Page 675 - kpi17073
P. 675

674     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  เหมาะสมในเรื่องของดุลอำนาจตามหลักการของรัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันวิกฤต หลักการของ
                  รัฐธรรมนูญคือต้องมีการตรวจสอบถ่วงดุล และให้มีความชัดเจนในเรื่องขอบเขตอำนาจด้วย

                  อีกเรื่องหนึ่งที่วิทยากรนำเสนอและมีการถกเถียงกันอยู่พอสมควรคือการนำเอารัฐธรรมนูญ
                  ไปปฏิบัติในส่วนของผู้ปฏิบัติ


                       ในส่วนของข้อถกเถียงเรื่ององค์กรอิสระ และศาลรัฐธรรมนูญ มีการพูดคุยกันค่อนข้าง
                  มากว่า องค์กรอิสระคืออะไร รัฐคืออะไร หมายความว่าอย่างไร มีความเข้าใจไม่ตรงกันเยอะใน

                  เรื่องคำจำกัดความขององค์กรอิสระ แต่ในที่สุดแล้วก็เห็นความสำคัญขององค์กรอิสระ และองค์กร
                  ที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ อย่างเช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีการนำเสนอตัวอย่างคดีต่างๆ
                  ที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน และมีการสรุปบทเรียนของศาลรัฐธรรมนูญว่า 1) จะต้องมีดุลอำนาจ

                  ระหว่างศาลรัฐธรรมนูญกับองค์กรทางการเมืองที่เหมาะสม มีความชอบธรรม มีการสร้างความ
                  เชื่อมั่น มีการหยิบยกคดีต่างๆ ที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการตัดสิน รวมทั้งคดีต่างๆ ที่ยังมีการ

                  ถกเถียงกัน 2) ที่มาของศาลรัฐธรรมนูญ ต้องยึดโยงกับอะไร อย่างไร มีการคำนวณกันว่ายึดโยง
                  กับประชาชนกี่เปอร์เซ็นต์ จำนวนตุลาการกี่ท่าน มาอย่างไร ได้รับการเห็นชอบจากไหนบ้าง และ
                  ตัวแทนประชาชนมีส่วนร่วมอย่างไร วิทยากรได้นำเสนออย่างน่าสนใจว่าจะต้องยึดโยงกับ

                  ประชาชนเท่าไร อย่างไร โดยที่ไม่สูญเสียความเป็นผู้เชี่ยวชาญในเวลาเดียวกัน ในขณะที่วิทยากร
                  อีกท่านหนึ่งบอกว่าศาลรัฐธรรมนูญแม้เป็นองค์กรของผู้เชี่ยวชาญ แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้อง

                  ยึดโยงกับประชาชน และมีการนำไปเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น  3) การส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของ
                  ประชาชน มีการยกตัวอย่างกรณีศาลรัฐธรรมนูญตัดสินในเรื่องสิทธิของคนพิการของสตรี ในแง่
                  ของการเอากฎบัตรนานาชาติมาตัดสิน มาเป็นพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพสมัยใหม่ ที่ประชุม

                  เห็นร่วมกันว่าจะต้องให้ศาลส่งเสริมเรื่องนี้อย่างเข้มข้นต่อไป


                       เรื่องการละเมิดรัฐธรรมนูญของการทำงานของหน่วยงานของรัฐ หรือขององค์กรอื่นๆ
                  จะต้องมีการป้องกันการละเมิดอย่างไรให้ได้ดุลมากกว่าที่เป็นมา


                       เรื่ององค์กรอิสระ โดยเฉพาะเรื่องการเลือกตั้ง มีข้อเสนอทั่วไป 3 ข้อ 1) ที่มาขององค์กร
                  อิสระจะต้องโปร่งใส เปิดเผย ตรวจสอบได้ อาจจะต้องมีความยึดโยงกับประชาชนมากขึ้น

                  ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น วิธีการที่จะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นจะทำอย่างไร ที่มาที่
                  หลากหลายทำอย่างไร ซึ่งรายละเอียดต่างๆ อยู่ในบทความของกลุ่มย่อยที่ 1  2) การใช้อำนาจ
                  ขององค์กรอิสระจะต้องถูกตรวจสอบอย่างไร เปิดเผยการทำงานได้อย่างไร จะมีการปฏิบัติงาน

        สรุปสาระสำคัญการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย
                  และรายงานต่อประชาชนอย่างไร 3) กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีข้อเสนอว่า อาจจะต้อง
                  แยกแยะอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดออกจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยนำอำนาจนี้ไปให้กับศาล

                  ซึ่งเรื่องนี้ก็มีการถกเถียงกันมานานพอสมควรแล้ว แต่วิทยากรค่อนข้างจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
                  และมองว่าการเลือกตั้งที่ยุติธรรมและโปร่งใสจะต้องมีการดำเนินการโดยองค์กรที่มีความสามารถ
                  พิเศษ


                       ข้อเสนอสุดท้ายเป็นข้อเสนอเฉพาะด้าน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก โดยเป็นผลงานวิชาการ

                  ของนักวิชาการท่านหนึ่งที่เสนอเข้ามา และมีสาระค่อนข้างแตกต่างจากวิทยากรท่านอื่นๆ โดยเป็น
                  ข้อเสนอเฉพาะด้านว่า ดุลอำนาจสามดุล คือ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ
   670   671   672   673   674   675   676   677   678   679   680