เกิด

                  ขึ้น และสุดท้าย การปราบปรามต้องทำให้เป็นจริง ไม่ใช่เพียงขยิบตาแล้วก็ไม่ทำ ตรงนี้เป็นเสียง
                  สะท้อนและฝากมา สำหรับกระบวนการปฏิรูปประเทศไทยในครั้งนี้
   682   683   684   685   686   687   688   689   690   691   692