Page 646 - kpi17073
P. 646
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 645
อปท. เพื่อสามารถนำไปใช้บริหารรายจ่ายงบประมาณสำหรับภารกิจตามนโยบายของ
รัฐบาล หรือมีความจำเป็นอย่างเฉพาะเจาะจงในพื้นที่ได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ควรพิจารณาในลำดับต่อมาคือ หากวิธีการจัดสรรงบประมาณให้แก่
อปท. ได้เน้นไปในลักษณะการจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นสำคัญ อาจส่งผลให้การให้บริการ
สาธารณะในพื้นที่เป็นการตอบสนองต่อแนวนโยบายของรัฐบาลมากกว่าจะเน้นความ
เป็นอิสระตามเจตนารมณ์ของการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. และไม่เป็นการสนับสนุน
ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมตัดสินใจเพื่อกำหนดทิศทางการให้บริการสาธารณะในพื้นที่
เมื่อเปรียบเทียบการจัดสรรงบประมาณทั้งในส่วนของภาษีจัดสรร และเงินอุดหนุนให้แก่
อปท. คือ งบประมาณที่จัดสรรให้แก่ อปท. ในภาพรวม แม้ว่าจะมีขนาดงบประมาณที่สูงขึ้น
โดยตลอด แต่เมื่อพิจารณาแนวโน้มสัดส่วนระหว่างภาษีจัดสรรและเงินอุดหนุน พบว่า รายได้ทั้ง
2 ประเภทของ อปท. มีสัดส่วนที่ผกผันกันเสมอ ซึ่งความผันผวนดังกล่าวสามารถการใช้
เครื่องมือการคลังของรัฐบาลเพื่อบริหารการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐบาลได้ว่า ภายใต้
กระบวนการกระจายอำนาจฯ ที่มีการพัฒนามากขึ้นเป็นลำดับนั้น การกำหนดทิศทางและขนาด
ของการกระจายอำนาจฯ ในภาพรวมนั้นถูกกำกับโดยอ้อมจากการจัดสรรทรัพยากรทั้งจากภาษี
จัดสรรตามกฎหมายรายได้ต่างๆ และจากงบประมาณรายจ่ายเพื่อเป็นเงินอุดหนุนให้แก่ อปท.
ที่ถูกกำหนดอย่างชัดเจนจากเกณฑ์การจัดสรรตามแนวนโยบายของรัฐบาล ซึ่งความแตกต่างของ
วิธีการจัดสรรทรัพยากรจากภาษีจัดสรรและงบประมาณเพื่อเป็นเงินอุดหนุนให้แก่ อปท. ย่อมเป็น
เครื่องแสดงการวางแผนการบริหารงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาลที่ต้องการรักษาบทบาทของ
รัฐบาลต่อการพัฒนาประเทศในภาพรวม มากกว่าการเป็นกลไกส่งเสริมการพัฒนาการกระจาย
อำนาจฯ
จากข้อจำกัดนโยบายรัฐบาลต่อการกระจายอำนาจฯ และการพัฒนาของโครงสร้างรายได้
อปท. ที่กล่าวไว้ข้างต้นที่ถือเป็นอุปสรรคสำคัญด้านรายได้ของ อปท. ซึ่งเป็นสาเหตุของขนาด
รายได้จัดเก็บเองของ อปท. ต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง เป็นผลให้สัดส่วนรายได้สำคัญมาจากการ
จัดสรรรายได้จากรัฐบาลทั้งในรูปภาษีและเงินอุดหนุนสะท้อนให้เห็นภาวการณ์การขาดความเป็น
อิสระทางการคลังเพื่อใช้ในการให้บริการสาธารณะ ควบคู่กับปัญหาของความไม่ชัดเจนในการ
กำหนดภารกิจบริการสาธารณะที่มอบหมายภารกิจจากส่วนราชการเดิมทำให้เกิดความทับซ้อน
ของการทำงานของส่วนราชการเดิมและ อปท.
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ท้าทายต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการคลังของ อปท. คือ การ
พัฒนาโครงสร้าง กลไกต่างๆ ที่มีความเหมาะสม พอเพียง เพื่อเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตของ
ประชาชนในระดับพื้นที่ได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ หลักประกันที่สำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการ
ปรับโครงสร้างการคลังท้องถิ่นได้นั้นขึ้นอยู่กับความพัฒนาโครงสร้างทางการคลังในภาพรวมควบคู่
กันเพื่อให้เกิดความสอดคล้องของการกำหนดนโยบายทั้งรายได้ รายจ่าย และการก่อหนี้
สาธารณะที่มีความสมดุลยั่งยืน การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6