Page 648 - kpi17073
P. 648
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 647
กำหนดประเภทการให้เงินอุดหนุนของรัฐบาลให้มีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าเพื่อเป้าหมาย
๏ เพิ่มรายได้แก่ อปท.
๏ การันตีบริการสาธารณะบางประเภทที่ต้องให้แก่ประชาชนเช่น การศึกษา ฯลฯ
๏ ส่งเสริมการให้บริการสาธารณะบางประเภท เช่น โครงสร้างพื้นฐาน
๏ แก้ไขปัญหาที่เป็นผลภายนอก เช่น สิ่งแวดล้อม
๏ เสริมบทบาทการทำหน้าที่ที่เกินศักยภาพของ อปท. ตัวอย่าง โครงสร้างพื้นฐานขนาด
ใหญ่ที่จำเป็นของพื้นที่
๏ เป้าหมายอื่นๆ ที่รัฐบาลต้องการ อาทิ การดูแลกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
การแก้ไขความยากจนและเหลื่อมล้ำ การพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ฯลฯ
จากเป้าหมายของการใช้เงินอุดหนุนที่หลากหลาย ทำให้รูปแบบการให้เงินอุดหนุนจึงไม่ควร
จำกัดเพียงแบบ “ทั่วไป” และ “เฉพาะกิจ” เท่านั้น
รวมทั้งวิธีการให้เงินอุดหนุนควรปรับปรุงสูตรการให้ตามเป้าหมายที่กำหนดล่วงหน้ามากกว่า
จะพิจารณาเพียงขนาดของเงินอุดหนุนที่จะจัดสรรให้แก่ อปท.
แต่ไม่ได้หมายความว่าควรยกเลิกเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ เพราะยังมีประโยชน์ที่ต้อง
เปิดโอกาสให้หน่วยราชการอื่นๆ ที่ดูแลบริการสาธารณะรายโครงการหรือแก้ไขปัญหาเฉพาะพื้นที่
ที่ต้องการใช้จ่ายในพื้นที่ อปท. เข้ามาร่วมพิจารณาในการกำหนดการจัดสรร เนื่องจากเป็นเครื่อง
มือสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
สูตรการจัดสรรเงินอุดหนุนเมื่อมีการจำแนกวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนแล้ว การจัดสรรควรต้อง
มีข้อมูล วิธีการจัดสรรที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องให้ได้รับประโยชน์จากเงินอุดหนุน เช่น
กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการ ฯลฯ จำเป็นต้องมีข้อมูลของประชากรกลุ่มเหล่านี้ประกอบในการ
จัดสรร
การพัฒนาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนทั้งที่มาจากการกู้ยืม และตลาดทุน เพื่อให้เกิดการ
เพิ่มขึ้นของทรัพยากรทางการเงินของ อปท.ที่ทำให้มีการเพิ่มศักยภาพการให้บริการสาธารณะ
ในพื้นที่ หรืออาจกล่าวได้ว่าการเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรทางการเงินทำให้การให้
บริการสาธารณะปรับเปลี่ยนจากการทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากทางกฎหมายเป็นการ
พัฒนาการให้บริการเชิงรุกมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดีการพัฒนาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนไม่ว่าจะ
เป็นการกู้ยืม หรือการลงทุนในตลาดทุนจำเป็นต้องอยู่บนเงื่อนไขวินัยทางการคลังของ อปท.
ควบคู่กัน เพื่อให้การบริหารงบประมาณของ อปท.เกิดภาวะสมดุลระหว่างเสถียรภาพและความมี
อิสระทางการเงินการคลัง อย่างไรก็ดีการพัฒนาการเข้าถึงแหล่งเงินทั้งจากการกู้ยืม และตลาดทุน การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6
นั้นเป็นช่องทางสนับสนุนการด้านการเงินให้แก่ อปท. ที่สำคัญจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้มากขึ้น