Page 640 - kpi17073
P. 640

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   639


                            นอกจากนี้ ภายใต้โครงสร้างรายได้ที่มีอยู่ปัจจุบันของ อปท. ที่รับมอบอำนาจและจัดสรรให้
                      ดูแลจัดการนั้น ยังมีข้อที่พึงพิจารณาได้ในประเด็นต่อไปนี้คือ


                             1) ความทับซ้อนของโครงสร้างรายได้ระหว่าง อปท. ด้วยกันเองยังมีอยู่มาก ตัวอย่างเช่น
                                รายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ทุกประเภทของอปท. มีส่วนร่วมในการรับจัดสรรจากรัฐบาล

                                เหมือนๆ กันทุกประเภท หรือ รายได้จากค่าภาคหลวงแร่ และปิโตรเลียมผลคือทำให้
                                เกิดการแย่งชิงรายได้ประเภทดังกล่าวด้วยกันเองระหว่าง อปท. ซึ่งเป็นปัญหาของการ

                                จัดสรรรายได้ให้กับแต่ละประเภท อปท. ในแต่ละปีงบประมาณ ปัญหานี้จะแก้ไขได้
                                หากมีการกำหนดความเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงของแหล่งรายได้ระหว่าง อปท. กันใหม่
                                ไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกันอย่างปัจจุบัน


                            2) โครงสร้างรายได้ที่มีการใช้อยู่ไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างของโครงสร้างเศรษฐกิจและ

                                สังคม โดยเฉพาะความเป็นเมืองและชนบทของ อปท. โดยเฉพาะกรณีระหว่างเทศบาล
                                และองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีสภาพเศรษฐกิจสังคม โครงสร้างกายภาพทาง
                                ภูมิศาสตร์และความต้องการบริการสาธารณะที่แตกต่างกัน แต่โครงสร้างรายได้

                                ที่เหมือนกัน ดังนั้นความคาดหวังการเป็นแหล่งรายได้ที่ดีที่สะท้อนความต้องการและ
                                ความแตกต่างของบริการสาธารณะของประชาชนในแต่ละพื้นที่ท้องถิ่นไม่อาจทำได้

                                รวมทั้งทำให้โครงสร้างรายได้ที่จะสร้างรายได้ให้เพียงพอกับต้นทุนการใช้จ่ายจึงเป็น
                                เรื่องยากลำบาก


                            3) ข้อน่าสังเกตที่สำคัญของวิธีการจัดสรรรายได้ที่เป็นอยู่นั้น แม้จะมีความพยายามในการ
                                สร้างความเท่าเทียมระหว่าง อปท. ด้วยกัน แต่วิธีการจัดสรรถูกจำกัดด้วยข้อมูลและ

                                ตัวแปรที่สามารถนำมาใช้ในการจัดสรรที่สะท้อนความแตกต่างของภาระการใช้จ่ายและ
                                หน้าที่ที่แตกต่างกันระหว่าง อปท. จึงทำให้ช่องว่างความแตกต่างทางการคลังของ
                                รายรับและรายจ่ายระหว่าง อปท. มีเพิ่มมากยิ่งขึ้น เพราะต้นทุนการใช้จ่ายในแต่ละ

                                ภารกิจกับขนาดรายรับที่ได้รับการจัดสรรไม่ได้มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน อปท. ที่มี
                                ขนาดรายรับน้อยแต่มีภารกิจที่มีต้นทุนในการจัดการสูงจะไม่มีโอกาสได้รับการจัดสรร

                                รายได้เพิ่มมากขึ้นเพียงพอกับภาระค่าใช้จ่ายภายใต้สูตรวิธีการจัดสรรปัจจุบัน


                            ปัญหาที่กล่าวมาจึงทำให้ต้องมีการทบทวนการกำหนดรายรับที่เหมาะสมกับแต่ละประเภท
                      อปท. สร้างความเป็นเจ้าของของแหล่งรายได้ และยังต้องพิจารณาถึงสูตรวิธีการจัดสรรรายได้ของ
                      รัฐบาลทั้งที่อยู่ในรูปของภาษีจัดสรร และเงินอุดหนุนให้มีความสอดคล้องกับภาระค่าใช้จ่ายหรือ

                      ขนาดภารกิจที่ได้ถ่ายโอนให้แก่แต่ละ อปท. ประกอบด้วย ทั้งนี้การปรับปรุงทั้งสองประการ
                      ต้องเร่งดำเนินการเพื่อไม่ให้ความแตกต่างทางการคลังระหว่าง อปท. ขยายตัวมากกว่าที่เป็น และ

                      จะแก้ไขได้ยากลำบากมากขึ้นหากไม่มีการดำเนินการใดๆ

                            ที่สำคัญในการพิจารณาการแบ่งความเป็นเจ้าของประเภทรายได้ที่มอบหมายให้แก่ อปท.

                      แต่ละประเภทนั้น ยังต้องคำนึงเป้าหมายการรองรับการทำหน้าที่แทนรัฐบาล ซึ่งอาจมีความ                   การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6
                      แตกต่างกันตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้แก่แต่ละประเภทของ อปท. อาทิ ระหว่างเทศบาล
   635   636   637   638   639   640   641   642   643   644   645