Page 649 - kpi17073
P. 649
648 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ควบคู่กับการขยายทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือการปรับโครงสร้างรายได้ที่มีอยู่ของท้องถิ่น ทั้งโดย
การสร้างแรงจูงใจให้ท้องถิ่นสามารถจัดเก็บรายได้ในประเภทภาษีที่ท้องถิ่นได้รับอำนาจในการจัด
เก็บแล้วในเต็มที่หรือการเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดเก็บ ซึ่งในประเด็นการเพิ่มความสามารถใน
การจัดเก็บยังประกอบด้วยหลักการกำหนดประเภทรายได้ (Revenue Assignment) ที่ท้องถิ่น
สามารถจัดเก็บได้เอง อีกประการนั้นมาจากความยินดีที่จะจ่าย (Willingness to Pay) ของผู้มี
ภาระทางภาษีโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในพื้นที่ ผู้ประกอบการ ในประเภทภาษี อาทิ ภาษี
โรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ เป็นต้น ดังนั้นท้องถิ่นควรมีเงื่อนไขในการชักจูงใจให้ผู้มีภาระ
ทางภาษีมีความเต็มใจที่จะจ่ายภาษีให้แก่ท้องถิ่น อาทิ การเพิ่มระดับความสามารถในการให้
บริการสาธารณะจนเป็นที่พึงพอใจของประชาชนเพื่อให้ประชาชนเล็งเห็นว่าภาษีที่จ่ายให้แก่
ท้องถิ่นนั้นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยตรงภายในพื้นที่ การยกเว้น หรือการลดหย่อนภาษีสำหรับ
ผู้มีรายได้ต่ำ เป็นต้น
ทั้งนี้การพัฒนาการกู้ยืมของ อปท.สามารถทำทั้งการเพิ่มโอกาสจากการกู้ยืมโดยตรงจาก
สถาบันการเงินต่างๆ และการกู้ยืมทางอ้อมโดยการขายพันธบัตรของ อปท.ให้แก่ประชาชนทั่วไป
หรือแก่สถาบันการเงินที่สนใจให้กู้ยืมแก่ อปท.ซึ่งในการสร้างเงื่อนไขของการกู้ยืมขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นจำเป็นต้องมีการศึกษาวางกรอบแนวทางที่รัดกุมเพื่อเป็นการป้องกันปัญหา
การไม่มีวินัยการเงินการคลังในการกู้ที่อาจส่งผลต่อฐานะการคลังของประเทศได้ โดยแนวทางหนึ่ง
คือการพัฒนาจัดตั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อสนับสนุนการกู้ยืมของ อปท.เพื่อใช้ในการลงทุน
ในโครงการพัฒนาโรงสร้างพื้นฐานหรือโครงการที่อาจสร้างรายได้กลับคืนมา (Cost Recovery
Project) ให้แก่ท้องถิ่น
สรุป
สิ่งที่ควรพิจารณาเพื่อการเดินหน้าการกระจายอำนาจการคลังฯ ต่อไปคือการเสริมสร้าง
ความเข้มแข็งทางการคลังให้แก่ อปท. ทั้งการเพิ่มประเภทแหล่งรายได้ใหม่ๆ ให้แก่ อปท. ที่ยังคง
มีจำกัดอยู่ เพื่อให้ความสามารถทางการคลังของตนเองแล้ว ยังจะช่วยสร้างความเป็นอิสระการ
ตัดสินใจที่แท้จริงของ อปท. ที่จะทำให้รักษาอำนาจในการบริหาร (Self-Autonomy) ของ อปท.
ไว้ด้วย โดยการเพิ่มรายได้ของ อปท. ต้องตัดสินใจในประเภทของแหล่งที่มาของรายได้ที่ควรได้รับ
ว่าจะมาจากแหล่งรายได้จากการภาษีจัดสรรหรือจากการอุดหนุนงบประมาณของรัฐบาล รวมทั้ง
ศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ของ อปท. เพื่อเป็นการลดแรงกดดันทางการคลังของ
รัฐบาลเอง แต่ต้องมีการศึกษาสร้างหลักเกณฑ์ความเข้มแข็งทางการเงินและการคลังก่อน เพื่อ
ป้องกันการล้มละลายทางการเงินของ อปท. และการผลักภาระการชำระคืนไปในอนาคตของ
ผู้บริหาร อปท. ปัจจุบัน
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6 จัดการและความเข้มแข็งทางการเงินการคลังของ อปท. จึงน่ามีการศึกษาพัฒนาจัดทำการ
รวมทั้งการสร้างเครื่องมือประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ที่สะท้อนความสามารถในการบริหาร
ประเมินอันดับความน่าเชื่อถือของ อปท. ในมิติต่างๆ (Rating) เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบและ
การเข้าช่วยเหลือส่งเสริมการทำหน้าที่ได้อย่างถูกต้องกับเป้าหมายของ อปท.