Page 662 - kpi17073
P. 662
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 661
ผู้ที่รับบริการ/ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในระดับ อบจ. จะเปิดโอกาสให้มีการสื่อสารและแลกเปลี่ยน
ข้อมูลแบบสองทาง (two-way) ในเชิงลึกอันเป็นวิธีการที่ช่วยให้คณะนักวิจัยได้รับข้อมูลที่มีความ
น่าเชื่อถือสูงนั่นเอง
การ เ ราะ ้ ล
4.3.1 การใช้สถิติพรรณนา (descriptive analysis) เช่น ค่าเฉลี่ย ร้อยละ
ค่า S.D. เป็นต้น
5. ผลการวิจัย
1 บ สร ป
ในด้านความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อ อปท. กลุ่มตัวอย่างนั้นอยู่ในระดับ
ปานกลางค่อนข้างดี กล่าวคือ ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าการดำเนินงานของ อปท. มีประโยชน์
หรือจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของพวกเขา (ผู้ที่สำรวจจำนวน 7,020 คนหรือร้อยละ
61.8 ไม่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำถามข้อ (4)) และยังคงเห็นว่า อปท. เป็นองค์กร
ของภาคประชาชน ทำงานเพื่อประโยชน์และ/หรือสามารถตรวจสอบควบคุมได้โดยภาคประชาชน
(ผู้ที่สำรวจจำนวน 7,447 หรือร้อยละ 65.6 ไม่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำถาม
ข้อ (6)) นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังคงมั่นใจในความรู้ความสามารถของผู้บริหารและ
บุคลากรของ อปท. เป็นอย่างดี (จำนวน 8,517 คนหรือร้อยละ 74.8 เห็นด้วยหรือเห็นด้วยอย่าง
ยิ่งกับคำถามข้อ (1)) 9
ในประเด็นต่อมา เรื่องความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของ อปท. กลุ่มตัวอย่าง
ในครั้งนี้พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มองว่าอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ กล่าวคือ แม้กลุ่ม
ตัวอย่างส่วนใหญ่จะแจ้งว่าพวกเขาได้รับข้อมูลข่าวสารจาก อปท. อย่างเปิดกว้างเกี่ยวกับดำเนิน
โครงการต่างๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติ
(จำนวน 6,969 คนหรือร้อยละ 61.3 เห็นด้วยหรือเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำถามข้อ (3)) แต่
อย่างไรก็ดี ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความมั่นใจนักต่อประเด็นความโปร่งใสและสุจริตของ อปท.
ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ (จำนวน 6,310 คนหรือร้อยละ 55.7 ไม่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่งกับคำถามข้อ (5)) แต่ถึงกระนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่ต้องการย้ายออกไปอยู่
พำนักใน อปท. แห่งอื่นๆ ที่มีการทำงานโปร่งใสหรือสุจริตกว่าแต่ประการใด (ผู้ที่สำรวจจำนวน
9,309 คนหรือร้อยละ 82.0 ไม่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำถามข้อ (8))
ประเด็นที่สามเป็นเรื่องความคุ้มค่าขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้สำรวจ
ส่วนใหญ่เห็นว่า อปท. โดยรวมมีบุคลากรที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นตามแนวทางหรือ
นโยบายที่ได้นำเสนอต่อประชาชน (จำนวน 7,005 คนหรือร้อยละ 61.6 ไม่เห็นด้วยหรือไม่เห็น
ด้วยอย่างยิ่งกับคำถามข้อ (2)) และไม่ประสงค์จะเห็นการยุบเลิก อปท. แต่ประการใด (ผู้ที่ได้ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6
9 รายละเอียดของข้อคำถามดูได้จากตารางที่ 3 หน้าถัดไป