Page 656 - kpi17073
P. 656

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   655


                      3. วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง



                            ในบทความนี้ ความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (public
                      trust in local government) หมายถึง การเต็มใจ ความเชื่อมั่น หรือความยินยอมของ

                                        5
                      ประชาชนให้ อปท.  ทำหน้าที่จัดบริการสาธารณะที่ปัจเจกบุคคลแต่ละคนไม่สามารถดำเนินการ
                                     6
                      ได้เองโดยลำพัง  ซึ่งถ้าหากประชาชนไม่ไว้วางใจใน อปท. ที่เป็นผู้ให้บริการหลักในระดับชุมชน
                      ท้องถิ่นแล้ว พวกเขาเหล่านั้นก็อาจไม่ประสงค์ที่จะรับบริการต่อเนื่องหรือขอรับความช่วยเหลือใดๆ

                      จาก อปท. อีก ด้วยเหตุนี้ เราย่อมไม่สามารถกล่าวได้ว่าการดำเนินงานและ/หรือการให้บริการ
                      สาธารณะของ อปท. ประสบผลสำเร็จ (ไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์หรือผลกระทบ) ต่อการเสริมสร้าง

                      คุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับชุมชนแต่ประการใด (วีระศักดิ์ เครือเทพ และคณะ, 2556)

                            ในการประเมินความพึงพอใจและความไว้วางใจของประชาชนนั้น (Paine, 2003) และ

                      (Paine, 2007) กล่าวไว้ว่าสามารถแบ่งออกเป็น 5 ด้านที่สำคัญ ดังต่อไปนี้


                            1)  ความสามารถขององค์กร (competence) คือ การพิจารณาว่า อปท. มีขีดความ
                      สามารถเพียงพอที่จะดำเนินงานและ/หรือจัดบริการสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพและ
                      ประสิทธิผลตามความคาดหวังของประชาชนหรือไม่


                            2)  ความซื่อตรงและเป็นธรรม (integrity) คือ การพิจารณาว่า อปท. ดำเนินงานอย่าง

                      โปร่งใส ตรงไปตรงมา เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร/การตัดสินใจที่สำคัญๆ และก่อให้เกิดความเป็น
                      ธรรมแก่ฝ่ายต่างๆ มากน้อยเพียงใด


                            3)  การเป็นที่พึ่งได้ (dependability) คือ การพิจารณาว่า อปท. สามารถปฏิบัติงานได้ตาม
                      อำนาจหน้าที่ที่กำหนดหรือตามที่ได้ให้คำมั่นสัญญาแก่ประชาชนหรือไม่ และสามารถปฏิบัติงาน

                      ได้คงเส้นคงวาอย่างต่อเนื่องมากน้อยเพียงใด


                            4)  การเข้าถึงและมีส่วนร่วมตัดสินใจ (control mutuality) คือ การพิจารณาจากมุมมอง
                      ของประชาชนว่าพวกเขารู้สึกว่าสามารถเข้าถึงหรือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจหรือต่อการบริหารงาน
                      ของ อปท. มากน้อยเพียงใด


                            5)  การยึดมั่นในองค์กร (commitment) คือ การประเมินว่าประชาชนรู้สึกผูกพันกับ อปท.
                      หรือสามารถทุ่มเทแรงกาย พละกำลัง หรือให้การสนับสนุนด้านต่างๆ ให้แก่ อปท. ได้อย่าง

                      ต่อเนื่อง (continued support) มากน้อยเพียงใด


                            โดยการทบทวนวรรณกรรมคณะนักวิจัยสามารถนำมาสร้างกรอบการวัดระดับความไว้วางใจ
                      ของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดังนี้



                         5   อปท. หมายถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                         6   ปรับปรุงความหมายจาก Moorman et al. (1993), Thom et al. (2004) และสำนักงานคณะกรรมการ         การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6
                      ข้าราชการพลเรือน (2550)
   651   652   653   654   655   656   657   658   659   660   661