Page 655 - kpi17073
P. 655
654 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
รวมทั้งเพื่อเป็นการมุ่งเน้นการเสริมสร้างจิตสำนึกข้าราชการให้ประพฤติตนอย่างมืออาชีพและมี
คุณธรรม จริยธรรม และมีสมรรถนะความสามารถในการให้บริการประชาชน ดังนั้นความสำคัญ
ของความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อภาครัฐและข้าราชการยังมีความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหาร
จัดการภาครัฐ ดังนั้นความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล หน่วยงานราชการ และข้าราชการ
ก็คือ “ระดับของความมั่นใจที่ประชาชนมีต่อรัฐบาล หน่วยงานราชการ และข้าราชการในการทำ
สิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม ซื่อสัตย์ ในฐานะตัวแทนของปวงชนของประเทศ” โดยความไว้วางใจของ
ประชาชนมักวัดจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนและนำมาเปรียบเทียบตามกาลเวลาที่
ผ่านไป
ซึ่งกระแสความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (trust in local
government) และหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (local governance) นั้น
กำลังเป็นที่นิยมและกำลังได้รับความสนใจอย่างมากในต่างประเทศ เพราะถ้าหากองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นสามารถเสริมสร้างความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สูง
ขึ้น ดังตัวอย่างในประเทศหรือสังคมที่มีรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ
ทั่วโลกที่มีความก้าวหน้าในการกระจายอำนาจแล้วนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องมีการส่งเสริมให้
ประชาชนมีความไว้วางใจในหน่วยงานภาครัฐให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลควรมีการ
สนับสนุนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างจริงจังเพื่อเป็นการสร้างหน่วย
บริการสาธารณะแก่ประชาชนในระดับท้องถิ่น ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเมื่อได้รับอำนาจ
หน้าที่ ภารกิจ งบประมาณ อาจรวมถึงอำนาจในการตัดสินใจจากรัฐบาลแล้ว องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นนั้นควรที่จะนำภารกิจ/หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเหล่านี้ไปจัดบริการสาธารณะให้แก่
ประชาชนให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดและสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้เป็น
อย่างดี หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้อย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีความ
ซื่อสัตย์ และมีความยุติธรรมจะสามารถส่งเสริมให้ระดับความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นให้สูงขึ้นได้ (จักรพงษ์ หนูดำ, 2557)
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อศึกษาระดับความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ
ในประเทศไทย
2.2 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นที่โดดเด่นและไม่โดดเด่น (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่โดดเด่นประกอบด้วยองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นที่นำมาจับคู่เปรียบเทียบกับกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่โดดเด่นและ
กลุ่ม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำการสุ่มแบบทั่วไป)
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6