Page 657 - kpi17073
P. 657

656     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                       การวัดระดับความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นการพิจารณา
                  ว่าในมุมมองของประชาชนและภาคส่วนต่างๆ นั้น เห็นว่าขีดความสามารถของ อปท. และของ

                  บุคลากรท้องถิ่น (competence) มีเพียงพอที่จะดำเนินงานและ/หรือจัดบริการสาธารณะได้อย่างมี
                  ประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามความคาดหวังของประชาชนหรือไม่ ประชาชนและภาคส่วน
                  ต่างๆ สามารถให้ความไว้วางใจต่อ อปท. ว่าจะเป็นองค์กรที่เป็นที่พึ่งได้ (dependability) ในการ

                  ปฏิบัติงานหรือสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างลุล่วง เป็นต้น


                       ในประเด็นนี้ คณะนักวิจัยจะทำการสำรวจโดยพิจารณาจากข้อคำถามที่ว่า

                         ๏ ภาคประชาชนและ/หรือภาคส่วนต่างๆ รู้สึกมั่นใจในความรู้ความสามารถของ

                           คณะผู้บริหารและบุคลากรของ อปท. ว่าจะจัดบริการ/แก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ในชุมชน
                           ท้องถิ่นได้หรือไม่


                         ๏ ภาคประชาชนและ/หรือภาคส่วนต่างๆ คิดว่า อปท. มีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต
                           ประจำวันหรือการทำงานประกอบอาชีพของพวกเขาหรือไม่อย่างไร


                         ๏ ภาคประชาชนและ/หรือภาคส่วนต่างๆ มีมุมมองว่า อปท. เป็นองค์กรของประชาชน

                           เพราะทำงานเพื่อประโยชน์ของประชาชน และสามารถให้ความไว้วางใจได้ ตรวจสอบ
                           ได้หรือไม่อย่างไร


                       ในทำนองเดียวกัน หากภาคประชาชนมองเห็นว่าบริการสาธารณะที่พวกเขาต้องการนั้น
                  สามารถจัดหาได้จากส่วนราชการหรือองค์กรอื่นๆ ที่มิใช่ อปท. (reflexive evaluation) หรือใน

                  สภาวะปกติทั่วไปประชาชนรู้สึกว่าไม่ต้องการสนับสนุนหรือไม่เห็นคุณค่าในการมีอยู่ (existence)
                  ของ อปท. แล้วนั้น (valuation on local government worthiness) ก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าการ
                  ผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจในช่วงที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จในการยกระดับคุณภาพชีวิตของ

                  ประชาชนแต่ประการใด ดังนั้นการวัดความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อ อปท. จึงสามารถ
                  สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบ (impact) จากการจัดบริการสาธารณะของ อปท. ในขั้นสุดท้ายว่า

                  ประชาชนสามารถเชื่อถือไว้วางใจหรือฝากความหวังในการพัฒนาคุณภาพชีวิตกับ อปท. ได้มาก
                  น้อยเพียงใด (วีระศักดิ์ เครือเทพ และคณะ, 2556)



                  4. ระเบียบวิธีวิจัย



                           1  ประ ากร ละกล    ั    า

                          4.1.1  กลุ่มตัวอย่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6   ในครั้งนี้เป็นการประเมินถึงผลผลิต (output) และผลลัพธ์ (outcome) ในการจัดบริการ
                                      การวัดระดับความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



                  สาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  คณะนักวิจัยจึงกำหนดวิธีการศึกษาโดยใช้ข้อมูล
                  เชิงลึก (in-depth case study) จากกรณีตัวอย่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
   652   653   654   655   656   657   658   659   660   661   662