Page 706 - kpi17073
P. 706
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 705
government but too little parliament destroys democracy” ดังนั้น รัฐธรรมนูญปี 40 ไปให้
ความสำคัญกับรัฐบาล แล้วลดความสำคัญของสภาลง รัฐธรรมนูญปี 50 ก็ไปพยายามลิดรอน
ฝ่ายบริหารแต่ก็ไม่ได้สร้างความเข้มแข็งให้สภา ผมคิดว่า ในการสร้างสมดุลแห่งอำนาจใหม่เราจะ
ต้องมีฝ่ายบริหารที่มีเสถียรภาพตามควร ขีดเส้นใต้ “ตามควร” นะ ไม่ใช่เกินไป แต่ต้องมีสภาที่
เป็นอิสระและมีอำนาจอิสระพอที่จะควบคุมตรวจสอบทางการเมืองกับรัฐบาล เพราะฉะนั้น
สมมติฐานที่ว่า ฝ่ายบริหารต้องเข้มแข็งอย่างปี 40 เราเห็นผลมาแล้ว ตั้งแต่ปี 2544 ถึงปี 2549
ว่าเกิดอะไร เพราะฉะนั้นข้อเสนอที่ให้เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงก็ดี เลือกคณะรัฐมนตรี
โดยตรงก็ดี แทนที่จะแก้ปัญหา ผมเห็นว่าเป็นการซ้ำเติมปัญหา เพราะเราอาจจะมีนายกรัฐมนตรี
และรัฐบาลที่อาจจะเข้มแข็งเกินไป เพ่นพ่านไปหมด แทรกแซงไปทุกเรื่อง เหมือนเรามีเสือ
เสือก็ควรจะอยู่ในป่า อยู่ในป่าก็ไม่เป็นไร แต่บัดนี้ เสือมาเดินอยู่ในครัวของเรา มากินหมูที่เราเลี้ยง
แพะที่เราเลี้ยง วันนี้ถ้าเราจะไปเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงอีก ก็เท่ากับติดปีกให้เสือ
ก็ทำให้เสือที่กำลังกินวัวเราอยู่ กินแกะเราอยู่ ดำน้ำได้ด้วย ไม่รู้ว่าแก้ปัญหาตรงจุดหรือเปล่า แท้ที่
จริงแล้วเราควรทำให้สภามีความเป็นอิสระ ควบคุมรัฐบาลได้ เพื่อการนี้เราควรจะเอาบทบัญญัติที่
ให้อำนาจพรรคการเมืองขับ ส.ส. แล้วให้ ส.ส.พ้นจากสมาชิกภาพ ออกจากรัฐธรรมนูญเลย
เพราะทำให้พรรคยิ่งใหญ่กว่า ส.ส.ที่ประชาชนเลือกมา คือ ประชาชนถอด ส.ส.ที่ตัวเลือกไม่ได้
แต่พรรคการเมืองซึ่งเป็นเพียงตัวกลางระหว่าง ส.ส.กับประชาชน กลับปลด ส.ส. ได้ เราเกิด
สภาพที่เรียกว่า ผมต้องยืมคำพูดของท่านตุลาการศาลปกครองสูงสุดวันนี้ คือ อาจารย์วรพจน์
วิศรุตพิชญ์ ท่านบอกว่า มีคอกต่างๆ แล้วก็มีเจ้าของคอก เพราะว่า ส.ส.ไม่กล้าทำอะไร ถ้าทำผิด
มติพรรคถูกขับออก พอออกก็พ้นสมาชิกภาพ วันนี้บทบัญญัติเช่นนั้นต้องเอาออก ต้องให้ ส.ส.ทำ
หน้าที่เป็นอิสระ เขาโหวตฝืนมติพรรค เขาไม่พ้นจาก ส.ส. แต่แน่ละ คราวหน้าเขาอาจจะไม่ถูก
พรรคส่งลงสมัครรับเลือกตั้ง แล้วก็ไม่ต้องบังคับให้ ส.ส.สังกัดพรรคอีกต่อไป เราอาจจะต้องมี
องค์กรที่สร้างความเท่าเทียมกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารโดยเฉพาะในการตรวจสอบ
เช่นสำนักงบประมาณของรัฐสภา อะไรก็ตามที่ติดเขี้ยวติดเล็บให้กับสภาได้ เพื่อที่จะให้ทัดเทียม
กันในทางข้อมูลในการตรวจสอบฝ่ายบริหาร ต้องติดเขี้ยวติดเล็บให้กับสภา
ดุลแห่งอำนาจอันที่ 3 คือ ดุลระหว่างฝ่ายการเมืองกับศาลและองค์กรตรวจสอบ คำถามที่
เราจะต้องตอบก็คือ ทำอย่างไรให้การคัดเลือกองค์กรอิสระปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง
แต่เชื่อมโยงกับประชาชน ทำอย่างไรที่จะให้ตุลาธิปไตย ที่เรียกว่า Judicial activism ลดลง แล้ว
ก็มีเท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาความเป็นกฎหมายสูงสุดและความเป็นนิติธรรมเอาไว้ เราอาจจะต้อง
คิดถึงการให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการควบคุมการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในเรื่อง
กระบวนการ แต่ไม่ควรเลยไปถึงเนื้อหา เป็นต้น
ดุลแห่งอำนาจที่ 4 ที่จะต้องคิด คือ ดุลระหว่างการรวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลางที่รัฐบาลกลางกับ
การกระจายอำนาจไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำอย่างไรจะให้บริการหลักๆ ไปอยู่ใกล้ชิด
กับประชาชนที่สุด ไปให้คนบริการประชาชนมาจากการเลือกของประชาชน ไม่ใช่เอาเจ้าหน้าที่
ที่นั่งอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย นั่งอยู่ที่กระทรวงคมนาคม ซึ่งไม่ได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจอะไรเลยกับ
ประชาชนไปทำในสิ่งที่ประชาชนในท้องถิ่นอาจจะไม่ต้องการ ทำอย่างไรจะให้ได้ท้องถิ่นรูปแบบ ปาฐกถาปิด
พิเศษ เราต้องหาดุลกันใหม่ ระหว่างท้องถิ่นที่มันเล็กมากๆ เช่น อบต. กับที่มันใหญ่เกินไปอย่าง
อบจ. แล้วมันใหญ่ไม่พอในบางเรื่อง บางเรื่องจังหวัดทำไม่ได้ มันต้องหลายจังหวัด ต้องคิดกันใหม่