Page 654 - kpi17073
P. 654
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 653
ความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน
110 แห่งทั่วประเทศ 1
1. บทนำ
การปฏิรูปการเมืองภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ส่งผลต่อการ
เปลี่ยนแปลงบทบาทและความสำคัญของการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น ทั้งนี้เพราะ
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมุ่งสู่การปฏิรูปการเมืองทั้งระบบ โดยหัวใจสำคัญ คือ การลดการรวม
ศูนย์อำนาจรัฐและกระจายอำนาจสู่ประชาชน และมีกลไกที่สำคัญประการหนึ่งคือ การเพิ่ม
บทบาทและความสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จวบจนปัจจุบันการกระจายอำนาจในประเทศไทยได้ดำเนินการล่วงมาเป็นเวลากว่าทศวรรษ
โดยที่ประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น ซึ่งก่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นหลายประการ อาทิ การเปิดโอกาสให้ประชาชน
เลือกสภาและผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลและมีส่วนร่วม
ในการบริหารกิจการของท้องถิ่น การกระจายอำนาจหน้าที่และงบประมาณ องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นมีบทบาทเป็นหน่วยงานหลักในการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน และองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งริเริ่มนวัตกรรมการบริหาร รวมถึงสนับสนุนความเข้มแข็งของ
ชุมชน
อย่างไรก็ตามการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังมีปัญหาหลายประการ
ได้แก่ ประการแรก กระบวนการกระจายอำนาจไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนงานที่กำหนด
ประการที่สอง ปัญหาในเชิงระบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถ
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ ประการที่สาม ปัญหาความไม่ไว้วางใจต่อองค์กรปกครอง
ส่วนถิ่น 4
จากสาเหตุปัญหาความไม่ไว้วางใจต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนี้ สำนักงานคณะกรรมการ
ข้าราชการพลเรือน (2550) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐว่า เป้าหมายสูงสุดของ
การปฏิบัติงานภาครัฐ คือ การได้มาซึ่งความไว้วางใจของประชาชน (public trust) นโยบายและ
เป้าหมายสำคัญของการบริหารงานภาครัฐเป็นการสร้างความศรัทธาในการบริหารราชการแผ่นดิน
ข้าราชการควรมีการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐและควรมีการ
พัฒนาระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพื่อป้องกันการประพฤติทุจริตและประพฤติมิชอบ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6
4 สถาบันพระปกเกล้า, 2557, น. 6