Page 661 - kpi17073
P. 661
660 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ตารางที่ 2 แผนการสำรวจข้อมูลครัวเรือนในพื้นที่ อปท. ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง (ยกเว้น อบจ.)
จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวนแบบสำรวจต่อ แบบสำรวจที่คาดว่าจะ
ประเภทท้องถิ่น
(แห่ง) อปท. (ครัวเรือน) ได้รับ (ชุด)
เทศบาลนคร 4 200 800
เทศบาลเมือง 9 150 1,350
เทศบาลตำบล 20 100 2,000
องค์การบริหารส่วนตำบล 65 100 6,500
รวม 98 - 10,650
หมายเหตุ การสำรวจข้อมูลครัวเรือนดังกล่าวดำเนินการเฉพาะ อปท. ระดับล่าง สำหรับ อบจ. นั้น คณะนักวิจัยฯ
ใช้วิธีการจัดประชุมกลุ่มย่อยแทน
พึงสังเกตว่าคณะนักวิจัยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างภาคครัวเรือนขั้นต่ำที่จำนวน
100 ครัวเรือนต่อ อปท. และขั้นสูงสุดจำนวน 200 ครัวเรือนในกรณีของเทศบาลนครก็เพื่อให้ได้
ข้อมูลที่มีขนาดกลุ่มตัวอย่างในแต่ละ อปท. มากเพียงพอสำหรับการวิเคราะห์ในเชิงสถิติเกี่ยวกับ
ผลลัพธ์และผลกระทบที่มีต่อประชาชนในแต่ละท้องถิ่น สัดส่วนขนาดกลุ่มตัวอย่างครัวเรือน
ดังกล่าวสอดคล้องกับหลักการกำหนดขนาดตัวอย่างในทางสถิติที่จะช่วยให้ได้ค่าความเชื่อมั่นใน
ผลการวิเคราะห์ผลสูงกว่าร้อยละ 90 นั่นเอง 8
ส่วนในกรณีการประเมินความไว้วางใจของภาคประชาชนที่มีต่อองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด (อบจ.) นั้น คณะนักวิจัยจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลที่แตกต่างไปจากการสำรวจข้อมูล
ครัวเรือน กล่าวคือ จะใช้วิธีการเก็บข้อมูลจุลภาคในระดับจังหวัดด้วยการจัดประชุมกลุ่มย่อย
(focus group) ร่วมกับผู้ที่มีส่วนได้เสีย/ผู้ที่ทำงานร่วมกัน/ผู้รับบริการสาธารณะ/ผู้ที่ไม่ได้รับ
บริการสาธารณะ (stakeholder) จาก อบจ. ซึ่งเป็นวิธีการที่จะให้ข้อมูลในเชิงลึกที่มีความถูกต้อง
และน่าเชื่อถือกว่าวิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสำรวจภาคครัวเรือนดังเช่นที่ใช้กับกรณีของเทศบาล
หรือ อบต.
เหตุผลสำคัญที่คณะนักวิจัยเลือกวิธีการดังกล่าวนี้เป็นเพราะบริการสาธารณะหลาย
ประเภทของ อบจ. มิใช่บริการโดยตรงที่ประชาชนทั่วไปมองเห็นหรือสัมผัสได้อย่างใกล้ชิดดังเช่น
บริการของ อบต. หรือของเทศบาล การใช้วิธีสำรวจข้อมูลรายครัวเรือนต่อบริการสาธารณะที่จัด
ให้โดย อบจ. จึงอาจให้ข้อมูลที่มีความคลาดเคลื่อนได้สูง เนื่องจากประชาชนผู้ตอบแบบสำรวจ
อาจไม่สามารถนึก (recall) ได้อย่างถูกต้องว่าบริการสาธารณะหลักๆ ที่ตนเองได้รับ (หรือ
ไม่ได้รับ) เป็นหน้าที่รับผิดชอบของ อปท. ในระดับล่าง (เทศบาลหรือ อบต.) หรือเป็นบริการ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6 เป็นต้น
ที่จัดให้โดย อบจ. (หรือเป็นความรับผิดชอบของ อบจ.) ด้วยเหตุนี้วิธีการประชุมกลุ่มย่อยจาก
8
อ่านตารางเกี่ยวกับการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้จาก อาทิ Yamane (1967) หรือ Israel (2012)