Page 633 - kpi17073
P. 633

632     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                       ปัญหาที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างของการขาดการพัฒนาศักยภาพทางการคลังที่แท้จริงของ
                  อปท. ตามเป้าหมายที่ได้ถูกออกแบบไว้ นำไปสู่การขาดความเป็นอิสระทางการคลังของ อปท.

                  เพราะทางเลือกของการเพิ่มศักยภาพทางการคลังของ อปท. ถูกจำกัดเพียงการจัดสรรรายได้
                  ทั้งจากรายได้ภาษีจัดสรรและเงินอุดหนุนของรัฐบาล แทนที่จะได้รับการพัฒนารายได้ที่เป็นของ
                  อปท. มากขึ้นทั้งที่ได้กำหนดไว้ตามกฎหมายแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ พ.ศ. 2542 ที่ได้

                  ตั้งเป้าหมายทั้งเรื่องขนาดจำนวนเงิน และประเภทของแหล่งรายได้ใหม่ๆ ของ อปท. ที่ควรได้รับ
                  การพิจารณาจากรัฐบาลไว้ นอกจากนี้การที่รายได้ของ อปท. ไม่อาจเพิ่มได้ทันกับความต้องการ

                  การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทั้งจากความรับผิดชอบเดิมตามกฎหมายจัดตั้งของแต่ละประเภท อปท. แล้ว
                  ยังเกิดจากการถ่ายโอนภารกิจที่ไม่สอดคล้องกับศักยภาพทางการคลังที่แต่ละประเภท อปท. มีอยู่
                  จริง ประเด็นปัญหาเหล่านี้นำไปสู่ความขัดแย้งกันเองระหว่าง อปท. ด้วยกันเองในการจัดสรร

                  รายได้ที่ได้ดำเนินการ โดยเฉพาะในกรณีของประเทศไทยที่กำหนดรูปแบบโครงสร้างการบริหาร
                  ของ อปท. ออกเป็นระบบ 2 ชั้น (Two Tiers System)ทำให้ความไม่ชัดเจนในบทบาทหน้าที่

                  ระหว่าง อปท. ด้วยกันเองในพื้นที่จังหวัดนำไปสู่ความไม่สอดคล้องของการพัฒนารายได้ที่ให้แก่
                  แต่ละประเภทของ อปท. ในแต่ละระดับด้วย เนื่องจากฐานรายได้ที่กำหนดให้ตามกฎหมาย
                  ปัจจุบันมักจะทับซ้อนกันเองระหว่างประเภทของ อปท. ทำให้สูตรการจัดสรรรายได้ไม่สามารถ

                  กำหนดวิธีการจัดสรรเพื่อสอดคล้องความต้องการใช้จ่ายและบทบาทหน้าที่ในการให้บริการ
                  สาธารณะของ อปท. ตามกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ


                       แม้ว่าการจัดสรรรายได้ของรัฐบาลที่ให้แก่ อปท. ที่ผ่านมาจะสามารถดำเนินการได้อย่าง
                  ราบรื่นระดับหนึ่ง แต่ในภาวการณ์ที่ขาดแนวทางทั้งเชิงนโยบายและการปฏิบัติเพื่อสนับสนุน

                  ศักยภาพทางการคลังของ อปท. ที่แท้จริงจากรัฐบาล ทำให้การเดินหน้าการทำหน้าที่ของ อปท.
                  ตามแผนการกระจายอำนาจฯ เดิมต้องถูกจำกัดตามไปด้วย การแก้ไขปัญหาการกระจายอำนาจ

                  การคลังฯ ให้ก้าวรุดหน้าต่อไปได้นั้นจำเป็นต้องมีการพิจารณาทั้งเชิงนโยบายการเพิ่มศักยภาพ
                  ทางการคลังของ อปท. เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันระหว่างขนาดความรับผิดชอบของภารกิจ
                  ที่ถ่ายโอนให้แก่ อปท. กับขนาดรายได้ของ อปท. แต่เพราะปัญหาความชัดเจนจากระดับนโยบาย

                  ต่อการพัฒนาการกระจายอำนาจการคลังฯ ที่ผ่านมามีผลต่อการบิดเบือนในระดับการปฏิบัติ
                  ในการเพิ่มศักยภาพทางการคลังของ อปท. ที่ไม่ได้มุ่งเพียงการเพิ่มรายได้ของ อปท. เพียงอย่าง

                  เดียว แต่ต้องคำนึงถึงเป้าหมายที่ต้องการจากการกระจายอำนาจการคลัง ทั้งความเป็นอิสระใน
                  การจัดการให้บริการสาธารณะในท้องถิ่น ความเพียงพอของรายได้กับความรับผิดชอบการใช้จ่าย
                  เพื่อบริการสาธารณะ การคำนึงความคุ้มค่าการใช้จ่าย การมีวินัยการเงินการคลัง การกำกับดูแล

                  สถานภาพการเงินการคลังที่โปร่งใส และตรวจสอบได้ ฯลฯ ซึ่งโดยหลักการแล้วจำเป็นต้องมีการ
                  พิจารณาเริ่มจากการค้นหาความแตกต่างระหว่างความต้องการใช้จ่ายให้บริการสาธารณะ

                  (Expenditure Demand) และความสามารถทางการคลังของ อปท. (Fiscal Capacity) ที่
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6   หรือแบ่งให้ก่อนตาม ความแตกต่างของขนาดภารกิจกับขนาดรายได้ตามฐานที่ อปท. มีอยู่
                  ประกอบทั้งจากรายได้จัดเก็บเองของ อปท. และรายได้จากภาษีประเภทต่างๆ ทั้งที่ รัฐบาลเก็บให้


                  ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการกระจายอำนาจการคลังฯ ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพแท้จริง
                  ในการทำหน้าที่ของ อปท. ต่อความรับผิดชอบให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนของตนเอง เพื่อนำ
   628   629   630   631   632   633   634   635   636   637   638