Page 637 - kpi17073
P. 637
636 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
การกระจายอำนาจและสถานภาพทางการคลังท้องถิ่น
สาระสำคัญของกระแสการกระจายอำนาจทางการคลังที่ผ่านมา มี 1) บทบัญญัติของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรประเทศไทยฉบับ พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550 2) กฎหมายที่ยก
ร่างตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นเครื่องกำหนดทิศทางการกระจายอำนาจทางการคลัง
ให้แก่ อปท. 3) กฎหมายจัดตั้งที่ระบุโครงสร้างรายได้ของ อปท. โดยรายละเอียดของแต่ละส่วน
สามารถอธิบายได้ดังนี้
บ บั ั รั รร น รา า า ักร บับ พ
ตามมาตรา 284 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ พ.ศ. 2540 ถือเป็น
รัฐธรรมนูญที่ได้มีการวางรากฐานการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. อย่างเป็นระบบเป็นครั้งแรก
ในประเทศไทย ที่ได้มีการกำหนดรูปแบบการปกครองของ อปท. ภารกิจหน้าที่ แหล่งรายได้
สำหรับการทำหน้าที่ ตลอดจนการกำหนดให้มีการบริหารงานบุคคลที่เป็นของ อปท. อย่างอิสระ
โดยมีการออกกฎหมายระดับรองอีกหลายฉบับเพื่อรองรับกระบวนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.
อย่างเป็นระบบ แม้ว่าภายหลังจะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
ขึ้นมาทดแทน แต่ได้มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ยังคงมีเจตนารมณ์มุ่งส่งเสริม
การกระจายอำนาจให้แก่ อปท. อย่างต่อเนื่อง โดยมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่นสนับสนุนการกระจายอำนาจการคลังฯ ดังต่อไปนี้
๏ การกำหนดหลักการให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 ตาม
มาตรา 281 ได้บทบัญญัติเกี่ยวกับการให้ความเป็นอิสระแก่ อปท. ตามหลักแห่งการ
ปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น อีกทั้งจะต้องส่งเสริมให้ อปท.
เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไข
ปัญหาประกอบกับมาตรา 283 บัญญัติให้ อปท. มีความเป็นอิสระในการกำหนด
นโยบาย การบริหาร การจัดบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินและการ
คลัง และมีอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ
๏ การกำหนดหลักการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในท้องถิ่น ตามมาตรา
284 ให้สิทธิแก่ประชาชนในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการปกครองตนเองโดยได้
เปิดโอกาสให้ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือ
ผู้บริหารท้องถิ่น ประกอบกับมาตรา 285 ประชาชนในท้องถิ่นสามารถลงคะแนนเสียง
ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่ง
ได้หากเห็นว่าสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นไม่ปฏิบัติ
หน้าที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและความต้องการของประชาชนใน
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6 ๏ การกำหนดให้ต้องมีการยกร่างกฎหมายรายได้ของ อปท. ที่อยู่ในกระบวนการยกร่าง
ท้องถิ่น
ของสำนักงานกระจายอำนาจสู่ อปท. สำนักนายกรัฐมนตรี