Page 678 - kpi17073
P. 678

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   677


                      สมมติว่ามี 2 สภา หรือมากกว่านั้นจะถ่วงดุลกันอย่างไรถึงจะเหมาะสม หรือภายในระบบที่มีสภา
                      เดียว มีทั้งฝ่ายที่เป็นเสียงข้างมากเสียงข้างน้อยจะคานอำนาจกันอย่างไร จะตรวจสอบกฎหมายให้

                      รอบคอบ ถูกต้อง และให้สามารถตอบสนองตามความต้องการของประชาชนได้อย่างไร รวมไปถึง
                      การที่รัฐสภาน่าจะเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้คนแต่ละกลุ่มสามารถมีพื้นที่ทางการเมืองของตัวเอง
                      เข้าไป มีสิทธิ มีปากมีเสียง เอาผลประโยชน์ของตัวเองเข้าไปสะท้อนในสภาได้ สรุปความจาก

                      สองประเด็นหลักๆ นี้ เราค่อนข้างเห็นพ้องต้องกันหลังเวทีอภิปราย 3 ชั่วโมงเมื่อวาน เรียกว่าเป็น
                      เอกฉันท์ก็ว่าได้ เพราะไม่มีใครเห็นแย้งเลยว่าประเทศไทยยังเหมาะกับระบบสภาคู่อยู่ โดยเฉพาะ

                      สถานการณ์ในปัจจุบันที่มีความขัดแย้งดำรงอยู่มาหลายทศวรรษแล้ว ระบบสภาคู่น่าจะตอบโจทย์
                      ทางการเมืองได้เหมาะสมที่สุด


                            2) เรื่องสภาผู้แทนราษฎร ประเด็นปัญหาสำคัญที่เป็นโจทย์สำหรับการเมืองไทยในปัจจุบัน
                      มีสองเรื่อง หนึ่ง ไม่ว่าเราจะมองอย่างไร เรื่องเสถียรภาพทางการเมืองก็เป็นประเด็นที่เรามักจะ

                      หยิบยกขึ้นมาพูดเสมอว่าเราจะออกแบบโครงสร้างอำนาจอย่างไรให้การเมืองมีเสถียรภาพ ไม่ต้อง
                      เปลี่ยนแปลงบ่อย และสามารถทำงานได้ อีกประเด็นคือ เมื่อพูดถึงรัฐสภา จะทำอย่างไรให้
                      รัฐสภาเป็นที่ที่สามารถสะท้อนเสียงที่แท้จริงของประชาชน จากโจทย์ใหญ่ๆ สองข้อนี้ เราจึงได้

                      คำตอบแบบฟันธงว่า ระบบการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรแบบผสมน่าจะยังเป็นคำตอบที่สามารถ
                      ตอบโจทย์เรื่องเสถียรภาพทางการเมืองและการเป็นตัวแทนที่สะท้อนเสียงที่แท้จริงของประชาชน

                      ได้มากกว่าการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตอย่างเดียวหรือการเลือกตั้งแบบสัดส่วนอย่างเดียว อย่างไรก็ดี
                      การออกแบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมมีข้อถกเถียงกันเยอะ เราจึงจะเสนอในลักษณะเป็นทาง
                      เลือกเท่านั้น แต่จะไม่ระบุว่าควรเป็นแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งมีข้อเสนออยู่ 4 ทางเลือก

                      ให้ลองพิจารณาดูว่ามีทางเลือกไหนที่พอจะเป็นไปได้ และสามารถอุดช่องว่างช่องโหว่ของระบบ
                      การเลือกตั้งที่ผ่านมาได้


                            ทางเลือกที่ 1 คือ ใช้ระบบคู่ขนานเหมือนเดิม คล้ายๆ กับสมัยการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.
                      2554 แต่ว่าเพื่อให้เกิดความสมดุลในการต่อรองอำนาจกันขึ้น จึงมีข้อเสนอในทำนองว่าน่าจะ

                      เพิ่มสัดส่วนของ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อมากขึ้น ก็อาจจะกำหนดให้มีจำนวนเท่ากันหรือไม่ ต้องไป
                      พิจารณากันต่อในรายละเอียด ทางเลือกที่ 2 คือ ใช้ระบบคู่ขนานเหมือนเดิม คล้ายๆ กับสมัย

                      การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2554 และยังคงสัดส่วนเดิมเอาไว้ คือ ถ้าเรามองว่าสภาผู้แทนราษฎรคือ
                      ตัวแทนของประชาชนในระดับเขตเลือกตั้ง ก็อาจต้องมีสัดส่วน ส.ส. เขต มากกว่า ส.ส. บัญชี
                      รายชื่อ ก็อาจจะคงอัตราส่วน 1 ต่อ 3 เอาไว้ แต่วิธีการเลือก ส.ส. เขตอาจต้องเปลี่ยนไป เพราะว่า

                      มีประเด็นเรื่องผู้ชนะได้ทั้งหมดในกรณีการเลือกตั้งแบบเขตเดียวคนเดียว โดยเปลี่ยนเป็นการ
                      เลือกตั้งแบบเขตใหญ่ มีผู้สมัครรับเลือกตั้งได้หลายคน แต่ประชาชนลงคะแนนได้เพียง 1 เบอร์

                      เท่านั้น ก็จะคล้ายกับระบบที่ประเทศญี่ปุ่นใช้ในการเลือกตั้งสภาที่สอง ทางเลือกที่ 3 คล้ายกับ
                      ทางเลือกที่ 2 คือ คงสัดส่วน 1 ต่อ 3 ของ ส.ส. บัญชีรายชื่อ และ ส.ส. เขตไว้ แต่ว่าการ
                      เลือกตั้ง ส.ส. เขต ให้ใช้ระบบจัดอันดับความชอบตามแนวทางที่ประเทศออสเตรเลียใช้ ความยุ่งยาก

                      คือ แทนที่เราจะกากบาทเลือกผู้สมัครเพียงคนเดียว เราต้องจัดอันดับความชอบจากหนึ่งไปจนถึง              สรุปสาระสำคัญการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย
                      ลำดับสุดท้ายของจำนวนผู้สมัครทั้งหมด และมีระบบการคิดคำนวณคะแนน ซึ่งก็มีข้อเสนอแนะว่า
   673   674   675   676   677   678   679   680   681   682   683