Page 660 - kpi17073
P. 660

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   659


                                   เ  น   ละเ ร            ้ นการ   ั

                               การวิจัยในครั้งนี้คณะนักวิจัยได้ทำการเลือกใช้เทคนิคการสำรวจภาคครัวเรือน
                      เพื่อทำการวัดระดับความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งคณะนักวิจัย

                      ได้มีการกำหนดแผนการเก็บข้อมูลจากภาคครัวเรือนด้วยวิธีการสำรวจ (household survey) และ
                      ใช้วิธีสุ่มแบบหลายชั้นเป็นระบบ (stratified, systematic sampling) โดยกำหนดให้ขนาด

                      กลุ่มตัวอย่างที่จะดำเนินการสำรวจในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาลตำบล
                      มีขนาดไม่ต่ำกว่า 100 ครัวเรือน พื้นที่เทศบาลเมืองจะดำเนินการสำรวจภาคครัวเรือนจำนวน
                      ไม่ต่ำกว่า 150 ครัวเรือน และพื้นที่เทศบาลนครจะดำเนินการสำรวจข้อมูลครัวเรือนเป็นจำนวน

                      ไม่ต่ำกว่า 200 ครัวเรือน


                               ในการสุ่มครัวเรือนนั้นจะใช้วิธีการสุ่มแบบหลายชั้นเป็นระบบ กล่าวคือคณะนักวิจัย
                      จะใช้จำนวนครัวเรือนใน อปท. เป็นตัวตั้ง จากนั้นนำตัวเลขเป้าหมายขนาดกลุ่มตัวอย่างไปหาร
                      ก็จะได้ตัวเลขช่วงระยะห่าง (skip number) ดังเช่น อบต. แห่งหนึ่งมีครัวเรือน 2,000 ครอบครัว

                      เป้าหมายการสำรวจคือจำนวน 100 ตัวอย่าง ก็จะได้ตัวเลขช่วงระยะห่างเท่ากับ 2,000 / 100 =
                      20 จากนั้น เมื่อลงพื้นที่ในแต่ละชุมชน แต่ละถนน แต่ละคุ้ม หรือแต่ละซอย (แล้วแต่กรณี) ก็จะ

                      เริ่มต้นสำรวจบ้านหลังแรกของชุมชน/ถนน/คุ้ม/ซอย จากนั้นจะนับถัดออกไปอีก 20 หลังจึงจะ
                      ดำเนินการสำรวจข้อมูลครัวเรือน ดังนี้เป็นต้น ซึ่งนักวิจัยจะดำเนินการเช่นนี้ซ้ำไปเรื่อยๆ จนได้
                      จำนวนกลุ่มตัวอย่างครัวเรือนครบตามที่ต้องการ


                               วิธีการสุ่มแบบหลายชั้นเป็นระบบเช่นนี้จะช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลมีการกระจายตัว

                      ทั่วทั้งชุมชน ซึ่งจะให้ข้อมูลที่มีความเป็นตัวแทนประชาชนในชุมชนได้สูงกว่าวิธีการสุ่มตามสะดวก
                      (convenient sampling) และเป็นวิธีการได้รับการทดสอบมาหลายครั้งก่อนหน้านี้แล้วว่าให้ผลการ
                      สำรวจที่มีความน่าเชื่อถือสูงตามหลักการสถิติ  ดังนั้นในภาพรวมการสำรวจข้อมูลครัวเรือนคาดว่า
                                                                7
                      จะได้ผลดังนี้





























                          7   ตัวอย่างเช่น ถวิลวดี บุรีกุล และโรเบิร์ต บี อัลบริตตัน (2550), ถวิลวดี บุรีกุล (2554) และวีระศักดิ์ เครือเทพ   การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6
                      (2555) เป็นต้น
   655   656   657   658   659   660   661   662   663   664   665