Page 707 - kpi17073
P. 707
706 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
และที่สำคัญที่สุดก็คือว่า ทำอย่างไรจะให้ชุมชนองค์กรชุมชนและประชาชน เข้าร่วมกับองค์กรท้องถิ่น
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการปราบปรามการทุจริตระดับท้องถิ่นต้องได้ผล
ดุลแห่งอำนาจดุลที่ 5 ก็คือ ดุลระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจำ อันนี้ต้องนำ
มาคิดกันแล้วอย่างจริงจัง ว่าข้าราชการประจำต้องทำตามนโยบายของฝ่ายการเมือง แต่ทำอย่างไร
ไม่ให้ฝ่ายการเมืองล้วงลูกลงไปได้จนกระทั่งถึงซี 3 ซี 4 ซี 5 แล้วก็สั่งซ้ายหันขวาหันได้ แล้วเวลา
ต้องรับผิดข้าราชการจะต้องรับผิด อาจจะต้องเขียนหรือเปล่าในรัฐธรรมนูญว่า ต่อไปนี้ข้าราชการ
ที่ทำตามคำสั่งโดยวาจาต้องรับผิดทั้งทางแพ่งทางอาญาแต่เพียงลำพัง คำสั่งที่ valid ในระบบ
ราชการแผ่นดินต้องเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น อาจจะได้ผลนะ คือ ถ้าสั่งด้วยวาจาไม่ต้องทำ
ถ้าทำก็จะไปบอกไม่ได้ว่า ท่านสั่ง ก็รับไปเต็มๆ ที่พูดให้ท่านนำไปคิด
ดุลอำนาจที่ 6 ก็คือ ดุลอำนาจระหว่างรัฐ องค์กรเอกชน องค์กรภาคประชาสังคม เรามี
สภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้ง เป็นสภาของนักการเมือง เป็นสภาของพรรคการเมือง ไว้ใน
การบริหารราชการแผ่นดิน เป็นสภาที่มีอำนาจการเมืองเต็ม แต่ว่าคนไทยไม่ได้มีอยู่เฉพาะใน
พรรคการเมือง คำถามก็คือ สภาที่สอง ควรจะเป็นสภาของคนซึ่งมาจากทุกอาชีพเหมาะหรือไม่
ต้องช่วยกันคิด ถ้าสภาที่หนึ่งเป็นสภาที่ผ่านการเลือกตั้งมาจากประชาชนโดยผ่านพรรคการเมือง
และการสมัคร เป็นสภาที่มีอำนาจการเมืองในการตั้งรัฐบาล ในการคุมรัฐบาล ในการเปลี่ยน
รัฐบาล เป็นสภาที่ใช้เสียงข้างมาก ที่เราใช้คำว่า Majoritarian politics แล้วถ้าสภาสูงเป็นสภาที่
เราเรียกว่า สภาพหุนิยม กรรมกรก็อยู่ในนั้น ผู้ใช้แรงงานก็อยู่ในนั้น เกษตรกรก็อยู่ในนั้น วิชาชีพ
อิสระก็อยู่ในนั้น ข้าราชการทหารพลเรือนก็อยู่ในนั้น แต่อยู่โดยกระบวนการที่ไม่ต้องมี
คณะกรรมการสรรหาเพราะกรรมการสรรหาในระบบประเทศไทยนั้น คือระบบอุปถัมภ์พรรคพวก
ควรจะมีหรือไม่ มันทำให้ผมคิดเพราะเหตุว่า มองเตสกิเออร์ซึ่งเป็นคนเขียนหนังสือเรื่อง
เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย จะชื่นชมระบอบการปกครองของอังกฤษในศตวรรษที่ 18 มาก
โดยบอกว่า โครงสร้างทางการเมืองที่ดีนั้น จะต้องเป็นโครงสร้างทางการเมืองซึ่งสามารถนำเอา
ภาคส่วนต่างๆ ทุกส่วน ทุกองคาพยพของสังคมมาอยู่ในโครงสร้างทางการเมืองถ้าสภาผู้แทนราษฎร
เป็นสภาที่มีอำนาจการเมืองเด็ดขาดในการตั้งรัฐบาล คุมรัฐบาล ถอดรัฐบาลแล้ว พรรคการเมือง
อยู่แล้ว มาจากการเลือกตั้งโดยตรงแล้ว สภาที่สองจะเป็นสภาพหุนิยม มาจากกลุ่มต่างๆ โดยไม่
ต้องผ่านกระบวนการสรรหา ส่งกันมาเองแม้กระทั่งท้องถิ่นก็อาจจะต้องมานั่งในสภาที่สองนี้
แต่ไม่มีอำนาจในถอดนักการเมือง ไม่มีอำนาจที่จะไปทำการทางการเมืองอื่น นอกจากจะมาเป็น
ตัวแทนในการกลั่นกรองกฎหมายและเป็นตัวแทนในการทำให้พหุนิยม ที่เรียกว่า Pluralist
society เกิดขึ้นจริง ก็น่าคิด นี่คือการสร้างดุลใหม่ที่จะต้องคิด คำถามต่อไป คือ รัฐธรรมนูญ
จะสั้นหรือยาว จะแก้ไขง่ายหรือแก้ไขยาก คำตอบจะมีหลากหลาย เรียนว่า เรามีต้นทุนน้อย
เราไม่ได้มาจากประชาชน เรามาจาก คสช.บ้าง ครม.บ้าง สนช.บ้าง แต่ว่าเราจะทำให้ดีที่สุด
แล้วเราอยากทำรัฐธรรมนูญให้เป็นสัญญาประชาคม และการทำให้รัฐธรรมนูญเป็นสัญญา
ประชาคมนั้นทำได้สองทางเท่านั้น คือ หนึ่ง กระบวนการในการจัดทำรัฐธรรมนูญจะต้องมีส่วนร่วม
และการรับฟังความเห็นของประชาชนอย่างแท้จริง และ สอง รัฐธรรมนูญที่ทำมาแล้วต้องนำกลับ
ปาฐกถาปิด ไปให้เจ้าของอำนาจสูงสุดบอกว่า เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ แล้วนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
เพราะผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดินนี้ คือ พระมหากษัตริย์และประชาชน ขอบคุณครับ