Page 647 - kpi17073
P. 647

646     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  แนวทางการปฏิรูปการกระจายอำนาจการคลัง

                  ให้แก่ อปท. : ด้านรายได้



                       เรื่องเร่งด่วนที่ควรดำเนินการกระจายอำนาจการคลังฯ ด้านรายได้คือการกำหนดการแบ่ง
                  แหล่งรายได้ที่เป็นอยู่ปัจจุบันให้แก่แต่ละรูปแบบ อปท. ออกจากกันให้ชัดเจน ปัญหาใหญ่ของ
                  การกระจายอำนาจการคลังฯ ที่ผ่านมาคือความไม่ชัดเจนของความเป็นเจ้าของรายได้ของ อปท.

                  ที่มีต่อแหล่งรายได้ตามที่กฎหมายต่างๆ กำหนดไว้ เมื่อมีการออกกฎหมายแผนและขั้นตอน
                  การกระจายอำนาจฯ พ.ศ. 2542 ได้คาดหวังว่าจะเป็นกฎหมายที่ช่วยให้เกิดความชัดเจนของ

                  ความเป็นเจ้าของแหล่งรายได้ของแต่ละประเภท อปท. แต่การตีความกฎหมายไม่อาจเป็นไปตาม
                  เจตนารมย์ของกฎหมายที่ตั้งใจไว้ เป็นผลให้เกิดความทับซ้อนของการเรียกร้องความเป็นเจ้าของ
                  ในการจัดสรรรายได้ที่ให้แก่ อปท. ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา


                       การแสดงความเป็นเจ้าของแหล่งรายได้ของแต่ละประเภท อปท. นอกจากจะช่วยลดความ
                  ทับซ้อนและแย่งฐานรายได้กันเองระหว่าง อปท. ยังเป็นเครื่องมือช่วยแสดงสถานะทางการเงิน

                  การคลังของ อปท. ที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร ซึ่งการรู้สถานะการเงินการคลังแท้จริงของ อปท.
                  ทำให้สามารถพิจารณาได้ถึงช่องว่างทางการคลัง (Fiscal Gap) ที่แต่ละ อปท. มีอยู่เมื่อ

                  เปรียบเทียบกับขนาดของภารกิจที่รับผิดชอบ ทำให้รัฐบาลได้รับรู้ว่าจำเป็นต้องช่วยสนับสนุน
                  การคลังแก่ อปท. มากน้อยอย่างไร


                       การรวมรายได้ภาษีที่มีฐานระดับจังหวัด เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษียานยนต์
                  ล้อเลื่อน ภาษียาสูบ สุรา สรรพสามิต ฯลฯ ที่มีปัญหาในการจัดสรร นำมาจัดเป็นระบบภาษีแบ่ง

                  (Tax Sharing System: TSS) สำหรับ อปท. ในแต่ละจังหวัด โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขความ
                  แตกต่างของขนาดภารกิจหน้าที่ กับรายได้ของ อปท. ด้วยกันเอง โดยมีตัวแปรสูตรการจัดสรร

                  เช่น จำนวนถนนที่แต่ละ อปท. รับผิดชอบดูแล

                       นอกจากนี้ยังจำเป็นที่ต้องเร่งรัดการออกภาษีใหม่ๆ ให้แก่ อปท. โดยภาษีที่ค้างการ

                  พิจารณาดำเนินการอยู่ที่สำคัญได้แก่ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่จะนำมาทดแทนภาษีโรงเรือน
                  และที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งภาษีทั้งสองชนิดถูกใช้มาเป็นเวลานาน และขาดการพัฒนาให้

                  เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในพื้นที่ท้องถิ่นปัจจุบัน

                       ภาษีอื่นที่ควรพิจารณาเพื่อเพิ่มฐานรายได้ และการทำหน้าที่แก้ไขปัญหาเฉพาะด้านของ

                  อปท. ที่สำคัญคือ “ภาษีการใช้เครื่องมือเศรษฐศาสตร์เพื่อแก้ไขสิ่งแวดล้อม” ที่เปิดโอกาสการใช้
                  ภาษีและค่าธรรมเนียมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างกว้างขวางโดยเป้าหมายของภาษีนี้อาจไม่ได้

                  มุ่งเพื่อเป็นการหารายได้ แต่เป็นเครื่องมือให้แก่ อปท. นำไปใช้ในการกำกับดูแลสิ่งแวดล้อม และ
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6   อปท. ในต่างประเทศที่น่าสนใจพิจารณาได้แก่ ภาษีอยู่อาศัย (Inhabitant Tax)
                  แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของท้องถิ่น

                       นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอตัวอย่างของภาษีใหม่ๆ ที่มีการนำมาใช้เพื่อเป็นแหล่งรายได้ของ
   642   643   644   645   646   647   648   649   650   651   652