Page 677 - kpi17073
P. 677
676 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
สรุปสาระสำคัญ กลุ่มย่อยที่ 2
เร การสร้า ล นา า นรั ส า
ผู้สรุป: ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
กลุ่มย่อยที่ 2 เราคุยกันในประเด็นที่ไม่ใหญ่แต่ก็ไม่เล็ก แต่เฉพาะเจาะลงที่ตัวรัฐสภา
ในฐานะที่เราเป็นประเทศที่ยึดถือการปกครองในระบบรัฐสภามาโดยตลอด เรามีวิทยากร
ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิเป็นระดับปรมาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ เป็นทั้งผู้มีประสบการณ์โดยตรง
ทางการเมือง รวมไปถึงนักวิชาการรุ่นใหม่ที่ทางสถาบันพระปกเกล้ามีการวางแผนโครงการและให้
มีการทำวิจัยในแต่ละประเด็นที่เกี่ยวข้องกับดุลยภาพภายในรัฐสภา วิทยากรในกลุ่มย่อยที่ 2
ประกอบด้วยศาสตราจารย์ ดร. สมบูรณ์ สุขสำราญ ดร.ดิเรก ถึงฝั่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ
มูลศิลป์ อาจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว และอาจารย์ชมพูนุท ตั้งถาวร
เราพยายามตอบคำถามสำคัญ 5 เรื่อง คือ 1) เมื่อพูดถึงระบบรัฐสภา เราต้องตอบให้ได้
ก่อนว่า ตกลงแล้วในเชิงโครงสร้างรูปแบบของประเทศไทย รัฐสภาควรมีหน้าตาเป็นอย่างไร จะมี
กี่สภา 2) ถ้าจำเป็นต้องมี 2 สภา 3 สภา 4 สภา แต่ละสภาควรมีที่มาอย่างไร ถ้าดูจากหัวข้อ
ก็จะเห็นธงคำตอบของเราว่าค่อนไปทาง 2 สภา เพราะในกระบวนการเข้าสู่อำนาจของสภา
ผู้แทนราษฎร ไม่ว่าเราจะมี 1 หรือ 2 สภา ก็จะต้องมีหนึ่งสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชน
3) ที่มาของอำนาจของสภาที่สอง ที่ส่วนใหญ่ใช้คำว่าวุฒิสภาควรจะเป็นอย่างไร 4) เราพูดกัน
มากเรื่องสภาของเราทำงานดีหรือยัง เราจึงต้องพยายามตอบคำถามด้วยกันว่า การออกแบบ
ระบบหรือกลไกต่างๆ ขึ้นมาจะออกแบบอย่างไรเพื่อไปส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของ
ผู้แทนปวงชน 5) เราพยายามหาเครื่องมือใหม่ๆ มาช่วยให้การทำงานของรัฐสภาสามารถตรวจสอบ
ถ่วงดุลกับฝ่ายอื่นๆ ได้มากขึ้น จะเห็นได้ว่าเราพยายามไล่ตอบคำถามต่างๆ ไปเกือบทุกประเด็น
ของระบบรัฐสภา ซึ่งสิ่งที่นำเสนอต่อไปนี้เป็นเพียงข้อเสนอแนวทางที่เป็นไปได้ เป็นข้อควร
พิจารณาสำหรับการร่างรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปการเมือง แต่ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้าย
ยังต้องการการถกเถียงอภิปรายกันพอสมควร รายละเอียดข้อเสนอทั้ง 5 ข้อมีดังนี้
สรุปสาระสำคัญการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย
1) เรื่องโครงสร้างรัฐสภา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ มูลศิลป์ เปิดประเด็นในเวทีให้แต่ละ
ท่านที่เข้าร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร อยากปรับปรุงตรงไหน เราก็
พบว่าในเรื่องของโครงสร้าง เมื่อพิจารณาทั้งในแง่ของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของการเมืองไทยเอง
รูปแบบของรัฐไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน รวมไปถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองใน
ปัจจุบัน และที่เป็นพลวัตเคลื่อนไหวมาในรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมา รวมไปถึงเราชั่งน้ำหนักระหว่าง
ประโยชน์ของการมี 1 สภา หรือ 2 สภา เรามองในแง่ของการตรวจสอบถ่วงดุลว่าเวลาเราพูด
รัฐสภา ดุลอำนาจหลักสำคัญก็คือ รัฐสภาต้องไปถ่วงกับฝ่ายบริหาร การคานอำนาจกันเองภายใน