Page 674 - kpi17073
P. 674
สรุปสาระสำคัญ กลุ่มย่อยที่ 1
เร การสร้า ล าพ นระบบ ร สร้า นา รั
ผู้สรุป: รองศาสตราจารย์ ดร.ปณิธาน วัฒนายากร
กลุ่มย่อยที่ 1 มีวิทยากร 6 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์
เมฆไตรรัตน์ รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ อาจารย์ ดร.พรสันต์
เลี้ยงบุญเลิศชัย คุณกล้า สมุทวณิช คุณปัทมา สูบกำปัง และ ดร.สุรพล ศรีวิทยา
(ผู้นำเสนอบทความที่ผ่านการคัดเลือกจากสถาบันพระปกเกล้า) โดยในกลุ่มย่อยนี้
เราสรุปประเด็นทั้งจากข้อเสนอของวิทยากรและผู้เข้าร่วมสัมมนา สิ่งที่เราสรุป
มีดังนี้
ประเด็นแรก คือ หลักคิดทั่วๆ ไปในเรื่องดุลยภาพในระบบโครงสร้างอำนาจรัฐ
มีข้อเสนอทั่วไป 2 ข้อ คือ 1) การออกแบบสถาบันทางการเมือง
ต้องคำนึงถึงอำนาจที่ได้ดุลซึ่งกันและกันในลักษณะที่พึ่งพากัน ซึ่งวิทยากรใช้คำว่า
interdependent ยกตัวอย่างการออกแบบสถาบันทางการเมืองที่ได้ดุลและ
ประสบความสำเร็จมาก คือ ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งยึดโยงกับ
ประชาชน และยึดโยงกับองค์กรต่างๆ ของรัฐ 2) การออกแบบสถาบันทางการเมือง
ต้องออกแบบให้สอดคล้องกับบริบทของพัฒนาการทางสังคมของการเมืองไทย
โดยเฉพาะการที่จะต้องดึงเอาอำนาจต่างๆ เข้ามาอยู่ในกระบวนการจัดสรร
ดุลอำนาจให้เหมาะสมในลักษณะที่ผสมผสาน ที่ประชุมไม่ได้เชื่อว่ารูปแบบใด
รูปแบบหนึ่งที่มีการทบทวนกันมาตั้งแต่สมัยอริสโตเติลจะเหมาะสม แต่ควรเป็น
รูปแบบที่ผสมผสานกันของการเมืองการปกครองทั้งประชาธิปไตยโดยตรง โดยอ้อม
และประชาธิปไตยที่มีรัฐสภาสองรัฐสภา และรัฐสภาเดียว ทั้งหมดเหล่านี้จะต้อง
มีการผสมผสานกันให้สมดุล ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมากว่าจะผสมอย่างไร นี่คือ
หลักคิดสองหลักทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นพื้นฐานที่นำมาสู่ข้อถกเถียงในรายละเอียดปลีก
ย่อยในส่วนที่สอง ซึ่งเป็นเรื่องข้อเสนอเฉพาะในการร่างรัฐธรรมนูญ
ประเด็นที่สอง ในการร่างรัฐธรรมนูญ
มีการเสนอว่า จะต้องให้เกิดการสอดคล้องของดุลอำนาจของสถาบันต่างๆ
และมีการเน้นให้เห็นว่าจะต้องไม่ให้เกิดการล่วงละเมิดอำนาจซึ่งกันและกัน
เป็นเรื่องที่วิทยากรให้ความสำคัญค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ต้องออกแบบให้