Page 630 - kpi17073
P. 630

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   629


                            (6) เป็นบริการสาธารณะ ที่ อปท.ขนาดเล็กทำไม่ได้ และ อบจ.ก็ไม่สามารถทำได้


                              จากหลักการตาม (1) – (6) บริการสาธารณะ ที่ควรยุติการถ่ายโอน เช่น
                              (1)  การสาธารณสุข (โรงพยาบาล/สถานีอนามัย/รพ.สต.)
                               (2) การศึกษา (ระดับสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน)

                              (3) การอนุญาตเส้นทางเดินรถโดยสารระหว่างจังหวัด
                              (4) การจดทะเบียนรถยนต์


                         บร การสา าร ะ      รปรับเปล   น ลักการ  ละ    การถ า   น

                            มีหลักการ คือ


                            (1) วิธีการถ่ายโอน เป็นอุปสรรค ทำให้เกิดความขัดแย้ง หรือการถ่ายโอนหยุดชะงัก หรือ
                      ส่งผลเสียหายต่อส่วนรวม ไม่ควรถ่ายโอนไปให้ อปท.


                            (2) เปลี่ยนจาก “ถ่ายโอนอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ” เป็น “มอบอำนาจให้

                      อปท.ดำเนินการแทนหน่วยงานของรัฐ” โดย ส่วนราชการเจ้าของบริการสาธารณะ ที่มอบอำนาจ
                      ให้ อปท.ดำเนินการ ยังต้องรับผิดชอบในการ กำกับ ดูแล ส่งเสริม สนับสนุนให้ อปท.ทำหน้าที่

                      ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                            (3) ส่วนราชการเจ้าของภารกิจในส่วนกลาง ต้องจัดสรรงบประมาณให้ อปท.ทำภารกิจ

                      ตามที่ได้รับมอบอำนาจ


                              บริการสาธารณะ ที่ควรปรับเปลี่ยนวิธีการถ่ายโอน ตามหลักการ (1) – (3) เช่น

                              (1) ภารกิจทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน พื้นที่ที่มีปัญหาความมั่นคง

                      (พื้นที่ชายแดน) ควรยุติการถ่ายโอน พื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่ความมั่นคงควรถ่ายโอนให้ อปท. แต่ควรมี
                      มาตราการในการควบคุม ดูแล ตรวจสอบจาก สำนักทะเบียนราษฎร์ ในการใช้อำนาจของนาย
                      ทะเบียนท้องถิ่น และควรให้พนักงานท้องถิ่นเป็นนายทะเบียนท้องถิ่น/ผู้ช่วยนายทะเบียน

                      ท้องถิ่น


                              (2) การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ควรเป็น
                      บริการสาธารณะ ที่ดำเนินการร่วมระหว่าง เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายฝ่ายปกครอง และ

                      อปท. โดยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ร่วมปฏิบัติงานกับ อปท. โดยเฉพาะ
                      การใช้อำนาจของ “เจ้าพนักงาน” ตามกฎหมายที่ยังเป็นของเจ้าพนักงานของรัฐ ส่วน อปท.
                      รับผิดชอบในการปฏิบัติที่ตอบสนองต่อความต้องการ และแก้ไขปัญหา ของประชาชน ในระยะ

                      ยาวควรมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อมอบหมายให้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” ที่ทำภารกิจด้าน
                      การรักษาความสงบเรียบร้อย เป็น เจ้าพนักงานที่มีอำนาจเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานของรัฐ


                              (3) บริการสาธารณะ การศึกษา (อาหารเสริม / อาหารกลางวัน/นม) ยกเลิกการให้                     การประชุมกลุ่มย่อยที่ 6
                      อปท. เป็นหน่วยเบิกงบประมาณให้สถานศึกษาที่มิได้สังกัด อปท. โดยให้สถานศึกษานั้น
   625   626   627   628   629   630   631   632   633   634   635