Page 636 - kpi17073
P. 636

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   635


                      ของเศรษฐกิจต่างประเทศที่เกิดขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอของโครงสร้างเศรษฐกิจไทย
                      ในการสนับสนุนจากปัจจัยภายในประเทศทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา คุณภาพชีวิตของ

                      ประชาชนในประเทศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการปรับตัวรองรับการแข่งขันของประเทศ

                            ประกอบกับแนวนโยบายของภาครัฐทั้งที่กำหนดอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และที่เป็นนโยบาย

                      ของรัฐบาลเองในการเพิ่มระบบสวัสดิการทางสังคมทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข การดำรงชีพ ฯลฯ
                      ที่มอบให้แก่ประชาชน รวมทั้งโอกาสการเข้าถึงบริการสาธารณะของประชาชนที่ยังมีข้อจำกัดอยู่

                      นอกจากนี้การให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และการมุ่งวางรากฐานธรรมาภิบาล
                      ของประเทศนำมาสู่การตื่นตัวทางการเมืองในทุกๆ ระดับของประเทศขณะเดียวกันประสิทธิภาพ
                      ภาครัฐมีแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมที่ดีขึ้น ระดับขีดความสามารถการแข่งขันของไทย

                      ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐในระยะแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ถึง
                      10 ลำดับจากลำดับที่ 27 ในปี 2550 เป็นลำดับที่ 18 ในปีในปี 2553 มีสาเหตุมาจากการ

                      ปรับโครงสร้างระบบราชการให้การบริหารงานมีอิสระและคล่องตัวมีการกระจายอำนาจจากส่วน
                      กลางสู่ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นได้ผลเป็นรูปธรรมโดยจังหวัดสามารถจัดทำแผนและตั้งคำขอ
                      งบประมาณของจังหวัดได้เอง


                            การกระจายอำนาจให้แก่ อปท. ได้มีความคืบหน้ามากขึ้นในระดับหนึ่ง แต่ในรายละเอียด

                      ของการเพิ่มบทบาทการพัฒนาในระดับพื้นที่ระหว่างราชการส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นยังประสบ
                      ปัญหากับความชัดเจนในเชิงนโยบายระดับชาติที่ดำเนินการ เป็นผลให้การกระจายอำนาจฯ
                      ที่เสริมสร้างความเข้มแข็งของ อปท.  และชุมชนต้องประสบกับความไม่ชัดเจนในการดำเนินการ

                      ต่อเนื่องจากแนวทางที่ได้ดำเนินการมาในอดีต แม้จะมีการเพิ่มขึ้นของการจัดสรรรายได้ของ
                      รัฐบาลที่ให้แก่ อปท. ก็ตาม อย่างไรก็ตามความสำเร็จของการกระจายอำนาจฯ ไม่อาจวัดได้เพียง

                      การพิจารณาจากขนาดเงินงบประมาณที่ อปท. ได้รับสำหรับการใช้จ่ายให้บริการสาธารณะที่ได้มี
                      การถ่ายโอน แต่จำเป็นต้องพิจารณาความสำเร็จที่แท้จริงทั้งจากความเข้มแข็งทางการเงินการคลัง
                      ที่มีอยู่จริง และศักยภาพการพัฒนาทางการเงินและการคลังในอนาคตของอปท. ภายใต้

                      สถานการณ์ที่เป็นอยู่จริง


                            ดังนั้น ตลอดช่วงระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา การบริหารงานภาครัฐได้มีการปรับปรุง
                      โครงสร้างระบบราชการให้การบริหารงานมีอิสระและคล่องตัวมีการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.
                      ให้ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานร่วมในการจัดสรรทรัพยากร และให้บริการสาธารณะในระดับพื้นที่

                      ทำงานอย่างใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด  หากพิจารณาบทบาทของอปท. ในแง่ปัจจัยเสริมสร้าง
                      ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11

                      แสดงให้เห็นบทบาทความสำคัญของ อปท. ในฐานะหน่วยงานส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
                      ท้องถิ่นชุมชนผู้ประกอบการรายย่อยวิสาหกิจชุมชนและบุคลากรภาครัฐเพื่อร่วมกันพัฒนาและ
                      เชื่อมโยงกับสาขาการผลิตและบริการที่เกี่ยวเนื่องในพื้นที่ตามแนวทางการพัฒนาเครือข่าย

                      วิสาหกิจพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ของบุคลากรภาครัฐอปท. และชุมชนรวมทั้งเสริมสร้าง
                      ศักยภาพของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถปรับตัวเพื่อรองรับ                       การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6

                      ผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามกฎระเบียบใหม่ของโลก
   631   632   633   634   635   636   637   638   639   640   641