Page 704 - kpi17073
P. 704
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 703
ที่จะต้องใช้ในการปรองดองในอนาคตเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ให้คนไทยมาฆ่ากัน ไม่ให้มี
สีต่างๆ ออกมาเข่นฆ่า ก็แปลว่าคงไม่ใช่การเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมแล้วก็จบๆ กันไปอย่างที่เคยเป็น
นอกจากนั้น การสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมเองก็เช่นกัน เขามีสภาปฏิรูป
แห่งชาติมาทำหน้าที่ 11 ด้าน วันนี้เขาตั้งคณะกรรมาธิการกัน 18 คณะ ที่เป็นสาระด้านต่างๆ
ทั้งการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน เศรษฐกิจ จนกระทั่งถึงเรื่องแรงงาน จนท้ายที่สุดก็มี
คณะกรรมาธิการต่างๆ อีก 5 คณะที่ทำในเรื่องเป็นกลาง เช่น วิสัยทัศน์อนาคตประเทศไทย
เป็นต้น ก็แปลว่าเราทำได้ไม่หมดหรอก รัฐธรรมนูญนี้จึงต้องวางโครงสร้างที่เป็นองค์กรกลไก
กระบวนการและหลักการสำคัญในการที่จะให้มีการปฏิรูปเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ
และสังคม ทำให้คนส่วนใหญ่ที่ไม่มี กลายเป็นคนที่เข้าถึงทรัพยากรได้ กลายเป็นที่คนที่พอมี
พอกิน มีกินมีใช้ขึ้นมาได้ ให้คนที่ไม่มีกลายเป็นคนที่มีอิสระทางเศรษฐกิจทางสังคมอย่างแท้จริง
ไม่พึ่งพิงใคร เขาจึงมีอิสระทางการเมือง เป็นคนชั้นกลางระดับกลางและระดับบนอย่างแท้จริง
ดังนั้น รัฐธรรมนูญในส่วนที่ว่าด้วยการสร้างความปรองดองและการสร้างความเป็นธรรมทาง
เศรษฐกิจสังคมด้วยการปฏิรูปจึงเป็นของใหม่ทั้งหมด ไม่ใช่เหล้าเก่าในขวดใหม่แน่ ที่ปรามาสว่า
เป็นเหล้าเก่าในขวดใหม่นั้น ขอได้โปรดคืนคำตัวเอง เพราะรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา 19 ฉบับ
ไม่เคยพูดถึงเรื่องการปรองดอง ไม่เคยพูดถึงเรื่องการสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม
แต่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องตอบคำถามนี้ให้ได้ เมื่อตอบคำถามหลักที่สำคัญ คือ การสร้างความ
เป็นธรรมทางเศรษฐกิจสังคม ด้วยการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่ ความมั่งคั่งเสียใหม่ แล้วเรา
จึงมาจัดสรรอำนาจใหม่ ในอดีตเมืองไทยเรานั้นเน้นที่การปฏิรูปการเมืองแล้วคิดว่า ถ้าการเมืองดี
มันจะไปจัดสรรสิ่งที่ดีๆ ให้กับประชาชน วันนี้เราพบแล้วว่า เราต้องเอาสิ่งดีๆ ขึ้นก่อน นั่นคือ
การสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นการจัดสรรทรัพยากรและความมั่งคั่ง
เสียใหม่ เชิงโครงสร้างขึ้นก่อน แล้วจึงจัดสรรอำนาจสังคมเสียใหม่ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจการเมือง
อำนาจราชการ อำนาจท้องถิ่น อำนาจเอกชน อำนาจประชาสังคม อำนาจทั้งหมดนี้ ต้องสามารถ
ตอบสนองต่อการสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดขึ้นให้ได้
เพราะฉะนั้นการสร้างดุลแห่งอำนาจใหม่ในทางการเมือง ทางการปกครอง จึงเป็นรองของ
การจัดสรรทรัพยากรและความมั่งคั่งเสียใหม่ ดุลแรกที่จะต้องสร้าง เราหนีไม่พ้นที่จะต้องสร้าง
ก็คือ การเมืองของนักการเมืองกับการเมืองของพลเมือง รัฐธรรมนูญปี 40 เป็นโครงสร้าง
กฎเกณฑ์ที่เป็นฮาร์ดแวร์ที่ดี แต่คนและวิธีคิดทั้งพลเมืองและนักการเมืองมีวิธีประพฤติของตน
ที่เรียกว่าวัฒนธรรมการเมืองซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่มีปัญหา เพราะฉะนั้น ความล้มเหลวของ
รัฐธรรมนูญปี 40 เห็นชัดเลยว่า ไม่ได้มาจากสถาบันและโครงสร้างที่รัฐธรรมนูญวางไว้ แต่มา
จากวัฒนธรรมทางการเมืองและความประพฤติของคนอันเกิดจากวัฒนธรรมทางการเมืองนั้น
วันนี้เราจึงต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความเป็นพลเมือง ที่ฝรั่งที่เรียกว่า civility ทำให้ราษฎร
ที่ภาษาฝรั่งเรียกว่า subject ใครจะมาทำอะไรก็ได้นั้นกลายเป็นพลเมืองที่ฝรั่งที่เรียกว่า citizen
ที่มีอิสระทางเศรษฐกิจทางสังคม มีความสามารถที่จะเลือกหรือมี choice โดยไม่ต้องติดกับ
อามิสสินจ้างใดๆ มีความเคารพในสิทธิของผู้อื่น พอๆกับรักษาสิทธิของตัว พร้อมที่จะทำหน้าที่
ด้วยความเต็มใจไม่ใช่เอาแต่สิทธิแต่หน้าที่ไม่ต้องทำ แล้วก็มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง แข็งขัน ปาฐกถาปิด
ที่เหมาะสมในกิจการสาธารณะ เพราะฉะนั้น สิ่งนี้หนีไม่พ้น ในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับ
การสร้างระบบตัวแทนที่เรียกว่า Good representation นักการเมืองที่ดี เหมือนที่เมื่อวานที่มีคน