Page 645 - kpi17073
P. 645
644 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
จะพบว่าแนวโน้มการจัดสรรรายได้ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา รายได้ของ อปท. ในภาพรวมทั้ง
ประเทศแม้มีขนาดงบประมาณที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกแหล่งรายได้แต่ขนาดงบประมาณที่เพิ่มขึ้นนั้นมา
จากแหล่งรายได้สำคัญ 2 ประเภท ได้แก่ รายได้จากภาษีจัดสรร และรายได้จากเงินอุดหนุน
ซึ่งเป็นผลจากการได้รับจัดสรรของรัฐบาลทั้งสิ้น ซึ่งโดยหลักการแล้วอาจกล่าวได้ว่ารายได้ทั้ง
2 ประเภทนั้นถือเป็นรูปแบบรายได้ในลักษณะการถ่ายโอนงบประมาณจากรัฐบาล
(Intergovernmental Fiscal Transfer) ซึ่งมีความแตกต่างกันที่ขั้นตอนและกระบวนการจัดสรร
รายได้ระหว่างภาษีจัดสรร และเงินอุดหนุน กล่าวคือ
1) ภาษีจัดสรร หรือภาษีร่วม (Tax Sharing) ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ตามกฎหมายอย่าง
เคร่งครัด โดยกำหนดวิธีการแบ่งรายได้จากภาษีประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือหลาย
ประเภทให้แก่ อปท. ตามอัตราและฐานการจัดสรรที่มีการกำหนดไว้ โดยมีเป้าหมาย
เพื่อให้ อปท. ที่ได้รับการจัดสรรไปนั้นสามารถใช้ดุลพินิจในการใช้จ่ายเงินดังกล่าวไป
ตามภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อปท. โดยการใช้จ่ายดังกล่าวจะไม่มีข้อผูกพัน
อย่างในกรณีการจัดสรรรายได้ประเภทเงินอุดหนุนให้แก่ อปท. ข้อดีของภาษีจัดสรรคือ
เป็นระบบการจัดสรรที่มีความชัดเจน ทำให้ อปท. สามารถคาดการณ์ขนาดรายได้ดีขึ้น
ซึ่งส่งผลต่อการวางแผนในการให้บริการสาธารณะทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพได้ดียิ่ง
ขึ้นอย่างไรก็ดีสิ่งที่ควรพิจารณาในลำดับต่อมาในส่วนของภาษีจัดสรร คือ ฐานภาษีที่มี
การจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งให้แก่ อปท. อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต นั้น
มีความผูกพันสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในแต่ละช่วงเวลา ดังนั้น
หากแนวทางการจัดสรรให้แก่ อปท. ยึดแนวทางดังกล่าวเป็นสำคัญย่อมทำให้ในบาง
ช่วงขนาดงบประมาณจากภาษีจัดสรรอาจลดลง อันเนื่องมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ
และส่งผลต่อการรักษาคุณภาพการให้บริการสาธารณะในพื้นที่
2) เงินอุดหนุน (Grants) โดยทั่วไปประกอบด้วย 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) เงินอุดหนุน
ทั่วไป (General Grant) หมายถึงเงินโอนที่รัฐบาลกลางจัดให้แก่ อปท. เพื่อให้ อปท.
ใช้จ่ายโดยทั่วไปในภารกิจต่างๆ โดยไม่มีเงื่อนไขข้อจำกัด 2) เงินอุดหนุนแบบก้อน
(Block Grant) เป็นงบจัดสรรประเภทหนึ่งที่รัฐบาลกลางจัดสรรให้แก่ อปท. โดยมีการ
ระบุเงื่อนไขในการจัดทำภารกิจใดภารกิจหนึ่งตามที่มีการตกลงกัน แต่การใช้จ่ายนั้น
ยังคงให้ความอิสระแก่ อปท. ในการบริหารค่าใช้จ่ายจากเงินดังกล่าว 3) เงินอุดหนุน
เฉพาะกิจ (Specific Grant) เป็นการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลกลาง เพื่อให้ อปท.
ดำเนินการภารกิจอย่างเฉพาะเจาะจงเป็นรายกิจกรรม ไม่ให้อิสระในการบริหาร
งบประมาณแก่ อปท. ทั้งนี้ เงินอุดหนุนทั้ง 3 ประเภทมีจุดร่วมแนวทางการจัดสรร
ที่การจัดสรรเงินอุดหนุนนั้นเป็นอำนาจในการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณโดยรัฐบาล
หรืออาจกล่าวได้ว่าการจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่ อปท. จึงเป็นการใช้จ่ายงบประมาณใน
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6 เชิงนโยบายเป็นสำคัญ โดยเป้าหมายของการจัดสรรเงินอุดหนุนคือ การทำให้นโยบาย
การพัฒนาประเทศไปในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งในกรณีงบประมาณที่ไม่มีการระบุ
ภารกิจไว้ให้ทำอย่างชัดเจนนั้น ก็ย่อมสร้างความยืดหยุ่นเป็นอิสระทางการคลังให้แก่