Page 679 - kpi17073
P. 679
678 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ถ้าจะใช้จริง สิ่งจำเป็นก็คือ กกต. อาจจะต้องปรับตัวเยอะพอสมควร โดยเฉพาะเรื่องการสร้าง
ความน่าเชื่อถือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการนับคะแนนเพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสนว่า
คนที่ชนะการเลือกตั้งชนะได้อย่างไร ทางเลือกที่ 4 เป็นระบบผสมแบบเยอรมัน ไม่ใช่ระบบ
คู่ขนาน แยกระบบเขตกับระบบสัดส่วน แต่นำมาคิดรวมกันโดยเอาบัญชีรายชื่อเป็นตัวตั้งในการ
กำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
3) เรื่องสภาที่สอง หรือวุฒิสภา เนื่องจากเรามองว่าสภาคู่ยังจำเป็นกับประเทศไทยอยู่
ถ้าเช่นนั้นวุฒิสภาควรมีที่มาอย่างไร ที่ผ่านมาที่มาของสมาชิกวุฒิสภามีข้อถกเถียงกันพอสมควร
เราจึงเห็นว่า อย่างไรเสียสมาชิกวุฒิสภาก็ต้องมีความยึดโยงกับประชาชน จะโดยตรงหรือ
โดยอ้อมก็ได้ โดยไม่จำกัดว่าการยึดโยงกับประชาชนแปลว่าต้องเลือกตั้งเท่านั้น แต่ว่าเป็นตัวแทน
ที่มาจากการเลือกตั้งแล้วมาคัดเลือกสมาชิกวุฒิสภาก็เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ แต่ขอให้มีสิ่งที่
เกาะเกี่ยวกับประชาชนอยู่บ้าง ประเด็นที่สอง คือ วุฒิสภาจะต้องออกแบบให้มีความหลากหลาย
ในองค์ประกอบ ประกอบด้วยผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และสามารถเข้าไปช่วยกลั่นกรอง
กฎหมาย และตรวจสอบฝ่ายบริหารได้ ประเด็นที่สาม ก็คือ ยังมีความเห็นสอดคล้องกันอยู่ว่า
วุฒิสภาควรมีความเป็นอิสระจากพรรคการเมือง รวมไปถึงองค์กรอื่นใด เพื่อไม่ให้พรรคการเมือง
หรือองค์กรอื่นใดเข้ามาแทรกแซงการทำงานของวุฒิสภาได้ ข้อเสนอเรื่องที่มาของวุฒิสภาต้องยอม
รับว่ายังไม่ได้ออกแบบมาชัดเจนนัก ยังเป็นเพียงทางเลือกอีกเช่นเดียวกัน
ทางเลือกที่ 1 อาจจะเลือกตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม หากเอาเรื่องการเลือกตั้งเป็นตัวตั้ง
ทางเลือกที่ 2 อาจจะใช้วิธีสรรหาหรือแต่งตั้งโดยบุคคลหรือคณะบุคคลหรือองค์กรที่มีที่มาหรือ
มีจุดยึดโยงกับประชาชน ทางเลือกที่ 3 อาจจะใช้ทั้งสองแบบ เป็นระบบผสมแบบที่เราเคยทำมา
ก็ได้
นี่คือหลักการกว้างๆ ของที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งที่ประชุมยังไม่ได้ตกลงว่าจะใช้แบบใด
แต่ที่สำคัญและเห็นพ้องต้องกันแล้วคือ ไม่เอาระบบเดิมที่ใช้วิธีสรรหาแบบการเลือกตั้งสมาชิก
วุฒิสภาปี 2550 ที่ภาษาสื่อใช้คำว่า “ระบบ 7 อรหันต์” โดยต้องคิดระบบใหม่ที่ดีกว่านั้น
4) เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้แทนปวงชน ในอดีตเรามักจะพูดถึงการ
มีระบบสนับสนุนการทำงานของ ส.ส. แต่ว่าประเด็นที่เราพยายามดึงขึ้นมาเป็นอีกเรื่องหนึ่ง คือ
การพยายามสร้างดุลอำนาจระหว่างตัวนักการเมืองที่ทำหน้าที่ในสภากับพรรคการเมืองที่เขาสังกัด
ประเด็นอาจจะโฟกัสอยู่ที่ตัว ส.ส. มากหน่อย โดยอาจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว ได้นำเสนอ
สรุปสาระสำคัญการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย
ข้อมูลเชิงประจักษ์ว่าเวลาที่เราต่อว่า ส.ส.ว่าทำงานไม่เก่ง ทำงานไม่ดี มีหลักฐานเชิงประจักษ์บ่งชี้ไหม
ซึ่งหลักฐานเชิงประจักษ์ที่อาจารย์อรรถสิทธิ์นำเสนอต่อที่ประชุมกลุ่มย่อย คือ เราพบว่า ส.ส.
ขาดอำนาจต่อรองกับพรรคการเมือง ส่วนใหญ่จะลงมติไปตามมติของพรรค ขาดอิสระในการทำ
หน้าที่ของตนเอง เป็นที่มาของคำที่สื่อเรียกว่า “สภาทาส” บ้าง “สภาฝักถั่ว” บ้าง นอกจากนี้
มีหลักฐานเชิงประจักษ์อีกเช่นเดียวกันว่า ในช่วงระหว่างปี 2551 ถึง 2556 ทั้งที่ ส.ส. มีบทบาท
หน้าที่หลักในทางนิติบัญญัติ แต่กลับเป็นผู้ที่มีการริเริ่มเสนอกฎหมายน้อยกว่าฝ่ายบริหารมาก
และไม่สามารถตรวจสอบฝ่ายบริหารได้อย่างแท้จริง รวมไปถึงการที่ผู้แทนราษฎรไม่สามารถ
ปกป้องพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนที่เลือกพวกเขาเข้ามาได้เท่าที่ควร