Page 688 - kpi17073
P. 688
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 687
สรุปสาระสำคัญ กลุ่มย่อยที่ 5
เร สถาบันการเ กับการเ า พลเ : ล าพ เ าะส
ผู้สรุป: นายศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์
วิทยากรกลุ่มนี้ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต นายแพทย์พลเดช
ปิ่นประทีป ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ อาจารย์ศรัณยุ หมั้นทรัพย์
อาจารย์ชลัท ประเทืองรัตนา และนางสาววรลักษณ์ สงวนแก้ว เริ่มต้นที่หลักและแนวคิด ในเรื่องของ
สถาบันการเมืองกับการเมืองภาคพลเมืองนั้นแยกจากกันไม่ได้ วันนี้จะต้องทำอย่างไรให้ทั้งสอง
ฝ่ายไปด้วยกัน เหมือนเวลาที่เรารับประทานอาหาร เช่น เรามีตะเกียบในการรับประทานอาหาร
ถามว่าตะเกียบที่เราใช้ ต้องใช้เป็นคู่ๆไปด้วยกัน แต่ถ้าในวันนี้เราจะใช้เฉพาะอันเดียว มันก็ใช้ได้
แต่บางครั้งถ้าเราไปรับประทานอาหารที่จำเป็นต้องใช้ทั้งสองอัน มันก็จะใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น
หลักการนี้เราบอกว่า ต้องไปคู่กันแน่นอน ทำไมเราบอกว่าต้องไปคู่กัน ผมเชื่อว่ามากกว่าครึ่ง
ในห้องนี้ ถูกสอนมาบอกว่า ประชาธิปไตยคือการปกครองของประชาชน โดยประชาชน
เพื่อประชาชน แต่จริงๆไม่รู้ว่าคืออะไร เมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญปี 2540 กับ 2550 จะเห็นว่า
เราเน้นในส่วนของการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวกัน เพื่อให้เกิดการเมือง
ภาคพลเมือง นอกจากนั้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติก็ส่งเสริมในเรื่องของการรวมตัว
กันด้วย โดยสรุปคือ ประชาธิปไตยจะยั่งยืนได้นั้น สถาบันการเมืองกับการเมืองภาคพลเมืองต้อง
มีดุลยภาพที่เหมาะสม ต้องไปด้วยกัน ที่ผ่านมาในอดีตอาจจะไปด้วยกันไม่ได้ นับแต่บัดนี้ต้องคู่
กันไปเหมือนกับตะเกียบ
คำถามก็คือ ในทางทฤษฎีกับในทางปฏิบัติเป็นอย่างไร แล้วสถานการณ์ที่ผ่านมาจนถึง
ปัจจุบันนี้เป็นอย่างไร เราก็ตอบชัดตรงกันว่า ในทางทฤษฎีนั้นดีมาก มีหลักการ มีเป้าหมาย
มีความคาดหวังที่สูงมาก ในทางปฏิบัติสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ไม่เป็นจริงอย่างนั้นเลย เพราะว่า เราขาด
ดุลยภาพที่เหมาะสมระหว่างสถาบันการเมืองกับการเมืองภาคพลเมืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
เรามีสถาบันการเมืองกับการเมืองภาคพลเมือง แต่เราไม่รู้ว่าตะเกียบคู่ไหนมันอยู่กับคู่ไหน บางที
มันสั้น บางทีมันยาว มันไม่เหมาะสม มันแยกกันอยู่ ถ้าเราพูดถึงตะเกียบมันก็ต้องคู่กัน มันต้องไป
ด้วยกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมานี้ล้มเหลวทั้งหมดใช่ไหม ยังมีสิ่งที่ดีๆ เกิดขึ้น
อยู่ด้วยความสำเร็จที่เกิดขึ้น คือ หนึ่ง ภาคพลเมืองตื่นตัว เราไม่เคยหยุดนิ่งเลย ถึงแม้ว่า
ความสมดุลมันไม่เกิดขึ้น แต่เราทำอยู่ตลอดเวลา ทำไปเรื่อยๆ เหมือนกับการฝึกฝนตัวเอง เรามี
ส่วนร่วมมากขึ้น คุณภาพก็มากขึ้น โดยสรุปแล้วการเมืองภาคพลเมืองเข้มแข็งมากขึ้น คำถาม สรุปสาระสำคัญการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย
ต่อมาคือ แล้วอะไรคือปัจจัยที่ยังมีปัญหาอยู่ ตัวอย่างแรก บางครั้งเราคิดว่าเราเป็นพลเมือง
เราต้องแสดงออก เราต้องรักษาสิทธิของเรา แต่ปรากฏว่าสิทธิของเราไปละเมิดสิทธิของคนอื่น